สบท. ร้อง กสทช. สั่งบริษัทมือถือเลิกกำหนดวันใช้งานพรีเพด
7 เมษายน 2554 (เปิดอ่าน 292)
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือประเภทเรียกเก็บค่าบริการเป็นการล่วงหน้า (พรีเพด) เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ครั้งที่ 32/2553 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553 โดยห้ามมิให้กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 แต่ปรากฎว่าจนถึงขณะนี้ผู้ให้บริการทุกรายยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว
ทั้งนี้ สบท. ได้เข้าไปตรวจสอบในเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทุกรายและจากผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน พบว่าผู้ให้บริการยังคงกำหนดระยะเวลาการใช้งานโดยแต่ละรายได้กำหนดจำนวนเงินที่ต้องเติมและระยะเวลาการใช้งานใกล้เคียงกันคือ ผู้บริโภคจะต้องเติมเงินจำนวน 300 บาทต่อเดือน เพื่อที่จะสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้นาน 30 วัน
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) สบท.ได้ทำหนังสือเสนอต่อปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. เพื่อให้สั่งการสำนักที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการบังคับทางปกครองตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป
“เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง และ สบท. ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยหลักแล้วผู้ให้บริการมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย หากเห็นว่าประกาศนี้ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ก็ให้กำหนดมาว่าเวลาการใช้งานที่เหมาะสมที่ผู้ประกอบการอยู่ได้ และเป็นธรรมต่อผู้บริโภคควรจะเป็นเท่าใด และทำเรื่องเสนอเข้ามาเพื่อให้ กสทช. พิจารณา แต่ถ้าไม่ขอความเห็นเข้ามา แล้วฝ่าฝืนกฎหมายไปเรื่อยๆ เหมือนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คงจะต้องมีการบังคับตามกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวทางตามกฎหมายให้เดินอยู่” นายประวิทย์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในการเสวนาเรื่อง “กำหนดวันหมดอายุมือถือระบบเติมเงินยังนิ่ง..เรื่องจริงเป็นอย่างไร?” ที่ สบท. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสิทธิชัย แม้นเจริญ ผู้บริโภคที่ร้องเรียนต่อ สบท. กรณีโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินถูกกำหนดวันหมดอายุ กล่าวว่า การกำหนดระยะเวลาใช้งานของผู้ให้บริการถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการใช้อำนาจทางตลาดที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดังนั้น ในฐานะที่ตนเป็นผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการทำผิดกฎหมายในกรณีดังกล่าว จึงได้ไปแจ้งความ เพื่อดำเนินคดีกับบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 309 และมาตรา 337 ตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นอกจากนี้ ในวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ตนยังได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ผ่านทางอีเมล และกำลังเตรียมที่จะดำเนินคดีกับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และผู้ที่เกี่ยวข้องในสำนักงาน กสทช. ด้วย หากยังไม่มีการกำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมปฏิบัติตามกฎหมาย
ขณะที่ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ทางองค์กรผู้บริโภคจะให้เวลาผู้ให้บริการอีก 30 วัน หากผู้ให้บริการยังไม่เลิกกำหนดอายุการใช้งานโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน หรือยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจะดำเนินการฟ้องร้องผู้ให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศ และยังแสดงความเห็นว่าการที่ผู้ให้บริการสามารถประกอบกิจการโดยขาดธรรมาภิบาลและฝ่าฝืนกฎหมายมาตลอดเวลาหลายปี เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการมีพลังเหนือกว่ากฎหมาย
ที่มา: สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) วันที่ 5 เมษายน 2554
ข่าวจากแหล่งอื่น:
มติชนออนไลน์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ไทยรัฐออนไลน์
ประชาไท
เดลินิวส์
โพสต์ทูเดย์
Bangkok Post
ทั้งนี้ สบท. ได้เข้าไปตรวจสอบในเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทุกรายและจากผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน พบว่าผู้ให้บริการยังคงกำหนดระยะเวลาการใช้งานโดยแต่ละรายได้กำหนดจำนวนเงินที่ต้องเติมและระยะเวลาการใช้งานใกล้เคียงกันคือ ผู้บริโภคจะต้องเติมเงินจำนวน 300 บาทต่อเดือน เพื่อที่จะสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้นาน 30 วัน
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) สบท.ได้ทำหนังสือเสนอต่อปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. เพื่อให้สั่งการสำนักที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการบังคับทางปกครองตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป
“เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง และ สบท. ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยหลักแล้วผู้ให้บริการมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย หากเห็นว่าประกาศนี้ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ก็ให้กำหนดมาว่าเวลาการใช้งานที่เหมาะสมที่ผู้ประกอบการอยู่ได้ และเป็นธรรมต่อผู้บริโภคควรจะเป็นเท่าใด และทำเรื่องเสนอเข้ามาเพื่อให้ กสทช. พิจารณา แต่ถ้าไม่ขอความเห็นเข้ามา แล้วฝ่าฝืนกฎหมายไปเรื่อยๆ เหมือนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คงจะต้องมีการบังคับตามกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวทางตามกฎหมายให้เดินอยู่” นายประวิทย์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในการเสวนาเรื่อง “กำหนดวันหมดอายุมือถือระบบเติมเงินยังนิ่ง..เรื่องจริงเป็นอย่างไร?” ที่ สบท. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสิทธิชัย แม้นเจริญ ผู้บริโภคที่ร้องเรียนต่อ สบท. กรณีโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินถูกกำหนดวันหมดอายุ กล่าวว่า การกำหนดระยะเวลาใช้งานของผู้ให้บริการถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการใช้อำนาจทางตลาดที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดังนั้น ในฐานะที่ตนเป็นผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการทำผิดกฎหมายในกรณีดังกล่าว จึงได้ไปแจ้งความ เพื่อดำเนินคดีกับบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 309 และมาตรา 337 ตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นอกจากนี้ ในวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ตนยังได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ผ่านทางอีเมล และกำลังเตรียมที่จะดำเนินคดีกับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และผู้ที่เกี่ยวข้องในสำนักงาน กสทช. ด้วย หากยังไม่มีการกำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมปฏิบัติตามกฎหมาย
ขณะที่ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ทางองค์กรผู้บริโภคจะให้เวลาผู้ให้บริการอีก 30 วัน หากผู้ให้บริการยังไม่เลิกกำหนดอายุการใช้งานโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน หรือยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจะดำเนินการฟ้องร้องผู้ให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศ และยังแสดงความเห็นว่าการที่ผู้ให้บริการสามารถประกอบกิจการโดยขาดธรรมาภิบาลและฝ่าฝืนกฎหมายมาตลอดเวลาหลายปี เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการมีพลังเหนือกว่ากฎหมาย
ที่มา: สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) วันที่ 5 เมษายน 2554
ข่าวจากแหล่งอื่น:
มติชนออนไลน์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ไทยรัฐออนไลน์
ประชาไท
เดลินิวส์
โพสต์ทูเดย์
Bangkok Post
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น