วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

กค.เข้าเน็ตไม่ได้ แฮกเกอร์แสบ FBI เตือนชาวโลก

 

กค.เข้าเน็ตไม่ได้ แฮกเกอร์แสบ FBI เตือนชาวโลก

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) เตือนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกอาจป่วน หลังตรวจพบขบวนการแฮกเกอร์แสบ ส่งมัลแวร์ DNS Change แทรกซึม ส่งผลให้เดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ อาจเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้...  

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) เตือนว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก อาจเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากเอฟบีไอจับกุมขบวนการแพร่โปรแกรมประสงค์ร้าย (มัลแวร์) ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสี่ยงติดไวรัส

เอฟบีไอใช้เวลา 2 ปี ในปฏิบัติการ Operation Ghost Click แกะรอยการทำงานของชาวเอสโตเนีย 6 คน ที่แพร่มัลแวร์ DNS Changer ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ซึ่งจะเชื่อมต่อผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์หลอกลวง ทั้งหมดถูกรวบตัวได้ในเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ในข้อหาฉ้อฉล ส่วนผู้สมรู้ร่วมคิดที่เป็นชาวรัสเซียยังลอยนวลอยู่ เอฟบีไอได้สร้างเว็บไซต์ dcwg.org ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าไปตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีมัลแวร์หรือไม่ และลบมัลแวร์ออก

เอฟบีไอ ประเมินว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกติดมัลแวร์มากถึง 568,000 เครื่อง ขณะที่แก๊งหลอกลวงนี้ ทำเงินได้มากถึง 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 434 ล้านบาท) จากโฆษณาออนไลน์ โฆษกเอฟบีไอ เผยว่า ได้นำบริการใหม่มาใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหามัลแวร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงยังคงเชื่อมต่อได้ตามปกติ แต่เป็นห่วงว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอินเดีย อย่างน้อย 300,000 คน จะพึ่งพาแต่บริการใหม่นี้และไม่มีการปรับปรุงเครื่องของตนเอง ซึ่งจะทำให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้.

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

24 เมษายน 2555, 13:27 น.

พรึ่บ! บอร์ดทีโอที แต่งตั้ง-โยกย้ายพนักงานหลายเก้าอี้

 

พรึ่บ! บอร์ดทีโอที แต่งตั้ง-โยกย้ายพนักงานหลายเก้าอี้

มติบอร์ดทีโอที แต่งตั้งโยกย้ายพนักงานหลายตำแหน่ง โดยมีผลอย่างเป็นทางการพรุ่งนี้...

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด ว่า วันนี้ ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งและโยกย้ายพนักงานหลายราย ดังนี้ 
1.นายทวีป เพชรสุวรรณ์  รจญ.น. เป็น รจญ.ที่ปรึกษาอาวุโส  โดยให้พ้นจากตำแหน่ง
2.นายสัจจา เมืองทอง  รจญ.อ. เป็น รจญ.ที่ปรึกษาอาวุโส  โดยให้พ้นจากตำแหน่ง
3.นายกำธร ไวทยกุล รจญ.ค. เป็น รจญ.ที่ปรึกษาอาวุโส  โดยให้พ้นจากตำแหน่ง
4.นายสมศักดิ์ มหาวิริโย ชจญ.ภ.2 เป็น ชจญ. ที่ปรึกษาอาวุโส โดยให้พ้นจากตำแหน่ง
5.นายพิเชญฐ์ อังจันทร์เพ็ญ รจย.พ. เป็น รจญ.ภ โดยโยกย้ายสับเปลี่ยน 
6.นางวัชร  ทัพเจริญ รจญ.ง.เป็น รจญ.ต. โดยโยกย้ายสับเปลี่ยน 
7.นางนฤชา จิตรีขันธ์ ชจญ.น.4 เป็น รจญ.พ. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
8.นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล ชจญ.ภ.3 เป็น รจญ.ค.โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
9.นายขจรศักดิ์ เอี่ยมโสภา ชจญ.น.2 เป็น รจญ.น. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
10. นางณัฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ ชจญ.พ.(ธ.1) เป็น รจญ.ท. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
11.นายศุภมิตร ทัพอินทรพรหม ชจญ.ร.เป็น รจย.อ. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
12.นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ชจย.ง. เป็น รจญ.ง.โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง 
13.นายจุมพล ธนโสภณ ชจญ.ป. เป็น ชจญ.ร.  โดยโยกย้ายสับเปลี่ยน 
14.นายนิวัติ กิมตระกูล ชจญ.อ.(ธ.1)  เป็น ชจญ.ง.(ธ.1)  โดยโยกย้ายสับเปลี่ยน
15.นายศุภชัย ตั้งวรชัย ผจก.มว. เป็น ชจญ.ว. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
16.นายโสภณ เนตรสุวรรณ ผจก.สป. เป็น ชจญ.ป.โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
17.นายนพรัตน์ โตประเสริฐพงศ์ ผจก.บน.1.1  เป็น ชจญ.น.2 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
18.นายอภิรักษ์ ปรีชญสมบูรณ์ ผจก.ผว.เป็น ชจญ.น.3 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
19.นายสมหมาย สุขสุเมฆ ผจก.บน.4.2 เป็น ชจญ.น.4 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
20.นายสมศักดิ์ จันทร์แจ้ง ผจก.บพ. เป็น ชจญ.ภ.3 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
21.นายสมยศ สัมพันธนานนท์  ผจก.บภ.2.1 เป็น ชจญ.ภ.2 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
22.นายประจักษ์ มโนจันทร์เพ็ญ ผจก.บน.3.1 เป็น ชจญ.ภ.5 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
23.นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล  ผจก.ตล. เป็น ชจญ.ล. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
24.นางวิมลพรรณ จัตตานนท์  ผจก.บง. เป็น ชจญ.ง. โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
25.นายดำรง สันติปาตี ผจก.ปบ. เป็น ชจญ.ล.(ธ.1)  โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
26.นายวุฒิดนัย ฐิตะกสิกร ผจก.ธอ. (ธ.1) เป็น ชจญ.อ.(ธ.1) โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
27.นายณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ ผจก.ทท.(ธ.1) เป็น ชจญ.ท(ธ.1) โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
28.นางจุรีรัตน์ สงวนงาม ผจก.บม. เป็น ชจญ.พ.(ธ.1) โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
29.นายกรเอก แสงแก้ว ผจก.ทค. เป็น ชจญ.ภ.4 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
30.นายเชฎฐ์ พันธ์จันทร์  เป็น รจญ.ธ.1 โดยแต่งตั้งใหม่ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.)

 

โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์

23 เมษายน 2555, 20:30 น.

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

ด่วน ! เวนคืนที่ดิน ตำบลราชาเทวะ ปากน้ำยันแขวงดอกไม้ เขตประเวศ ขยายทางหลวง

 

ด่วน ! เวนคืนที่ดิน ตำบลราชาเทวะ ปากน้ำยันแขวงดอกไม้ 

เขตประเวศ ขยายทางหลวง

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:53:18 น.

 

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๕

 

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ สืบเนื่องจากมีความจำเป็นต้องขยายทางหลวง ชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ กับซอยกาญจนาภิเษก ๓๙ ในท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ในการนี้ สมควรกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการ สำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

 

มาตราที่สำคัญ มีดังนี้

 

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๕"

 

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี

 

มาตรา ๔ ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการขยายทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ กับซอยกาญจนาภิเษก ๓๙

 

มาตรา ๕ ให้อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

มาตรา ๖ เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีส่วนกว้าง สองร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

 

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335531171&grpid=03&catid=no&subcatid=0000

วงสัมมนา"เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์"ระบุไทยต้องพัฒนาศักยภาพ"คน"

แนะรัฐพัฒนา "คน -การศึกษา" รองรับประชาคมอาเซียน

วันที่ 27 เม.ย. 2555 (จำนวนคนอ่าน 3 คน) 
พงษ์พิพัฒน์ จีนด้วง /สทน. สปข.4

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา จัดการสัมมนาเรื่อง เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ การสร้างภูมิคุ้มกัน ม โดย ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน คือการเปิดเสรีทางการค้ากันมากขึ้น แต่สิ่งที่ไทยต้องระวังในยุคโลกาภิวัฒน์คือ ความรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีที่มามากขึ้นและไร้ขีดจำกัดซึ่งอาจรวดเร็วขึ้นจนเรารับมือไม่ทัน และเมื่อเข้าสู่การค้าแบบเสรีแล้ว อำนาจทางการต่อรองทงการค้าจะหายไป เพราะเป็นการค้าแบบเสรี สำหรับการเปิดเสรีการค้าในอาเซียนเกิดจากแรงบีบแรงกดดันจากภายนอก ดังนั้นอาเซียนจึงต้องรวมตัวกันเพื่อจะไปเจรจาต่อรองกับภายนอกได้ แต่เมื่อถึงเวลาจริงคงต้องมาดูกันว่าการเปิดเสรีทางการค้านั้นมีความเสรีแค่ไหน เพราะการเปิดการค้าเสรีอาเซียนนั้นไม่ได้เป็นความต้องการของคนทั้งประเทศและเมื่อเปิดการค้าเสรีขึ้น ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงานกับเจ้าของทุนก็จะมีมากขึ้นดังนั้น ความเติบโตที่จะเกิดขึ้นจะไปตกอยู่ที่ใคร 

ดร.ธวัชชัยยังกล่าวต่อไปว่า โลกยุคโลการภิวัฒน์นั้นไม่สามารถปิดกั้นได้ สิ่งที่ไทยทำได้คือต้องพัฒนาคุณภาพคนให้เพิ่มขึ้น เพราะทุนทางปัญญาถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุกเศรฐกิจโลกาภิวัฒน์ ไทยยังขาดความพร้อมด้านการศึกษาและด้านภาษายู่มากซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่ไทยต้องให้ความสำคัญและลงมือพัฒนาทางด้านนี้อย่างจริงจัง 


ด้านนายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยเทคโนโลยี ดังนั้นตนมองว่าควรเน้นในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นหลัก รวมถึงยกระดับควาสามารถของคนไทย เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่มีพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะหากคนไทยมีความสามารถแล้วการลงทุนทุกอย่างก็จะตามมา แต่ด้วยระบบการศึกษาของไทยที่ยังขาดคุณภาพอยู่มาก คนไทยมีความรู้ภาษาอังกฤษน้อย ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐและเอกชนต้องหันมาใส่ใจกับการศึกษา ผลักดันต้นทุนทางมนุษย์ ผลักดันต้นทุนทางการศึกษาให้มากขึ้น 

ส่วนนายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการด้านเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ภาคเอกชนต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลง ในยุคของเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ ปัจจุบันมีปัญหาด้านการขาดแคลนอาหาร และด้านพลังงานก็มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ไทยคงต้องหันกลับไปมองถึงพลังงานทางเลือก เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการผลิต และอีกไม่นานไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนขาดแคลนแรงงานในการทำงาน ดังนั้นเราจำต้องพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกๆด้าน สำหรัยกาเปิดการค้าเสรีอาเซียน ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อโรคระบาดที่มาจากแรงงานที่มากจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประเด็นด้านสาธารณสุขของประเทศไทยยังอ่อน 
 
 
ที่มา  เนชั่นทันข่าว


วงสัมมนา"เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์"ระบุไทยต้องพัฒนาศักยภาพ"คน"

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 15:20:56 น.

ที่รัฐสภา ในการสัมมนา หัวข้อ "เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์:การสร้างภูมิคุ้มกัน" นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้คนตื่นเต้นกันมาก ตนเชื่อว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 1.การเปิดเสรีการค้าในปัจจุบันเร็วมาก แต่ปัจจุบันการค้าเกินครึ่งไม่ได้มีการขนย้ายสินค้า แต่เป็นการแลกเปลี่ยนกระดาษ 2.สินค้าและการบริการที่น่ากลัวสุดคือ การเงิน ซึ่งที่ไหลเวียนในโลกไม่ได้เกิดขึ้นจากการค้าขายอย่างเดียว เงินที่สะพัดในโลกมากกว่าการซื้อขายสินค้าถึง 3 เท่า คือการค้าขายเงินตรา เงินจึงกลายเป็นสินค้าสำคัญมากกว่าสินค้าอื่น เพราะฉะนั้นในปัจจุบันเรื่องโลกาภิวัตน์มีอันตรายสูงคือ ความรวดเร็วของ เทคโนโลยี เกินกว่าความสามารถของเราที่จะป้องกันได้กว่าจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นก็สายเกินไปเสียแล้ว


ด้านนายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า วิกฤตต้มยำกุ้งสอนเราว่า วันนี้ทุนอยู่กับเรา พรุ่งนี้มันไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราต้องหันมาพึ่งตัวเอง แล้วเราจะสร้างภูมิกันตัวเราเองได้อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าทุนไม่ไปไหน เทคโนโลยีจะวิ่งมาหาเรา โดยสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เทคโนโลยีหรือธุรกิจจะวิ่งไปหาคนเก่ง อย่างประเทศจีน อินเดียมีคนเก่งมาก ฉะนั้น ธุรกิจจะเกาะอยู่กับคนเหล่านี้ ตนเคยถามนักธุรกิจญี่ปุ่นว่าทำไม ไม่นำเทคโนโลยีมาลงที่ไทย ได้รับคำตอบว่า เราไม่มีวิศวกรรมมากพอที่รองรับสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้น ต่อไปเราต้องสร้างคนเก่งขึ้นมาให้ได้ เพราะหากเราเก่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทุน หรือเทคโนโลยีก็จะมาหาเอง


"ปัญหาสำคัญเราต้องสร้างคนให้ได้ โดยใช้ระบบการศึกษาที่เหมาะสมถูกต้อง การศึกษามันผิดตั้งแต่สมัยผมแล้ว ที่เลือกวิชาเรียนไม่ได้ สุดท้ายก็ไปเลือกที่ตัวอาจารย์ ซึ่งต้นแบบก็ไม่ได้ชำนาญมาก เพราะฉะนั้น หากอยากให้เราเก่งภาษา ก็นำเข้าคนฟิลิปปินส์สัก 1 แสนคน แล้วส่งไปประจำทุกโรงเรียน ในอัตรา 10 ต่อ 1 เชื่อว่าไม่เกินครึ่งปีคนของเราเก่งแน่ ยิ่งคนไทยมีจิตบริการอยู่แล้ว หากเก่งภาษาด้วย ธุรกิจบริการเราจะไปโลดแน่" นายสมเกียรติ กล่าว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335514105&grpid&catid=19&subcatid=1904

 

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

ร่าง รายงานการประชุม สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕

  Supinya Klangnarong "จากที่เคยเป็นมติลับ ตอนนี้สนง.กสทช.ต้องเปิดเผยผลการลงมติรายบุคคลเพื่อให้เป็นไปตามพรบ.กสทช.ระบุไว้ว่าการตัดสินใจของบอร์ดในเรื่องที่กระทบประโยชน์สาธารณะต้องมีการเปิดเผยผลการลงมติของกสทช.ทุกท่าน
...ดิฉันได้ทำคำสงวนกรณีลงมติค้านสูตรคืนคลื่นความถี่ฯ 5-10-15 ไว้ด้วยประมาณ 3 หน้าในบันทึกการประชุมครั้งนี้ http://bit.ly/I5f7SY"

แก้ไขโดย: สำนักการประชุมและเลขานุการ 
ร่าง
รายงานการประชุม
   คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   
  ครั้งที่ ๕/๒๕๕๕
วันพุธที่  ๒๑  มีนาคม  ๒๕๕๕
     เวลา  ๐๙.๓๐ น.  
  ณ ห้องประชุมชั้น ๑๒ อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม

 

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

๑. พลอากาศเอก ธเรศ           ปุณศรี                   ประธานกรรมการ

๒. พันเอก นที                    ศุกลรัตน์                รองประธานกรรมการ

๓. พันเอก เศรษฐพงค์           มะลิสุวรรณ             รองประธานกรรมการ

๔. นายสุทธิพล                        ทวีชัยการ                   กรรมการ

๕. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์          งามสง่า                      กรรมการ

๖.  นายประเสริฐ                        ศีลพิพัฒน์                  กรรมการ

๗.  ผศ.ดร. ธวัชชัย                    จิตรภาษ์นันท์              กรรมการ

๘.  นางสาวสุภิญญา                  กลางณรงค์                  กรรมการ

๙.   นายประวิทย์                        ลี่สถาพรวงศา             กรรมการ

๑๐. พลเอก สุกิจ                        ขมะสุนทร                   กรรมการ

๑๑.  นายฐากร                             ตัณฑสิทธิ์                   เลขาธิการ กสทช. เลขานุการ

 

ผู้ไม่เข้าประชุม

๑.  พลโท ดร. พีระพงษ์            มานะกิจ                     ติดภารกิจ

 

ผู้เข้าร่วมประชุม        

๑. พลอากาศเอก คณิต          สุวรรณเนตร            เลขานุการประธาน กสทช.

 

เจ้าหน้าที่การประชุม

๑. นายเฉลิมชัย                    ก๊กเกียรติกุล             ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประธานกรรมการ

                                                                   และการประชุม

๒. นายบุญยิ่ง                     โหมดเทศน์                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น

                                                                   กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๓. นางอรุณ                        วงศ์ศิวะวิลาส             ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น

                                                                   กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๔. นายขจรศักดิ์                   ทานานนท์                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น

                                                                   กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๕. นายสมสกุล                    ชัยกาญจนาศักดิ์         ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น

                                                                   กลุ่มงานเลขานุการและการกำกับดูแลองค์กร

๖. นางนภาพร                     เก่งสาร                    ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง

                                                                   กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๗. นางสาวกานต์ชนา             เกตุสุวรรณ                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง

                                                                    กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๘. นางสาวสุภาวดี                 สดศรี                      ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง

                                                                    กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๙. นางสาวจุฑาสินี                คำบำรุง                    ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง

                                                                    กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

๑๐. นางสาวอภิชญามล            วารุณประภา              ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง

                                                                    กลุ่มงานประธานกรรมการและการประชุม

 

ผู้ชี้แจง

๑.  นายดำรงค์                           วัสโสทก                      ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการ กลุ่มงานการอนุญาต           

                                                                   และกำกับวิทยุคมนาคม

๒.  นายองอาจ                         เรืองรุ่งโสม                    ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการ

                                                                   กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ๑

๓.  นายสุทธิศักดิ์                       ตันตะโยธิน                  ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น รักษาการ                                    

                                                                   ผู้อำนวยการ กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม

๔.  นายอดุลย์                           วิเศษบุปผา                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง กลุ่มงานบริหารความถี่วิทยุ

๕.  นายมนต์สรรพ์                      ทรงแสง                      ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง กลุ่มงานบริหารความถี่วิทยุ

๖.  นางสาวกอกนก                    กิจบาลจ่าย                  ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น รักษาการ

                                                                   ผู้อำนวยการ กลุ่มงานอำนวยการภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์

๗.  นางสาวพิชญนุช                  ชลาชีวะ                       ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง

                                                                   กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม

๘.  นายธนิษฐ์นันท์                กิตติชนะเจริญ              ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานตามสัญญาจ้าง

                                                                   กลุ่มงานอำนวยการภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์

 

ระเบียบวาระที่     :    เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

 

๑.   วันนี้เป็นการประชุม กสทช. ครั้งที่ ๕/๒๕๕๕ (นัดพิเศษ) เพื่อพิจารณาเรื่องที่สำคัญ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) การปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ๒) การปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๕๙) และ  ๓) การปรับปรุง (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ทั้งนี้ ขอความกรุณากรรมการทุกท่านช่วยเสนอแนะความเห็นต่อร่างแผนแม่บทฯ ทั้ง ๓ แผน เพื่อให้สำนักงาน กสทช. นำไปปรับปรุงแก้ไขขั้นสุดท้ายให้เรียบร้อย เพื่อให้มีความสมบูรณ์ ก่อนนำไปลงประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติของ กสทช.ต่อไป ซึ่งมีความเห็นในเบื้องต้นที่จะขอฝากที่ประชุม ๒ – ๓ เรื่อง ตามที่ได้เรียนหารือไว้ เรื่องความเป็นมาตรฐานของแผน รูปแบบเช่น หัวข้อต่างๆ ควรมีรูปแบบและเนื้อหาที่สอดคล้องกับระเบียบงานสารบรรณให้เรียบร้อย อาทิ ตัวเลข เพราะใช้แตกต่างกันคนละระบบทั้ง ๓ แผน ถ้าไม่ขัดข้องก็จะไปปรับให้สอดคล้องเฉพาะแบบฟอร์ม โดยไม่ยุ่งกับเนื้อหา นอกจากนี้เรื่องการตอบข้อคิดเห็นของประชาชนทั้ง ๓ แผน ควรตอบให้สอดคล้องกัน เพราะในบางครั้งคำถามเดียวกันอาจตอบไม่เหมือนกันก็ควรจะพิจารณาใช้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อความเรียบร้อย เพราะในบางกรณีการชี้แจงไม่ตรงกันอาจเกิดปัญหาการฟ้องร้องเนื่องจากการชี้แจงที่แตกต่างกัน

๒.  การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๕๔ ของ กสทช. ตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งกำหนดให้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาภายใน ๑๒๐ วัน นับแต่วันสิ้นบัญชีนั้น ทางฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอข้อมูล รูปเล่มให้กรรมการ กสทช. เพื่อรับข้อคิดเห็นจากกรรมการทั้ง ๑๑ ท่าน กรรมการหลายท่านได้ให้ข้อคิดเห็นแล้ว บางท่านกำลังดำเนินการเสนอ ขอให้ส่งข้อคิดเห็นให้ฝ่ายเลขานุการฯ ภายในวันศุกร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ นี้ เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์ให้เรียบร้อย ตามกำหนดเวลาต่อไป ซึ่ง กสทช.ประวิทย์ฯ ได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่าตามกรอบปฏิทินเดิม ซึ่งสำนักงานฯ กำหนดไว้จะส่งร่างให้คณะกรรมการให้ความเห็นเป็นรายบุคคล ก่อนรวบรวมปรับปรุงเสนอเข้าที่ประชุมเพื่อเห็นชอบรายงานฉบับสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์และนำส่งรัฐสภา ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่ทัน เพราะการประชุมครั้งต่อไปประมาณปลายเดือนเมษายน และกำหนดระยะเวลา ๑๒๐ วัน (๓๐ เมษายน ๒๕๕๕) ถ้ารอให้ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบครั้งสุดท้ายการจัดส่งรายงานฯ จะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ถ้าเป็นไปได้อาจจะขอให้ที่ประชุมมอบหมาย กสทช.ประเสริฐฯ กสทช.ผศ.ดร.ธวัชชัยฯ และ กสทช.สุทธิพลฯ เป็นองค์คณะในการพิจารณาความถูกต้องครบถ้วนของร่างฉบับที่แก้ไขปรับปรุงก่อนให้สำนักงาน กสทช.รับไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้รองประธาน กสทช.(พันเอก เศรษฐพงค์ฯ) เสนอให้เพิ่มเติม กสทช.ทวีศักดิ์ฯ ช่วยพิจารณาตรวจร่างรายงานฯ อีก ๑ ท่าน 

 

มติที่ประชุม             ๑.   รับทราบเรื่องประธาน กสทช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

๒.   มอบหมายให้ กสทช.ประเสริฐฯ  กสทช.ผศ.ดร. ธวัชชัยฯ  กสทช.สุทธิพลฯ และ กสทช.พันตำรวจเอก

  ทวีศักดิ์ฯ เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของร่างรายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี ๒๕๕๔ ของ กสทช.ก่อนให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการจัดพิมพ์ เพื่อจัดส่งให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ภายในกรอบเวลา ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ระเบียบวาระที่  ๒   :   เรื่องเพื่อพิจารณา

 

ระเบียบวาระที่ ๒.๑ :  การปรับปรุงร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ), วภ.

 

มติที่ประชุม                ๑.   รับทราบข้อมูลคลื่นความถี่ที่อนุญาตและไม่ได้กำหนดอายุการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

                                    ๒.   ที่ประชุมได้พิจารณารายงานการดำเนินการรับฟังความคิดเห็น และสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติพร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการที่ได้แก้ไขปรับปรุง ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ รวมทั้งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการตามมาตรา ๒๗ (๑) และมาตรา ๔๘ วรรคท้าย แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบข้อ ๙ และข้อ ๒๖ ของระเบียบ กทช.ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ อย่างครบถ้วนแล้ว โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ พร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการที่ได้แก้ไขปรับปรุง โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาลงคะแนนลับในวาระนี้ ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมาก ๖ เสียง เห็นชอบแนวทางที่ ๑ กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ในส่วนของกิจการกระจายเสียงกำหนดไม่เกิน ๕ ปี กิจการโทรทัศน์ไม่เกิน ๑๐ ปี และกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่นไม่เกิน ๑๕ ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับเสียงข้างน้อย ๔ เสียง เห็นชอบแนวทางที่ ๒ กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ในส่วนของกิจการกระจายเสียงกำหนดไม่เกิน ๔ ปี กิจการโทรทัศน์ไม่เกิน ๕ ปี และกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่นไม่เกิน ๑๕ ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

      ๒.๑ ให้ปรับปรุงรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ในส่วนของเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะเหตุผลในการกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นในข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่

      ๒.๒ ให้ปรับปรุงร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. .... ดังนี้

๑)   ให้เพิ่มเติมข้อความต่อท้ายข้อความในข้อ ๘.๒.๓.๓ โดยให้ใช้ข้อความใหม่ ดังนี้ "กรณีกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่น ให้มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน ๑๕ ปี นับแต่วันที่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยชอบด้วยกฎหมาย"

๒)  ให้คงใช้ข้อความเดิมในข้อ ๘.๒.๑ และ ๘.๒.๒ โดยไม่ต้องระบุเรื่องการคืนคลื่นมาที่ กสทช. ไว้ในร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่

๓)   ให้ตัดข้อความในข้อ ๘.๒.๔ ออก

๔)  ให้แก้ไขข้อความในข้อ ๑๐ แนวทางปฏิบัติและการประเมินผล จากเดิม ข้อความ "วิสัยทัศน์" แก้ไขใหม่เป็น "บรรลุเป้าหมาย"

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการปรับปรุงรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติให้เรียบร้อยก่อนนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน และให้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ ต่อไป

๓.   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างแผนแม่บททั้ง ๓ แผน พร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บททั้ง ๓ แผน ที่แก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกันตามมติที่ประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว แจ้งเวียนให้กรรมการทุกท่านพิจารณา และนำเสนอประธาน กสท. และประธาน กทค. เพื่อพิจารณาความครบถ้วนและถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน และให้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ ของระเบียบ กทช.ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อนนำเสนอประธาน กสทช.ลงนาม เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนต่อไป

 

 

ผลการลงมติรายบุคคลและทั้งคณะตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓

                                   

                                   ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ เห็นชอบการปรับปรุงร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยในส่วนของการกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ โดยที่ประชุมเสียงข้างมาก ๖ เสียง ได้แก่ ประธาน กสทช.รองประธาน กสทช.พันเอก เศรษฐพงค์ฯ กสทช.สุทธิพลฯ กสทช.พลเอก สุกิจฯ กสทช.ประเสริฐฯ และ กสทช.พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ฯ เห็นชอบแนวทาง ที่ ๑ กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ในส่วนของกิจการกระจายเสียงกำหนดไม่เกิน ๕ ปี กิจการโทรทัศน์ไม่เกิน ๑๐ ปี และกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่นไม่เกิน ๑๕ ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับที่ประชุมเสียงข้างน้อย ๔ เสียง ได้แก่ รองประธาน กสทช.พันเอก นทีฯ กสทช.ธวัชชัยฯ กสทช. 
สุภิญญาฯ และ กสทช.ประวิทย์ฯ เห็นชอบแนวทางที่ ๒ กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามข้อ ๘.๒.๓ ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ในส่วนของกิจการกระจายเสียงกำหนดไม่เกิน ๔ ปี กิจการโทรทัศน์ไม่เกิน ๕ ปี และกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่นไม่เกิน ๑๕ ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

หมายเหตุ                   ๑.  กสทช.ประวิทย์ฯ ได้มีบันทึกที่ สทช.๑๐๐๓.๑๐/๑๕๙ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ขอให้นำผลการลงมติและความเห็นในการพิจารณาร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ บันทึกในรายงานการประชุม ดังนี้

"จากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ มีผู้แสดงความคิดเห็นให้ปรับกำหนดเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ลงเพื่อให้การปฏิรูปสื่อบังเกิดผล ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงระบบดิจิตอล จะทำให้เกิดการสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ตามระบบอนาล็อกเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะคงกำหนดเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ตามที่ระบุในร่างเดิม แต่สามารถปรับลดได้ ซึ่งกรรมการ กสท.ได้หารือนอกรอบแล้ว กรรมการเสียงข้างมากมีความเห็นให้ปรับลดเวลาลงเหลือไม่เกิน ๔ ปีกรณีกิจการกระจายเสียง และไม่เกิน ๕ ปีกรณีกิจการโทรทัศน์ ผมจึงมีความเห็นสอดคล้องตามความเห็นของกรรมการ กสท.เสียงข้างมาก และเห็นว่าการกำหนดเวลาตามร่างเดิมไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นต้นธารแห่งการก่อตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง"

 ๒.  กสทช.สุภิญญาฯ ได้มีบันทึกที่ สทช.๑๐๐๓.๙/๔๕ ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ขอให้นำผลการลงมติและความเห็นในการพิจารณาร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ บันทึกในรายงานการประชุม ดังนี้

"๑. การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวมีระยะเวลานานเกินไป ทั้งนี้ คณะกรรมการ กสท. มีการประชุมและมีมติกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงไว้ไม่เกิน ๔ ปี และกิจการโทรทัศน์ไม่เกิน ๕ ปี การปรับลดระยะเวลาดังกล่าวมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ จากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่ผ่านมา

๒. การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่เป็นไปตามกระบวนการปฏิรูปการถือครองคลื่นความถี่ที่ใช้ในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการเปลี่ยนระบบการประกอบกิจการโดยการใช้อำนาจรัฐและระบบสัมปทานแต่เดิมมาสู่ระบบการออกใบอนุญาตที่มีความโปร่งใสกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติที่เป็นธรรมให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ในการประกอบกิจการบริการสาธารณะ และกิจการบริการชุมชนซึ่งถูกกำหนดให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ซึ่งการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ที่สั้นย่อมจะทำให้การปฏิรูปสื่อดังกล่าวเกิดขึ้นได้โดยเร็ว

๓.การคืนทุนของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ ทั้งนี้ การทำสัญญาให้ประกอบกิจการกระจายเสียงทั้งหมดมีลักษณะเป็นสัญญาระยะสั้น ๑–๒ ปี ประกอบกับการลงทุนประกอบกิจการดังกล่าวอาศัยเงินทุนไม่สูง ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนไม่ยาว ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ไม่เกิน ๔ ปี สำหรับกิจการกระจายเสียง จึงมีความเหมาะสมแล้ว

๔.สำหรับกิจการโทรทัศน์ แม้ว่าจะมีต้นทุนในการประกอบกิจการสูงกว่า แต่ผู้ประกอบกิจการภาคเอกชนได้รับสัญญาสัมปทานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผ่านจุดคุ้มการลงทุนแล้ว ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ ไม่เกิน ๕ ปี สำหรับกิจการโทรทัศน์ จึงไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้คลื่นความถี่ ประกอบกับกำหนดระยะเวลา ๕ ปี ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการออกอากาศแบบดิจิตอลใน ๔ ปี ซึ่งหากกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ที่ ๑๐ ปี ย่อมไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความพร้อมของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้เกิดการใช้คลื่นความถี่อย่างสิ้นเปลืองและไม่มีประสิทธิภาพ

๕.การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ไม่กระทบต่อสิทธิในการประกอบกิจการของผู้ได้รับสัมปทานประกอบกิจการโทรทัศน์ เพราะการประกอบกิจการตามอายุสัญญาสัมปทานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังไม่กระทบต่อหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ให้สัมปทาน เนื่องจากยังคงได้รับส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานจนสิ้นสุดอายุสัญญา และหากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ประสงค์จะประกอบกิจการโทรทัศน์ด้วยตนเองต่อไปก็สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตหลังจากที่สิ้นสุดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ได้ ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างที่ว่าการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ไม่ควรสั้นกว่าอายุสัญญาสัมปทานนั้น จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เพราะกรณีดังกล่าวมีผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ให้สัมปทานเท่านั้น

๖.ความคิดเห็นที่ได้รับจากการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแสดงให้เห็นว่า สังคมเรียกร้องให้ปรับลดกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้คลื่นความถี่ เนื่องจากต้องการให้กิจการทั้ง ๓ ประเภทเข้าสู่ระบบการปฏิรูปสื่อ การออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลอย่างเต็มรูปแบบตามเจตนารมณ์ที่นำมาซึ่งการจัดตั้งองค์กรอิสระอย่าง กสทช. ดังนั้น หากไม่เร่งรัดให้สิ้นสุดระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่ในระบบเดิมโดยเร็ว ก็จะไม่สามารถนำไปสู่การจัดสรรคลื่นความถี่หรือการดำเนินการให้เกิดประโยชน์สาธารณะตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภายในวาระการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ชุดนี้ ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิของสาธารณะโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ

๗. สำหรับกิจการโทรคมนาคม กสทช. มีมติให้กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการใช้คลื่นความถี่ไว้ไม่เกิน ๑๕ ปี เนื่องจากเห็นว่าอาจกระทบกับกิจการที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อน ข้าพเจ้าขอสงวนความเห็นในการกำหนดระยะเวลาสูงสุดในการใช้คลื่นความถี่ไว้ไม่เกิน ๗ ปี"

 

ระเบียบวาระที่ ๒.๒ :  การปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ : กสท.

 

มติที่ประชุม                ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ที่ประชุม กสท. ครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และที่ประชุม กสท. ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙) พร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการและร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙) ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ซึ่งได้ดำเนินการตามมาตรา ๒๗ (๑) และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบข้อ ๙ และข้อ ๒๖ ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ อย่างครบถ้วนแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ตามที่ประธาน กสท. (พันเอก นทีฯ) เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมวาระที่ ๒.๒ ในส่วนที่เกี่ยวข้องไปปรับปรุงรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙) พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙) ให้เรียบร้อยเพื่อนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน และให้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อนนำเสนอประธาน กสทช. ลงนาม เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนต่อไป

 

ผลการลงมติรายบุคคลและทั้งคณะตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓

                                   

                                   ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ตามที่ประธาน กสท. (พันเอก นทีฯ) เสนอ

 

ระเบียบวาระที่ ๒.๓ :  การปรับปรุงร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ กทค.   

 

มติที่ประชุม                ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ที่ประชุม กทค. ครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม พร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมที่ได้แก้ไขปรับปรุงภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ รวมทั้งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการตามมาตรา ๒๗ (๑) และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบข้อ ๙ และข้อ ๒๖ ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ อย่างครบถ้วนแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙)พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.๒๕๕๕ –๒๕๕๙) ตามที่ประธาน กทค. (พันเอก เศรษฐพงค์ฯ) เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมในวาระที่ ๒.๑ ในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม พร้อมเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการ และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม รวมทั้ง ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ "ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ -๒๕๕๙)"ในร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้รูปแบบการจัดทำเป็นไปในทิศทางเดียวกับร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เรียบร้อยก่อนนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน และให้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๘ ต่อไป

 

ผลการลงมติรายบุคคลและทั้งคณะตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓

                                   

                                   ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และ (ร่าง) แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ตามที่ประธาน กทค. (พันเอก เศรษฐพงค์ฯ) เสนอ

 

ระเบียบวาระที่ ๓    :    เรื่องอื่นๆ

 

ระเบียบวาระที่ ๓.๑ :  การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย – ลาว (JTC) ครั้งที่ ๓ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ), ตย.

 

มติที่ประชุม                ๑.  อนุมัติให้สำนักงาน กสทช เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย –ลาว ครั้งที่ ๓ (The3rd Meeting of Joint Technical Committee on Coordination and Assignment of Frequencies along Thailand – Lao Common Border – JTC) ระหว่างวันที่ ๒๕ –๒๗ เมษายน ๒๕๕๕ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณการจัดการและบริหารองค์กร (ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม)ประจำปี ๒๕๕๕ ซึ่งตั้งไว้จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

๒.   อนุมัติให้รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนกลุ่มงานบริหารความถี่วิทยุ (วถ.)กลุ่มงานภูมิภาค (ภภ.) กลุ่มงานการต่างประเทศ (ตย.) และกลุ่มงานมาตรฐานเทคโนโลยี BC TV (ทส.) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมตามข้อ ๑

 

หมายเหตุ               ในช่วงเสร็จสิ้นการประชุม ประธาน กสทช. ขอให้ประธาน กทค. รับเรื่องการพิจารณาเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นหมายเลขสวยไปพิจารณา ซึ่งประธาน กทค. (พันเอก เศรษฐพงค์ฯ) ขอรับไปดำเนินการ

 

หมายเหตุ                   ร่างรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่

                           ๕/๒๕๕๕ อยู่ในระหว่างนำเสนอที่ประชุมพิจารณารับรองในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕


http://cabinet.nbtc.go.th/wps/portal/cabinet/!ut/p/c5/04_SB8K8xLLM9MSSzPy8xBz9CP0os3gTf3MX0wB3U08ndw9TA89Ap2ATV9-QoKAQY_1wkA6zeB9zn2Az8yAjAwMDExcDIx-fUDMXC18jA3djiLwBDuBooO_nkZ-bql-QnZ3m6KioCAAxlcA6/dl3/d3/L2dJQSEvUUt3QS9ZQnZ3LzZfNE83RDVQRzVJQkdINTBJUUJTNEVNVFI3Rzc!/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/wps/wcm/connect/cabinet/cabinet/cabinet/agenda2555/e1db25804a93c354800bddb1f5b6d48d&housecatagory=CAT2