วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

วงสัมมนา"เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์"ระบุไทยต้องพัฒนาศักยภาพ"คน"

แนะรัฐพัฒนา "คน -การศึกษา" รองรับประชาคมอาเซียน

วันที่ 27 เม.ย. 2555 (จำนวนคนอ่าน 3 คน) 
พงษ์พิพัฒน์ จีนด้วง /สทน. สปข.4

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา จัดการสัมมนาเรื่อง เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ การสร้างภูมิคุ้มกัน ม โดย ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน คือการเปิดเสรีทางการค้ากันมากขึ้น แต่สิ่งที่ไทยต้องระวังในยุคโลกาภิวัฒน์คือ ความรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีที่มามากขึ้นและไร้ขีดจำกัดซึ่งอาจรวดเร็วขึ้นจนเรารับมือไม่ทัน และเมื่อเข้าสู่การค้าแบบเสรีแล้ว อำนาจทางการต่อรองทงการค้าจะหายไป เพราะเป็นการค้าแบบเสรี สำหรับการเปิดเสรีการค้าในอาเซียนเกิดจากแรงบีบแรงกดดันจากภายนอก ดังนั้นอาเซียนจึงต้องรวมตัวกันเพื่อจะไปเจรจาต่อรองกับภายนอกได้ แต่เมื่อถึงเวลาจริงคงต้องมาดูกันว่าการเปิดเสรีทางการค้านั้นมีความเสรีแค่ไหน เพราะการเปิดการค้าเสรีอาเซียนนั้นไม่ได้เป็นความต้องการของคนทั้งประเทศและเมื่อเปิดการค้าเสรีขึ้น ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงานกับเจ้าของทุนก็จะมีมากขึ้นดังนั้น ความเติบโตที่จะเกิดขึ้นจะไปตกอยู่ที่ใคร 

ดร.ธวัชชัยยังกล่าวต่อไปว่า โลกยุคโลการภิวัฒน์นั้นไม่สามารถปิดกั้นได้ สิ่งที่ไทยทำได้คือต้องพัฒนาคุณภาพคนให้เพิ่มขึ้น เพราะทุนทางปัญญาถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุกเศรฐกิจโลกาภิวัฒน์ ไทยยังขาดความพร้อมด้านการศึกษาและด้านภาษายู่มากซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่ไทยต้องให้ความสำคัญและลงมือพัฒนาทางด้านนี้อย่างจริงจัง 


ด้านนายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยเทคโนโลยี ดังนั้นตนมองว่าควรเน้นในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นหลัก รวมถึงยกระดับควาสามารถของคนไทย เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่มีพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะหากคนไทยมีความสามารถแล้วการลงทุนทุกอย่างก็จะตามมา แต่ด้วยระบบการศึกษาของไทยที่ยังขาดคุณภาพอยู่มาก คนไทยมีความรู้ภาษาอังกฤษน้อย ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐและเอกชนต้องหันมาใส่ใจกับการศึกษา ผลักดันต้นทุนทางมนุษย์ ผลักดันต้นทุนทางการศึกษาให้มากขึ้น 

ส่วนนายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการด้านเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ภาคเอกชนต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลง ในยุคของเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ ปัจจุบันมีปัญหาด้านการขาดแคลนอาหาร และด้านพลังงานก็มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ไทยคงต้องหันกลับไปมองถึงพลังงานทางเลือก เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการผลิต และอีกไม่นานไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนขาดแคลนแรงงานในการทำงาน ดังนั้นเราจำต้องพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกๆด้าน สำหรัยกาเปิดการค้าเสรีอาเซียน ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อโรคระบาดที่มาจากแรงงานที่มากจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประเด็นด้านสาธารณสุขของประเทศไทยยังอ่อน 
 
 
ที่มา  เนชั่นทันข่าว


วงสัมมนา"เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์"ระบุไทยต้องพัฒนาศักยภาพ"คน"

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 15:20:56 น.

ที่รัฐสภา ในการสัมมนา หัวข้อ "เศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์:การสร้างภูมิคุ้มกัน" นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้คนตื่นเต้นกันมาก ตนเชื่อว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 1.การเปิดเสรีการค้าในปัจจุบันเร็วมาก แต่ปัจจุบันการค้าเกินครึ่งไม่ได้มีการขนย้ายสินค้า แต่เป็นการแลกเปลี่ยนกระดาษ 2.สินค้าและการบริการที่น่ากลัวสุดคือ การเงิน ซึ่งที่ไหลเวียนในโลกไม่ได้เกิดขึ้นจากการค้าขายอย่างเดียว เงินที่สะพัดในโลกมากกว่าการซื้อขายสินค้าถึง 3 เท่า คือการค้าขายเงินตรา เงินจึงกลายเป็นสินค้าสำคัญมากกว่าสินค้าอื่น เพราะฉะนั้นในปัจจุบันเรื่องโลกาภิวัตน์มีอันตรายสูงคือ ความรวดเร็วของ เทคโนโลยี เกินกว่าความสามารถของเราที่จะป้องกันได้กว่าจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นก็สายเกินไปเสียแล้ว


ด้านนายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า วิกฤตต้มยำกุ้งสอนเราว่า วันนี้ทุนอยู่กับเรา พรุ่งนี้มันไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราต้องหันมาพึ่งตัวเอง แล้วเราจะสร้างภูมิกันตัวเราเองได้อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าทุนไม่ไปไหน เทคโนโลยีจะวิ่งมาหาเรา โดยสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เทคโนโลยีหรือธุรกิจจะวิ่งไปหาคนเก่ง อย่างประเทศจีน อินเดียมีคนเก่งมาก ฉะนั้น ธุรกิจจะเกาะอยู่กับคนเหล่านี้ ตนเคยถามนักธุรกิจญี่ปุ่นว่าทำไม ไม่นำเทคโนโลยีมาลงที่ไทย ได้รับคำตอบว่า เราไม่มีวิศวกรรมมากพอที่รองรับสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้น ต่อไปเราต้องสร้างคนเก่งขึ้นมาให้ได้ เพราะหากเราเก่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทุน หรือเทคโนโลยีก็จะมาหาเอง


"ปัญหาสำคัญเราต้องสร้างคนให้ได้ โดยใช้ระบบการศึกษาที่เหมาะสมถูกต้อง การศึกษามันผิดตั้งแต่สมัยผมแล้ว ที่เลือกวิชาเรียนไม่ได้ สุดท้ายก็ไปเลือกที่ตัวอาจารย์ ซึ่งต้นแบบก็ไม่ได้ชำนาญมาก เพราะฉะนั้น หากอยากให้เราเก่งภาษา ก็นำเข้าคนฟิลิปปินส์สัก 1 แสนคน แล้วส่งไปประจำทุกโรงเรียน ในอัตรา 10 ต่อ 1 เชื่อว่าไม่เกินครึ่งปีคนของเราเก่งแน่ ยิ่งคนไทยมีจิตบริการอยู่แล้ว หากเก่งภาษาด้วย ธุรกิจบริการเราจะไปโลดแน่" นายสมเกียรติ กล่าว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335514105&grpid&catid=19&subcatid=1904

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น