วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554





ศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554 
กำหนดการ
09.00-09.30 น. ลงทะเบียนและอาหารว่าง
09.30-09.45 น. พิธีเปิดการประชุม โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
09.45-10.00 น. ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์และกระบวนการดำเนินการ 
    โดยหัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์
10.00-10.45 น. ความสัมพันธ์ของวัดกับชุมชนไท-ลาว โดย อาจารย์ พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน รองศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล
10.45-11.30 น. การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนที่สัมพันธ์กับประเพณีลาวโซ่งในบริบท
ใหม่ โดย อาจารย์ ศรุติ โพธิ์ไทร และอาจารย์ ชวาพร ศักดิ์ศรี
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
11.30-12.15 น.   การปรับตัวของการใช้ที่ว่างภายในเรือนพื้นถิ่นไท-ลาว โดย อาจารย์ จตุพล อังศุเวช
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน รองศาสตราจารย์ จันทนี เพชรานนท์
13.15-14.00 น. วัสดุก่อสร้างและความแปรเปลี่ยน โดย อาจารย์ จิระศักดิ์ เกื้อสมบัติ
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทองพันธุ์ พูนสุวรรณ
14.00-14.45 น. ความสัมพันธ์ของที่ว่างกับวิถีชิวิต : ที่ว่างสาธารณะ ที่ว่างในและนอกเรือน โดย 
อาจารย์พุดตาน จันทรางกูร และอาจารย์สุธิดา สัตยากร
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน รองศาสตราจารย์ วิวัฒน์ เตมียพันธ์
14.45-15.15 น. อาหารว่าง
15.15-16.00 น. เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ โดย อาจารย์ อดิศร ศรีเสาวนันท์ 
และอาจารย์ เจนยุทธ์ ล่อใจ
ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงาน รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก
16.00-16.15 น. สรุปและปิดประชุม โดย ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์
โครงการวิจัย "การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหม่ที่แตกต่าง
ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย" 
ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น 2552 (2552-2555) จาก
หน่วยงานไตรภาคี อันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงาน 
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 
(สกอ.) โครงการวิจัยนี้ี่มุ่งเน้นศึกษากลุ่มไท-ลาว 4 กลุ่ม คือ ลาวเวียง 
ลาวครั่ง ลาวพวน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมในเวียงจันทน์ หลวงพระบางและเชียงขวาง 
ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และลาวโซ่ง ซึ่งมีถิ่นฐานเดิม 
ในเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม โครงการวิจัยนี้ขยายความสนใจในการ
ศึกษาออกในวงกว้างในลักษณะของการศึกษาแบบองค์รวม โดยเฉพาะความ
ต่างของบริบทธรรมชาติในถิ่นฐานเดิมกับในพื้นที่เลือกสรรในถิ่นฐานใหม่ซึ่ง
อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง เพื่อที่จะตอบคำถามด้านการปรับตัวของวิถีชีวิต
ในบริบทใหม่ในช่วงเวลาเกือบสองศตวรรษของการตั้งถิ่นฐานในไทยของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ลาวทั้ง 4 กลุ่ม โครงการวิจัยนี้มีองค์ประกอบคณะวิจัยที่มีจำนวน
คนมาก ซึ่งมีทั้งนักวิจัยหลัก นักวิจัยรุ่นใหม่ และผู้ช่วยวิจัย จำนวน 25 คน 
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
และมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สปป.ลาว งานวิจัยนี้นอกจากจะได้องค์ความรู้ 
ด้านลักษณะหมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่ใหม่ วัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนตาม 
ทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ใหม่ การเสริมสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรม และการ 
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้าง 
นักวิจัยรุ่นใหม่ และผลิตผลงานวิจัย บทความวิชาการ และหนังสืออย่างมี
คุณภาพต่อไปอีกด้วย
ณ ห้องจูปิเตอร์ 4-5 อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี
การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบท
ใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ลาว  
ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย
การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในรอบปีที่ 2 ของโครงการวิจัย
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ได้ที่ 
www.arch.ku.ac.th/tailaos ภายในวันที่ 27 เมษายน 2554  
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพจนา สมทรัพย์ หรือ
คุณวรท เพ่งเพียร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 
โทร 02-579-0113 ต่อ 4051

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น