จาก: พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร <phraanon4@gmail.com>
วันที่: 27 พฤษภาคม 2554, 9:12
หัวเรื่อง: Re: แจ้งชื่อร่วมงานวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ สถานที่ มจร.วัดศรีสุดาราม เวลา ๘.๓๐น.-๑๖.๐๐น.
ถึง:
วันที่: 27 พฤษภาคม 2554, 9:12
หัวเรื่อง: Re: แจ้งชื่อร่วมงานวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ สถานที่ มจร.วัดศรีสุดาราม เวลา ๘.๓๐น.-๑๖.๐๐น.
ถึง:
ต้องขอเจริญพรขอบคุณที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานสัมมนาครั้งนี้ เป็นไปได้ถ้าท่านสนใจที่จะร่วมกิจกรรมกลุ่มย่อยในภาคบ่าย ซึ่งมีถึง ๔ ห้อง
รบกวนท่านแจ้งชื่อห้องกิจกรรมที่ท่านสนใจเข้าร่วม ทางเราจะลงทะเบียนชื่อท่านไว้ให้
เจริญพร
พระปลัดอานนท์..
โครงการสัมมนาชีวิตและความตายร่วมสมัย (Seminar on Contemporary Life and Death)
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ภาคการศึกษาที่ ๒
เรื่อง "ความตาย..ความหมายแห่งการเดินทางของชีวิต"
Death: the meaning of travelling through life
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดศรีสุดาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
1. ชื่อโครงการ กิจกรรมสัมมนาชีวิตและความตายร่วมสมัย (Seminar on Contemporary Life and
Death) หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย
เรื่อง "ความตาย..ความหมายแห่งการเดินทางของชีวิต"
2. ชื่อหน่วยงาน ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ พระมหาทองศรี เอกวํโส หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา
4. โครงการเชื่อมโยงกับมาตรฐาน สกอ. องค์ประกอบที่๕ การบริการวิชาการแก่สังคม และ
องค์ประกอบที่ ๖ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
หากเปรียบชีวิตคือการเดินทางจุดสุดท้ายของปลายทางย่อมหนีไม่พ้นความตาย ความตายเป็นสิ่งที่
มนุษย์ปุถุชนจะต้องเผชิญอย่างแน่นอนไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม พร้อมหรือไม่พร้อมก็ตาม
หลายคนพยายามที่จะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตายเพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องอัปมงคล ไม่ควรกล่าวถึง
แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร ตายอย่างไร ตายที่ไหน
ถ้าเลือกได้หลายท่านอยากเลือกที่จะตายดี ตายในสถานที่แวดล้อมที่ตนคุ้นชิน ด้วยบรรยากาศของความรัก
ความอบอุ่น กำลังใจและการได้กล่าวคำอำลา
ในวิถีแห่งพุทธนั้น"ความตาย" เป็นของธรรมดาอย่างยิ่ง เป็นสัจธรรมไม่ใช่ความอัปมงคล
อย่างไรก็ตามความเป็นธรรมดานี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ปุถุชนยากที่จะทำใจยอมรับกันได้โดยง่าย
เพราะเราทุกคนย่อมมีสัญชาติญาณแห่งการเอาชีวิตรอดด้วย ดังนั้นความ "กลัวตาย" จึงเป็นสิ่งธรรมดาอีกเช่นกัน
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้เพื่อขัดเกลาธรรมชาติของการเอาชีวิตอยู่รอด
เพื่อให้คนเรายอมรับสัจธรรมแห่งชีวิตคือความตายนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อให้เราสามารถจัดระเบียบกับการยอมรับความตายในชีวิตของเราได้อย่างเหมาะสม
ด้วยความตระหนักรู้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา แม้จะไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหนและจะมาเมื่อไร
การเรียนรู้เพื่อให้ยอมรับว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
จึงเป็นสิ่งจำเป็นในขณะที่เรายังเป็นหนุ่มสาวและเป็นไม้ไกลฝั่ง มิใช่เฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้น
หรือเมื่อถูกคุกคามด้วยโรคร้ายที่ไม่อาจรักษา
ในวัฒนธรรมของชาวพุทธนั้นการหมั่นเจริญมรณานุสติคือวิธีหนึ่งที่ช่วยไม่ให้ประมาทในการดำเนินชีวิตไ
ม่ผลัดวันประกันพรุ่งในการพัฒนาตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความกลัวตายอย่างทุรนทุราย
แต่ก็มิใช่ยอมจำนนต่ออุปสรรคของชีวิตด้วยการเอาความตายเป็นทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญนั้น
ในทางตรงข้าม ผู้ที่มีสติซึ่งตระหนักรู้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะมาถึงเองในวันหนึ่งข้างหน้า
จึงควรอดทนต่อสู้ให้อุปสรรคผ่านพ้นไปตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนะ แนวความคิด เจตคติที่มีต่อความตาย
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนะในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท
เมื่อถึงเวลาตายก็สามารถเผชิญความตายได้อย่างมีสติ สงบและเข้าสู่ภาวะการตายอย่างที่เรียกว่าตายดี
อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ นิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย
จึงจัดให้มีโครงการสัมมนาชีวิตและความตายร่วมสมัย เรื่อง "ความตาย..ความหมายแห่งการเดินทางของชีวิต"
นี้ขึ้น
6. วัตถุประสงค์
3
๑) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้เกิดการเรียนรู้ ยอมรับว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
๒) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถจัดระเบียบกับการยอมรับความตายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนะ เจตคติ
ในการดำเนินชีวิตเพื่อเผชิญความตายอย่างมีสติ
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบั
๗.๑ การบรรยายความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
๗.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ (สัมมนากลุ่มย่อย )
๗.๓ จัดซุ้มนิทรรศการขององค์กร หน่วยงานต่างๆ
ได้มีโอกาสเสนอแนวทางเลือกแก่บุคคล
กลุ่มชนในสังคมในการนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ร่วมกันเผยแผ่แนวคิด
หลักการทางพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมทางวิชาการสู่สังคม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาจำนวน ๕๐๐ รูป/คน ดังนี้
๘.๒.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคลากรจากสถาบันต่างๆ
๘.๒.๒ องค์กร หน่วยงาน และประชาชนทั่วไป
๒๐๐ รูป/คน
๓๐๐ ท่าน
ระยะเวลาในการจัดงานจำนวน ๑ วัน ตั้งแต่ ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น.
4
กิจกรรมภาคเช้า
หน้าห้องประชุม มจร. วัดศรีสุดาราม
เวลา ๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
ภายในห้องประชุม มจร. วัดศรีสุดาราม
เวลา ๐๘.๓๐-๐๙.๐๐น. ชมวิดีทัศน์
เวลา ๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. พระสุธีธรรมานุวัตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร.
นำบูชาพระรัตนตรัย
พระมหาทองศรี เอกวํโส หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา กล่าวรายงาน
เวลา ๐๙.๓๐-๑๐.๐๐ น. พระสุธีธรรมานุวัตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร.
กล่าวเปิดงานและให้โอวาท
เวลา ๑๐.๐๐-๑๑.๓๐ น. ปาฐกถาพิเศษ
เรื่อง "ความตาย..ความหมายแห่งการเดินทางของชีวิต"
โดย ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา ๑๑.๓๐-๑๓.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพล/รับประทานอาหารกลางวัน
กิจกรรมภาคบ่าย
เวลา ๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียน
เวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๐๐ น. กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์กลุ่มย่อย ๔ ห้อง
5
ห้องที่ ๑ เทคนิคสร้างสรรค์..พลังแห่งชีวิต
วิทยากร
พระมหานิรุต มนฺตภาณี,พระมหาสุเทพ สุทธิญาโณ
จำนวนผู้เข้าสัมมนา ๓๐ รูป/คน
ห้องที่ ๒ เครียดให้เป็นก็เป็นสุข
วิทยากร
ทีมนักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
จำนวนผู้เข้าสัมมนา ๕๐ รูป/คน
ห้องที่ ๓ กายหายไข้ ใจหายป่วย
วิทยากร
อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม
จำนวนผู้เข้าสัมมนา ๑๕๐ รูป/คน
ห้องที่ ๔ การเดินทางสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้
วิทยากร
ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนผู้เข้าสัมมนา ๑๕๐ รูป/คน
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้เกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะในการดำเนินชีวิตสามารถจัดระเบียบ
ท่าทีต่อการยอมรับความตายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ยอมรับว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน
ส่งผลให้มีความสุขในการดำรงชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น