วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผ่ากระบวนการสรรหา กสทช.ไม่โปร่งใส( ตอน 1)เปิดช่อง"สุรนันท์"ฟ้องศาลปกครอง

ผ่ากระบวนการสรรหา กสทช.ไม่โปร่งใส( ตอน 1)เปิดช่อง"สุรนันท์"ฟ้องศาลปกครอง

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 22:00:00 น.

Share37




ชั่วโมงนี้  เสียงวิจารณ์กระบวนการสรรหา คณะกรรมการ กสทช.   เริ่มอื้ออึงมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

เริ่มจาก การเปิดชื่อ 22  รายชื่อที่มาจากสายสองหรือสายสรรหา ที่คัดจาก 90 คนเหลือ 22  ซึ่งมีเสียงยี้ถึงเรื่องความรู้ความสามารถ

 

 

เสียงวิจารณ์ที่หนักหน่วงและรุนแรงที่สุดคือ กระบวนการสรรหา ไม่มีกรอบกติกาที่ชัดเจน เปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจอย่างมโหฬาร


กลายเป็นว่า ถ้าไม่ใช่พวกก็ถูกเขี่ยทิ้ง  ขณะที่หากพวกเดียวกัน แม้ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง กิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ก็ผ่านเข้ารอบมาได้ราวกับหวยล็อค


 

สิ่งที่น่าเสียดายก็คือ แทนที่จะสรรหา   กสทช. ระดับหัวกะทิ    กลับส่ง  หางกะทิ ส่งไปให้ วุฒิสมาชิก ???

 

เช่นนี้แล้ว โอกาสที่จะได้ 11 กสทช. ที่มีความรู้ความสามารถก็ยิ่งเหลือน้อยลงไปทุกที


ตามกระบวนการแล้ว 11 กสทช. จะมาจาก 2 สาย คือ สายแรกมาจากการคัดเลือกกันเอง ให้เหลือ 22 คน ส่วนสายที่สองมาจากการสรรหาที่เปิดชื่อ 22 คนออกมาแล้ว แบบไม่ค่อยสดใสเท่าที่ควร   จากนั้น จะเอา 2 สายมารวมกันเป็น 44 คนแล้ว ส่งให้วุฒิสมาชิก  คัดเลือกให้เหลือ 11 คน


ย้อนกลับไปดู รายชื่อของผู้ได้รับการสรรหา 22 คน มีรายชื่อ ดังนี้

 

ด้านกิจการกระจายเสียง จำนวนสองคน ได้แก่ 

1) พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี 

2) น.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร

 

ด้านกิจการโทรทัศน์ จำนวนสองคน ได้แก่ 

1) รศ.พนา ทองมีอาคม 

2.นายวสันต์ ภัยหลีกลี้


ด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวนสี่คน ได้แก่ 

1)นายชัชวลิต สรวารี 

2)พันเอก นที ศุกลรัตน์ 

3)นายรอม หิรัญพฤกษ์ 

4)นายสุพจน์ เธียรวุฒิ


ด้านกฎหมาย จำนวนสี่คน ได้แก่ 

1)ผศ.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา 

2)นายทวี เส้งแก้ว 

3)นายสงขลา วิชัยขัทคะ 

4)นายสุทธิพล ทวีชัยการ


ด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวนสี่คน ได้แก่ 

1.นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ 

2.นายพิษณุ เหรียญมหาสาร 

3.ผศ.วิชัย โถสุวรรณจินดา 

4.นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท


ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกิจการวิทยุแ ละโทรทัศน์ จำนวนสองคน ได้แก่ 

1) น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ 

2) นางสุวรรณา จิตประภัสสร์


ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกิจการโทรคมนาคม จำนวนสองคน ได้แก่

1) นายนิมิตร์ เทียนอุดม 

2) นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา


ด้านวัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคมจำนวนสองคน ได้แก่ 

1) นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ 

2) นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล


กล่าวกันว่าใน 22 คน บางคนถูกเลือกเพราะ"คอนเนกชั่น" บางคนก็เป็นตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ บางคนก็เข้ามาได้เพราะเข้าตา"เอ็นจีโอ"

 

แต่ยังไม่ทันไร  1 ใน 22 ก็ถูกสอยไปเรียบร้อย  นั่นคือ "นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท" ที่ถูกร้องเรียนว่ามีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ  เพราะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ(บอร์ด)อิสระของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)


คนที่ถูกเลื่อนขึ้นมาแทนคือ นายยุทธ์ ชัยประวิตร     อดีตสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงเลือกตั้งส.ส.เขต 2 กรุงเทพมหานคร เมื่อปลายปี 2550 แต่สอบตก


คนลุกขึ้นมาต่อสู้คือ  "สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีตกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ถูกคัดทิ้งในรอบแรก   กระบวนการต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง  อาจต้องไปสู้กันในศาลปกครองกลาง


เอาเข้าจริง โอกาสที่ สุรนันท์ จะคว่ำ กระบวนการสรรหาสายสอง ไม่ยากเย็นแต่อย่างใด  เพราะกระบวนการสรรหา กลวงอย่างน่าตกใจ  จนกลายเป็น"ช่องโหว่"ของการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวางของคน 15  คน 


ต้องอย่าลืมว่า ในหลักการสรรหากรรมการระดับชาติที่มีความสำคัญเช่นนี้   ควรทำด้วยความละเอียดรอบคอบ โปร่งใสในทุกขั้นตอนเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกที่มีรายละเอียดที่ชัดเจนล่วงหน้าเพื่อให้ผู้สมัครทราบ


และควรมีกระบวนการในการให้คะแนนผู้สมัครที่ชัดเจนว่า ให้คะแนนจากเอกสารหรือหลักฐานใดที่ผู้สมัครส่งมามากน้อยเพียงใด


รวมถึงกรณีการเลื่อน นายยุทธ์ ชัยประวิตร  ขึ้นมาแทน นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ก็ยิ่งมีความน่าสงสัยไม่น้อย

 

ฉะนั้นแล้ว ถ้า  สุรนันท์  จะอุทธรณ์ และ ยื่นฟ้องศาลปกครอง โอกาสที่เขายังมี !!!


ส่วนผู้สอบผ่านรอบแรก อีกคือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์  กำลังถูกเพื่อนพ้องน้องพี่ อย่าง ประวิตร โรจนพฤกษ์  เรียกร้องให้  สุภิญญา กลางณรงค์ ถอยจาก กสทช....เขาบอกว่า ยังไม่สายเกินไปที่เธอจะถอนตัว

 

 

( โปรดติดตาม ตอนสอง  เปิดประเด็นความบกพร่องในการสรรหาที่กลายมาเป็นปัญหา )


                            http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1305125232&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น