วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ห้องสมุดคือดรรชนี้ชี้วัดวิสัยทัศน์ความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

ห้องสมุดคือดรรชนี้ชี้วัดวิสัยทัศน์ความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๓/๐๕/๒๐๑๑

                  เมื่อเร็วๆ นี้ พระธรรมโกศาจารย์ ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ""เป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยคือให้การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ปรัชญามหาวิทยาลัย คือจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม ๓ ประโยคนี้ เป็นดรรชนีชี้วัดห้องสมุด มจร เพราะมหาวิทยาลัยเราเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ห้องสมุดจะต้องมีหนังสือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ถ้าขาดหนังสือพระพุทธศาสนาก็ไม่ตรงตามวิสัย ทัศน์ ฉะนั้นห้องสมุดต้องเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรด้านพระพุทธศาสนา ไปหาที่ไหนไม่พบ มาที่ห้องสมุดมหาจุฬาฯ ต้องพบ ห้องสมุดต้องมีแผนพัฒนาระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำห้องสมุดไปสู่เป้าหมายมหาวิทยาลัยต่อไป"                                           

                  แหล่งข่าววงใจเปิดเผยว่า "พระศรีคัมภีรญาณ รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ในฐานะที่กำกับดูแลด้านวิชาการมหาวิทยาลัย รวมถึงสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย ได้มอบนโยบายให้ยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาห้องสมุดเพื่อก้าวสู่ความเป็น "ผู้นำห้องสมุดด้านพระพุทธศาสนา" ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเพิ่มปริมาณหนังสือ, ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การรวบรวม/จัดหาวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและบริการ, ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดทำโปรแกรมห้องสมุดยุคใหม่, ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเชื่อมโยงกับห้องสมุดชั้นนำในและต่างประเทศ, ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การให้บริการและส่งเสริมการใช้ห้องสมุด"

                   แสดงถึงวิสัยทัศน์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยยุคปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญงานห้องสมุดเป็นอย่างมาก โดยถือว่าห้องสมุดเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา ได้อนุมัติให้นำโปรแกรมห้องสมุดมาใช้ในการบริการสืบค้นยืม-คืน ที่มีระบบติดตามการใช้บริการต่างๆ ตรวจสอบสถิติและรายงานต่างๆ เกี่ยวกับงานห้องสมุดได้ตลอดเวลา ห้องสมุดมหาจุฬามีเป้นหมายเป็นห้องสมุดด้านพระพุทธศาสนาที่ทันสมัยที่สุด พร้อมให้บริการ ทรัพยากร สื่อการศึกษาต่างๆ อย่างครบถ้วน 
 ปัจจุบัน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีบริการสื่อการศึกษา แก่พระภิกษุสามเณร ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 
                   ๑. หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน อาทิ ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด แนวหน้าฯลฯ 
                   ๒. บริการนิตยสาร/วารสารรายเดือน รายไตรมาส รายปี จำนวน ๙๑ ชื่อเรื่อง
                   ๓. บริการหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จำนวน ๗๐,๙๗๐ ชื่อเรื่อง 
                   ๔. หนังสืออ้างอิง พระไตรปิฎก จำนวน ๑๘ ภาษา ๒๑ ฉบับ, วิทยานิพนธ์, งานวิจัย
                   ๕. บริการหนังสือบุคคลสำคัญ อาทิ หลวงพ่อพุทธทาส, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),  พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ตำหราเรียนมหาวิทยาลัย, ผลงาน มจร  หนังสืออนุสรณ์งานศพ รวมทั้งเทป CD VCD จำนวนมาก
                   ๖. ฐานข้อมูลกฤตภาคข่าวออนไลน์ iQNewsClip ค้นข้อมูลข่าวย้อนหลัง 
                   ๗. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ MCUthesis (สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งเล่ม)
                   ๘. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ทั่วประเทศ ThaiLIS (Intranet) เฉพาะในเครือข่ายเท่านั้น
                   ๙. ฐานข้อมูลหนังสือต่างประเทศ ๒ ล้านเล่ม www.worldebooklibrary.org/
                 ๑๐. ฐานข้อมูลหนังสือมหาวิทยาลัย VTLS www.vtls.mcu.ac.th
                 ๑๑. ฐานข้อมูลบทความทางวิชาการ www.mcu.ac.th/site/articlecontent.php
                 ๑๒. ฐานข้อมูลห้องสมุดพระพุทธศาสนา www.buddhistelibrary.org
                 ๑๓. ฐานข้อมูล igpweb.igpublish.com/iviewer Intranet (user/pass)
                 ๑๔. ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม
                 ๑๕. ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกฉบับ ร.๕ (บริการเฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น)
                 ๑๖. คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวน ๔๐ เครื่อง

                 พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง  ผู้นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ เปิดเผยว่า "๑๐ ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความเจริญก้าวหน้ามากทั้งในด้านวิชาการและด้านกายภาพมาก จำนวนพระนิสิตเพิ่มทวีขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการ มีการผลิตหนังสือตำหรามาตรฐานกว่า ๓๕ วิชา มีการพัฒนาข้อสอบกลาง เพื่อกำกับคุณภาพบัณฑิตที่อยู่ในกรุงเทพและส่วนภูมิภาคให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาเป็นมาตรฐานเดียวกันกับส่วนกลาง รวมทั้งมีการจัดประชุมสัมมนาคณาจารย์หลักสูตรอาจารย์แม่เหล็กต้นแบบ เสริมสร้างเทคนิกการสอนให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องห้องสมุดมหาวิทยาลัยมุ่งหวังจะพัฒนาไปสู่ความเป็นนานาชาติ ตั้งเป้าว่าจะรวบรวมพระไตรปิฎกทุกฉบับ ทุกชาติ ทุกภาษาที่มีในโลก หนังสือด้านพระศาสนา ปัจจุบันมี ๑๘ ภาษา ๒๑ ฉบับ แต่ยังไรก็ตามงานห้องสมุดยังจะต้องเร่งปรับปรุงอีกหลายเรื่อง เช่น ระบบตรวจสอบ ระบบป้องกันหนังสือหาย การอนุรักษ์หนังสือสำคัญๆ รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลด้วย"

                  แหล่งข่าว ฝ่ายเว็บไซต์ส่วนหอสมุดกลาง



แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7377

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น