วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฝากประชาสัมพันธ์ กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านเรียกร้องสิทธิ


จาก: มูลนิธิ เพื่อการพัฒนาเด็ก <iamchild2004@gmail.com>
วันที่: 24 พฤษภาคม 2554, 12:15
หัวเรื่อง:  ฝากประชาสัมพันธ์ กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านเรียกร้องสิทธิ
ถึง: 




กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านเรียกร้องสิทธิ
วันนี้กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านเข้าพบรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้ตัวแทนกระทรวงแรงงาน

http://www.iamchild.org/index.php?option=com_content&view=article&id=144%3A2011-05-23-07-57-57&catid=65%3A2011-01-17-04-02-37&lang=th 

แถลงการณ์ข้อเรียกร้องลูกจ้างทำงานบ้านแห่งประเทศไทย

                ลูกจ้างทำงานบ้านมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างเศรษฐกิจ ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีเงินสะพัดในกลุ่มอาชีพนี้จำนวนสูงถึง 27,000 ล้านบาท ลูกจ้างจ้างทำงานบ้านมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจในครอบครัวมีส่วนทำให้ผู้หญิงได้ออกไปทำงานนอกบ้าน ในประเทศไทย มีจำนวนลูกจ้างทำงานบ้านทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทยมีจำนวนไม่น้อย จากการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร พ.ศ. 2552 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจจำนวนผู้มีงานทำพบว่าจำนวน ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลมีอยู่ประมาณ 230,000 คน สถิติอย่างเป็นทางการล่าสุดจากสำนักงานบริหารต่างด้าว พบว่า จำนวนแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนบัตรอนุญาตทำงานอาชีพทำงานในบ้านในปี พ.ศ. 2553 มีถึง 129,000  คน ความต้องการลูกจ้างทำงานบ้านมีเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่สมาชิกวัยแรงงานของครอบครัวส่วนใหญ่ ต้องออกมาทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถดูแลงานในบ้านด้วยตนเองได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น ลูกจ้างทำงานบ้าน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้โดยราบรื่นอย่างปฏิเสธไม่ได้

                              แต่สภาพการทำงานรวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานทำงานในบ้านเอง กลับไม่มีความราบรื่นอย่างที่แรงงานพึงได้รับ เนื่องจากกฎหมายยังไม่ให้การยอมรับว่า งานบ้านคืองาน ทำให้งานบ้านถูกรวมเข้าเป็นงานนอกระบบ ที่ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ที่จะให้การคุ้มครองสิทธิแก่แรงงานเหล่านี้ ส่งผลให้ชีวิตของแรงงานทำงานในบ้านไม่ต่างกับการเสี่ยงโชค ไม่รู้ว่าตนจะเจอนายจ้างแบบไหน ค่าจ้างจะได้เท่าไร สภาพการทำงานและความเป็นอยู่ในบ้านนายจ้างจะเป็นเช่นไร คนทำงานในบ้านจึงขาดกลไกการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่นวันหยุดประจำสับดาห์ วันหยุดประจำปี เวลาทำงานที่แน่นอน ค่าจ้างที่เป็นธรรม รวมทั้งสภาพการทำงานและการอยู่อาศัยในบ้านนายจ้างอย่างปลอดภัย ซึ่งแรงงานทำงานในบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ จึงมีความเสี่ยงเรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มเข้ามาอีก การขาดกฎหมายคุ้มครองประกอบกับความโดดเดี่ยวในบ้านนายจ้าง นอกจากจะเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดแล้ว ยังปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิอีกด้วย จึงนับว่าแรงงานทำงานในบ้านในประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิเป็นอย่างมาก ชึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

                            ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านในบ้านในประเทศไทยร่วมกับองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติจึงร่วมกันรณรงค์เพื่อสิทธิของแรงงานทำงานในบ้านมาโดยตลอด เนื่องในโอกาสผู้แทนจากรัฐบาลไทยจะไปเข้าร่วมประชุม ประจำปีองค์การระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 100 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในเดือนมิถุนายน 2554 นี้

           กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย ทั้งที่เป็นพี่น้องแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติร่วมกับ องค์กรภาคีเครือข่ายคณะทำงานเพื่อลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย  ร่วมกันเพื่อเรียกร้องดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลไทย และคณะผู้ร่วมประชุมไทยประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง และผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง สนับสนุนเนื้อหาในร่างอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน และข้อแนะ ที่จัดเตรียมโดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO )

2. ขอให้กระทรวงแรงงานเร่งประกาศกฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 เพื่อให้สอดคล้องกับวาระใน วันที่ 28 สิงหาคม เป็นวันแม่บ้านสากล

 

                               ท้ายที่สุดนี้กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายในสากลโลกจงคุ้มครองผู้แทนจากรัฐบาลไทยให้เดินทางเข้าร่วมการประชุมฯ โดยสวัสดิภาพและเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับข่าวดีหลังการประชุมนี้เรื่องการมีกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน

 

ขอแสดงความนับถือ

กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Home Net)

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (Map)

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)

มูลนิธิผู้หญิง

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

APWLD

มูลนิธิเอ็มพาว์เวอร์

  

 
We do not inherit the world...
We borrow it from our children..
Mr.Chettha Mankhong 
The Foundation for Child Development (FCD.)
มือถือ 085-326-2980 /02-433-6292
http://www.iamchild.org

 
 
 
 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น