วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"เพียงคำเดียวที่ปรารถนา อยากฟังให้ชื่นอุรา ใจพะว้าพะวัง

https://www.youtube.com/watch?v=GQ1QYaQ_PAw&feature=autoplay&list=PL0E77F0C8B43009A1&playnext=35
รักวันเติมวัน- บุษยา รังสี
http://www.youtube.com/watch?v=wharoU9QDcU&feature=share

บทสวดมนต์เจ้าแม่กวนอิม (ธิเบต).wmv

ไต่ปุ๋ยจิว

https://www.youtube.com/watch?v=E4Jevqzv0tE&feature=autoplay&list=PL0E77F0C8B43009A1&playnext=46
สุเทพ วงศ์กำแหง - เพียงคำเดียว

"เพียงคำเดียวที่ปรารถนา อยากฟังให้ชื่นอุรา ใจพะว้าพะวัง

นานเท่านานพี่คอยจะฟัง คำนี้คำเดียวพี่หวัง จะฟังจากปากดวงใจ

คำคำนี้มีค่าใหญ่หลวง พี่รักพี่แหนพี่หวง เพียงดั่งดวงฤทัย

พี่ไม่เคยเฉลยกับใคร แต่แล้วพี่บอกเจ้าไป เพื่อให้เจ้าตอบเช่นกัน

มีหลายคราที่เคย เหมือนเจ้าจะเอ่ย เปิดเผยเฉลยคำนั้น

โอแล้วใยอัดอั้น มิกล้าจำนรรจ์ กลับตื้นกลับตันทรวงใน

หรือเจ้ามีคู่เคียงอุรา เจ้ารักเป็นหนักเป็นหนา ตรึงติดตราหัวใจ

จึงจดจำถ้อยคำพี่ไป แอบเอาไปบอกคู่ใจ ทอดทิ้งพี่ให้อกตรม

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวีธีการแก้ปัญหา "ซิมฟรี แถมค่าบริการ" มาฝากทุกคนค่ะ ร่วมด้วยช่วยกันบอกต่อนะ...



จาก: ร้องทุกข์ หนึ่งครั้งดีกว่าบ่นพันครั้ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ส่งเสริมกับใช้สิทธิ์ของคุณ <notification+zrdohr1vdlvf@facebookmail.com>
วันที่: 26 ตุลาคม 2555, 17:20
หัวเรื่อง:  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวีธีการแก้ปัญหา
ถึง: 


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวีธีการแก้ปัญหา...
ร้องทุกข์ หนึ่งครั้งดีกว่าบ่นพันครั้ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ส่งเสริมกับใช้สิทธิ์ของคุณ 26 ตุลาคม 17:20
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวีธีการแก้ปัญหา
"ซิมฟรี แถมค่าบริการ" มาฝากทุกคนค่ะ




รบกวนขอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือการวิเคราะห์กราฟราคา


 
จาก: info wealthplus.in.th <info@wealthplus.in.th>
วันที่: 26 ตุลาคม 2555, 15:22
หัวเรื่อง: รบกวนขอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือการวิเคราะห์กราฟราคา
ถึง:


เรียน ทุกท่าน
 
ผมอยากที่จะเขียนหนังสือ เกี่ยวกับการวิเคราะห์กราฟราคา (สำหรับผู้เริมต้น)
ทั้งที่เอาไว้ใช้ดูราคาหุ้น ทองคำ น้ำมัน ค่าเงิน แบบง่ายๆ
อ่านเเล้วสามารถทำตามพร้อมทั้งเอาไปใช้ได้จริง
ซึ่งหนังสือแบบนี้ ในชั้นหนังสือตามร้านขายหนังสือ มีอยู่หลายเล่มแล้ว
เพียงแต่ว่าเท่าที่มีมันเป็นสิ่งที่หาอ่านได้ทั่วไปตาม Website หรือบางเล่มยากต่อความเข้าใจ
เลยอยากขอความเห็น โดยการรบกวนตอบแบบสอบถาม
เพื่อที่จะเอามาใช้ในการเขียนหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
 


 




 


วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ร่วมทางไปด้วยกัน

สวัสดี

ฉันชื่อกัญญา วัฒนา และฉันอยากจะบอกคุณจริง ๆ ว่าทำอย่างไรให้เว็บ daystation.blogspot.com ติดอันดับต้น ๆ ของ Google
ฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง SEO ทำงานจัดอันดับ SEO และพร้อมกันนี้ได้ทำวิจัยให้กับเพื่อนร่วมงานกลุ่มหนึ่งซึ่งทำให้ฉันพบที่อยู่อีเมล์ของคุณและตัดสินใจติดต่อคุณโดยทันที
ถ้าคุณสนใจ ฉันยินดีที่จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมและรายละเอียดทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับเรื่องนี้ให้ได้
ขอบคุณ
กัญญา วัฒนา
kingthai.org

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Suwimol Ch added you to her circles and invited you to join Google+

Suwimol Ch added you to her circles and invited you to join Google+.
Join Google+
Google+ makes sharing on the web more like sharing in real life.
Circles
An easy way to share some things with college buddies, others with your parents, and almost nothing with your boss. Just like in real life.
Hangouts
Conversations are better face-to-face. Join a video hangout from your computer or mobile phone to catch up, watch YouTube videos together, or swap stories with up to 9 of your friends at once.
Mobile
Lightning-fast group chat. Photos that upload themselves. A bird's-eye view of what's happening nearby. We built Google+ with mobile in mind.
You received this message because Suwimol Ch invited ablog1951.7days@blogger.com to join Google+. Unsubscribe from these emails.

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

“พงศ์จรัส รวยร่ำ” นักกฎหมายด้านสิทธิฯ คว้า “รางวัลสันติประชาธรรม” คนแรก

จาก ประชาไท

มอบรางวัลเกียรติยศ "สันติประชาธรรม" สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม 

ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แก่ "พงศ์จรัส รวยร่ำ" ในงานครบรอบ 67 ปี วันสันติภาพไทย

 
 
วันนี้ (16 ส.ค.55) มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิธีมอบรางวัลสันติประชาธรรม ครั้งแรก แก่พงศ์จรัส รวยร่ำ นักกฎหมายประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ อดีตอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากองทัพภาค 2 และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ศาลอาญาธนบุรี สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ เพื่อให้สังคมเกิดความยุติธรรม เสมอภาค ไม่มีความเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และใช้เหตุผลแก้ปัญหาให้เกิดสังคมสันติประชาธรรมอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ คณะกรรมการหาทุนและเลือกสรรบุคคล ระบุว่า รางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมจะทำการมอบให้บุคคลที่ทำคุณแก่สังคมเป็นประจำทุกปีต่อไป โดยในปีนี้มอบรางวัลเป็นเงิน 5 แสน และคำประกาศกิติคุณ นอกจากนี้ การมอบรางวัลในวันสันติภาพไทยนั้นถือเป็นวันที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นวันที่เสรีไทยได้มอบคืนอาวุธที่ใช้ในการเคลื่อนไหวคืนให้พันธมิตร หลังทำหน้าที่ตามที่ปฏิญาณไว้ โดยไม่ได้หวังลาภยศสรรเสริญ
 
ด้านพงศ์จรัส ในฐานะผู้เคลื่อนไหวประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้กล่าวว่า การที่รัฐใช้เงินไปโถมเพื่อการแก้ปัญหายิ่งเป็นการทำลายทำลาย เพราะเงินถือเป็นตัวปัญหา หากอยากให้คนพุทธและมุสลิมกลับไปอยู่ร่วมกันได้ ต้องหยุดการแก้ปัญหาอย่างที่เคยทำมาอย่างการใช้ความรุนแรง เพราะหากจะฆ่า ก็ฆ่าเท่าไหร่ไม่หมด และคนเหล่านั้นเขาไม่กลัวการใช้กำลัง แต่กลัวบาปตามหลักการศาสนา
 
พงศ์จรัส กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินที่ได้รับจะไม่นำไปใช้ส่วนตัว แต่จะเอาไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ และผู้มอบรางวัลนี้
 
 
 
คำประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม 
สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
 
นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี เกิดวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และมหาบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งจากสถาบันพระปกเกล้า
 
เส้นทางการทำงานในวิชาชีพกฎหมายมีความหลากหลายอย่างเชื่อมโยงกัน เริ่มต้นจากการเป็นทนายความของสำนักงานกฎหมายเสนีย์ ปราโมช เข้าทำงานในวงการศึกษาในฐานะเป็นเลขานุการของ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และทำงานการเมืองสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวหล่อหลอมให้นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นนักกฎหมายที่มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง ล้ำเลิศในข้อกฎหมาย เจนจัดในข้อเท็จจริง และที่สำคัญมีสมัครพรรคพวกแทบทุกวงการ อีกทั้งอุปนิสัยรักการใฝ่หาความรู้ ชอบอ่านหนังสือแนวปรัชญาและตั้งวงสนทนาวิสาสะกับมิตรสหายอย่างออกรส จึงทำให้ทนายความผู้นี้ก้าวข้ามนักนิติอักษรศาสตร์ไปสู่แก่นสาระของกฎหมายในฐานะนักยุติธรรม
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายพงศ์จรัส รวยร่ำ เป็นทนายความที่มีอุดมการณ์ในการทำงานมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาส ด้วยความเห็นใจในความทุกข์ยากและลำบากของเพื่อนมนุษย์ หรือผู้ที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม ด้วยเด่นชัดในบุคลิกภาพที่โผงผาง กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่สยบยอมกับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม บุคลิกภาพเช่นนี้คือมิตรแท้ที่จริงใจสำหรับผู้ที่รักความเป็นธรรมหรือถูกระบบรังแก ยิ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสด้วยแล้ว นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นดั่งความหวังและที่พึ่งสุดท้ายของผู้ทุกข์ทน จึงไม่แปลกใจเลยที่พุทธศาสนิกชนศิษย์สำนักสวนโมกขพลารามผู้นี้จะผ่านการคัดสรร และได้รับการประทานโอกาสจากองค์อัลลอฮ์ให้มีศรัทธาร่วมกับพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการต่อสู้จากความอยุติธรรมทั้งปวง เช่น การต่อสู้ทางคดีให้เปิดสอนโรงเรียนอิสลามบูรพา ภายหลังจากถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นแหล่งก่อการร้ายและสั่งปิด การต่อสู้เพื่อพิทักษ์มรดกทางวิถีประชาราษฎร์ (ผลักดันให้มีการจัดการสอนภาษาอาหรับผ่านระบบการศึกษาทางไกลกับมหาวิทยาลัยนานาชาติมาดีนะฮ์และคัดค้านนโยบายปิดโรงเรียนปอเนาะ) ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย หรือ การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่พี่น้องมลายู ฯลฯ นอกจากประเภทงานร้อนแล้วเขาได้พยายามกระชับพื้นที่ประสานความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเพื่อนฝ่ายรัฐ (การเมือง กองทัพ ฝ่ายปกครอง) กับผู้นำศาสนาอย่างแยบคาย ทั้งนี้ ไม่นับน้องๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เขาให้การอุดหนุนทางการศึกษาและประกอบอาชีพซึ่งไม่น่าจะน้อยกว่าหลักพันคน
 
เมื่อครั้ง นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ได้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในหลายเรื่อง และเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝึกอาชีพและปรับทัศนคติให้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดีจากทางการ แม้โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวเขาก็ตาม แต่เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงจุดยืนที่มั่นคงและความกล้าหาญทางจริยธรรมที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าตนเอง 
 
ปัจจุบันนายพงศ์จรัส รวยร่ำได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของกองทัพภาคที่ ๒ และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา  ศาลอาญาธนบุรี และเป็นอาจารย์พิเศษในหลายสถาบันการศึกษา จึงเป็นเครื่องรับรองคุณภาพได้เป็นอย่างดี
 
จากปฏิปทาที่ผ่านมาทำให้เชื่อว่า นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ไม่ใคร่ใส่ใจต่อลาภ เกียรติยศ และการสรรเสริญ แต่ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาต่อวงการกฎหมายไทยในปัจจุบัน ยิ่งประจักษ์ว่า นักกฎหมายที่มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณเพื่อสาธารณะเช่นนายพงศ์จรัส รวยร่ำนั้น นับเป็นแบบอย่างของ "นักนิติสามัญสำนึกศาสตร์" ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยประดุจแสงไฟเพื่อส่องทางให้แก่ประชาราษฎร์ผู้ทุกข์ระทม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น ผู้ที่เหมาะสมกับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมสำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยิ่งนัก 
 
ที่มา: Sulak Sivaraksa 
 

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขึ้นเงินเดือน 32 ขรก.ในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ขึ้นเงินเดือน 32 ขรก.ในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย

Author by  6/08/12No Comments »
 

มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้สำนักพระราชวังดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย จำนวน ๓๒ ราย ดังนี้

๑. พันตำรวจเอก ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๒,๒๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๖,๓๘๐ บาท

๒. พลเรือตรี ทศนุ เชียงทอง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๓,๒๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๓. พลอากาศตรี สุรศักดิ์ กนิษฐานนท์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๘๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๔. พลอากาศตรี ธวัชชัย ศรีแก้ว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๕๑,๕๔๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๕. พลตรี ศักดา พลอยไป ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๖,๔๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๖. ร้อยเอก ไพบูลย์ สุขเจตนี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๒,๔๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๗. พลอากาศตรี ธีระ เชียงทอง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๖,๖๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๘. พันโท สมชาย กาญจนมณี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๔,๗๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๙. นายพิพัฒน์ ประทุมทัย ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๑๖๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๑๐. พลอากาศตรี สรชัย ชีวะกลินศักดิ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๕๒,๙๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๑๑. นางวิมล ทองพายัพ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๒๘,๙๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๒. พันตำรวจเอก เฉลิมเกียรติณรงค์ วงศ์ธนู ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๘,๙๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๓. นายเจนจบ อมาตยกุล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๓,๓๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๔. พันตรีหญิง ทรรศน์จันทร์ ศรีอรุณ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๒,๙๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๑๕. พันเอก สมนึก สีสังข์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๖๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๖. นายวิวัฒน์ เชาว์วานิชย์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๙,๘๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๗. พันเอก เสกศิลป์ แสงศร ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๔,๘๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๘. นาวาเอก สุเทพ บุรณศิริ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๒๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๙. พันเอก ราชรักษ์ ฝนมณี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๕,๙๘๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๐. นาวาอากาศเอก ชนินทร ศรีสวัสดิ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๗,๘๘๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๒๑. นายเจริญศักดิ์ คารีขันธ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๕,๐๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๒. นายมนัส เสือเปลี่ยว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้นราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๔๐๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๓. นายเพ่ง ประทุมทัย ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๑๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๔. พันตำรวจโทหญิง เจษรินช์ โชติกลาง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๕๒๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๕. พันโท ไพบูลย์ ผจญแกล้ว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๗,๖๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๖. พันตำรวจโทหญิง ชนาธิปติ์ บุญพร้อมอาษา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๖,๕๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๗. พันเอก สมมารถ ทัศนวงค์วรา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๖๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๒๘. พันโท สุรเดช เกษมมงคล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๖,๖๔๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๙. นายสะรัล เพิ่มสิน ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๒๐๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๓๐. นาวาเอก ธรรมรงค์ สุวรรณกูฏ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๕๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๓๑. เรืออากาศเอก บุญเพ็ญ มงคลประเสริฐ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๒๙,๖๖๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๓๒. นาวาอากาศโทหญิง สุรัญชนา เกษมจิตต์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๑,๐๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี


วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'วิทยา'ปิ๊งไอเดียตั้ง'อโรคยศาล'ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังนำร่อง 5 รพ.

 


alt
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ชูไอเดีย ตั้งอโรคยศาล  พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ร่างกายพิการจากอุบัติเหตุและจากโรคเรื้อรัง

เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ทั้งในเขตเมืองและชนบท แบบครบวงจร ซึ่งในอนาคตผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเพิ่มมากขึ้น โดยนำร่องต้นแบบในโรงพยาบาล 5 แห่งแรกในประเทศ ได้แก่ รพ.อู่ทอง รพ.ขุนหาญ รพ.จอมทอง รพ.ห้วยยอด และสถาบันการแพทย์แผนไทย ยศเส  กทม. ใช้งบลงทุน 54 ล้านบาท คาดเริ่มบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป

 

นายวิทยา  บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนารูปแบบการดูผู้ที่มีความพิการจากเจ็บป่วย โดยเฉพาะจากอุบัติเหตุจราจร และจากโรคเรื้อรัง เช่นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดปัญหาตีบหรือแตก ทำให้เกิดความพิการ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงผู้ดูแลตลอดวัน     ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 1 ล้านราย และแนวโน้มจะมากขึ้นในอนาคตจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่การที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น และไม่สามารถทำได้ด้วยการทุ่มทรัพยากรเข้าไปในระบบเดิม จำเป็นต้องสังเคราะห์ระบบใหม่และพัฒนาทีมงานที่เอื้อต่อการดูแลโรคเรื้อรัง จากการวิเคราะห์ล่าสุดในปี 2553 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วประเทศมี 1.7 ล้านกว่าราย   ขณะที่ในปี 2551 มีผู้ป่วย 1.4 ล้านกว่าราย หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 19  คาดว่าในปี 2558 ค่ารักษาโรคเรื้อรังของประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึงปีละ 52,000 ล้านบาท 

นายวิทยา กล่าวว่า ในการพัฒนารูปแบบดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ใช้ชื่อว่า อโรคยศาล  ซึ่งนำร่อง 5 แห่งในประเทศ ภาคละ 1 แห่ง ได้แก่ 

1.โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 

2.โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 

3.โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 

4.โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง และ

ที่สถาบันการแพทย์แผนไทย  ยศเส  กรุงเทพมหานคร 

ใช้งบลงทุน 54 ล้านบาท ได้ให้กรมสนับสนุนบริการ พัฒนาอาคารสถานที่ที่เหมาะสม  เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น 

ทางด้านนายแพทย์อภิชัย  มงคล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  รูปแบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของอโรคยศาล จะอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ส่วน คือ การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ  ทั้ง สถานที่  เครื่องมือ อุปกรณ์ ทีมสหวิชาชีพในการดูแลประมาณ 12 คนเป็นอย่างน้อย  เช่น แพทย์  พยาบาล  เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นักโภชนาการ ผู้ช่วยเหลือในการดูแลจากชุมชน โดยเชื่อมโยงกับชุมชน หมอพื้นบ้าน เพื่อการสนับสนุนทรัพยากรในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยพิการ  เพื่อให้เกิดการสนับสนุนตนเอง และความสามารถในการดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม   เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน   

นายแพทย์อภิชัยกล่าวต่อไปว่า  ลักษณะเฉพาะของอโรคยศาล  เป็นอาคารชั้นเดียว  ระบบระบายอากาศดี และแยกเป็นการเฉพาะออกจากหอผู้ป่วยทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยเรื้อรังจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ  เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ภายในอาคารมีทั้งห้องผู้ป่วยรวมและห้องพิเศษ ห้องสันทนาการเพื่อทำกิจกรรม ห้องปฐมพยาบาล ห้องกายภาพบำบัด ห้องศาสนบำบัด คาดว่าจะเริ่มให้การดูแลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป  และจะประเมินผลในอีก 1 ปี เพื่อดำเนินการต่อในพื้นที่อื่น 

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=132385&catid=176&Itemid=524

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

The China Syndrome : ปิดข่าวไว้ก่อน เจ้าของสื่อสั่งไว้

The China Syndrome : ปิดข่าวไว้ก่อน เจ้าของสื่อสั่งไว้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจีนตามชื่อหรือมีจีนเป็นผู้ร้ายเหมือนผลงานฮอลลีวู๊ดหลายเรื่องแต่อย่างไร

ภาพจาก Wikipedia

หากแต่เป็นเรื่องของสื่อ ผู้บริหารสื่อ กับวิจารณญาณจรรยาบรรณว่าประชาชนควรจะได้รับข้อมูลข่าวสารหรือไม่ อย่างไรเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง ซึ่งในที่นี้คือ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ความปลอดภัยในอาหารและอื่นๆ ไปอีกหลายชั่วคน โดยทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการปกปิดบิดเบือนความจริงของผู้บริหารโรงไฟฟ้า และการเอนเอียงเข้าข้างโรงไฟฟ้าของเจ้าหน้าที่รัฐ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอเข้าชิงหลายรางวัลหลังจากออกฉายเมื่อเดือนมีนาคม ปี 1979 และยิ่งถูกทำให้โด่งดังขึ้นไปอีกเมื่อเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นจริงๆที่ Three Mile Island ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุสาธารณะที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาเพียง 12 วัน หลังจากหนังออกสู่สายตาสาธารณะชนในสหรัฐอเมริกา และถูกนำกลับมากล่าวถึงใหม่หลังจากเหตุการณ์อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความคล้ายของเหตุการณ์ ยังไม่นับว่าเรื่องนี้อาจจะไม่ไกลตัวคนไทยนักตราบเท่าที่ผู้วางแผนนโยบายพลังงาน เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าต่างๆ สภาอุตสาหกรรม บรรณาธิการ นักข่าวสายพลังงานและอุตสาหกรรมยังเดินทางไปดูงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่างประเทศตามคำเชิญของเหล่านักอุตสาหกรรมนิวเคลียร์เป็นว่าเล่น โดยเฉพาะยุคนี้ที่พลังงานนิวเคลียร์ถูกเอากลับมาปัดฝุ่นชูเป็นทางออกของการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

เรื่องเริ่มจากนักข่าวทีวีสาว Kimbery Wells ที่แสดงโดยดาราชื่อดัง Jane Fonda ผู้มีหน้าที่แสวงหาข่าวสีสันเบาสมองมาออกช่วงปิดท้ายข่าวประจำวัน ได้รับการมอบหมายให้ไปเยี่ยมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองที่สถานีตั้งอยู่และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าให้พูดถึงความสำคัญและความปลอดภัยของการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานนิวเคลียร์ โดยเธอมี Michael Douglas สมัยเป็นหนุ่มหล่อในบทของ Richard Adams ช่างภาพมือดีของสถานีไปด้วย เจ้ากรรมขณะที่ทั้งคู่กำลังสัมภาษณ์และมองไปยังห้องควบคุมปฏิกรณ์ ก็เกิดการสั่นไหวในอาคาร และเห็นเจ้าหน้าที่ในห้องแสดงอาการตกใจและพยายามแก้ไขสถาการณ์ นักข่าวสาวได้รับคำอธิบายเพียงว่านี่เป็นเหตุการณ์ปกติของการเดินเครื่องปฏิกรณ์ แต่ช่างภาพผู้มากประสบการณ์ได้กลิ่นว่านี่อาจเป็นข่าวใหญ่ จึงแอบบันทึกภาพความโกลาหลในห้องควบคุม ทั้งๆที่โรงไฟฟ้ามีกฏห้าม แต่เมื่อทั้งคู่กลับมาถึงสถานีและรายงานต่อบรรณาธิการว่ามีข่าวใหญ่กลับถูกห้ามออกอากาศโดยผู้บริหารระดับสูงของสถานี โดยมีฉากผู้จัดการประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าได้เข้าพบผู้บริหารสถานีก่อนหน้านั้น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ในไทยที่ผู้บริหารสื่อมีความสนิทสนมและได้รับงบประมาณจากหน่วยงานที่สนับสนุนการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศมาจัดกิจกรรมลดโลกร้อนต่างๆนานา

ขณะที่นักข่าวสาว Kimbery ได้รับการปลอบใจผู้บริหารของสถานีว่าเธออาจจะได้หลุดจากแวดวงข่าวเบาๆและเลื่อนขั้นไปทำข่าวที่มีเนื้อหาสาระอย่างที่เธอใฝ่ฝัน ช่างภาพ Richard กลับไม่ยอมแพ้ โดยขโมยม้วนฟิลม์ที่ถูกห้ามออกอากาศไปให้นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ดูเพื่อหาคำยืนยันในความอันตรายของเหตุการณ์และความจำเป็นในการให้ผู้คนได้รับรู้ข้อมูลเพื่อเตรียมตัวรับมือ ซึ่ง Richard ก็ได้รับการยืนยันว่าหากควบคุมไม่ได้นี่อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกว่า China Syndrome

ปรากฏการณ์ China Syndrome สถานการณ์จินตนาการในหนังที่เชื่อว่าเมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ร้ายแรงจนถึงจุดหนึ่งแท่งปฏิกรณ์จะหลอมละลายทะลุเปลือกโลกไปโผล่ที่ทวีปฝั่งตรงกันข้ามกับอเมริกาซึ่งก็คือตำแหน่งของประเทศจีนอันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง

Kimbery กลับมาสนใจขุดคุ้ยเรื่องอุบัติเหตุนี้อีกครั้งเมื่อหัวหน้าวิศวกรผู้ควบคุมโรงไฟฟ้าแสดงความกังวลเมื่อคำขอที่ให้เปลี่ยนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าถูกปฏิเสธโดย้ผู้บริหารเพราะไม่ยอมลงทุน ยิ่งไปกว่านั้นเขาพบว่าก่อนหน้านั้นมีการปลอมแปลงเอกสารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าโดยแผนกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะส่งผลร้ายแรงต่อการเดินเครื่องต่อไป แต่เมื่อหัวหน้าวิศวกรพยายามพูดความจริงกลับถูกขู่เขาจึงเข้าหานักข่าวอย่าง Kimbery ซึ่งก็ถูกผู้บริหารโรงไฟฟ้าขัดขวางทุกวิถีทางที่จะให้เกิดการรายงานข่าวจนถึงกับนำไปสู่การที่หัวหน้าวิศวกรถูกตำรวจยิงตายก่อนจะได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ

เป็นที่น่าสะกิดใจว่าถึงภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างมากว่า 30 ปีแล้ว ข้อปะทะถกเถียงระหว่างผู้สนับสนุนและต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นไม่มีวิธีการเก็บกากเชื้อเพลิงที่มีกัมมันตรังสีอันตรายที่แน่ใจได้ถึงความปลอดภัยในระยะยาว การผิดพลาดโดยฝีมือมนุษย์ที่เกิดได้ตลอดเวลาทั้งจากการรู้และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัยแค่ไหน และอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทบทุกครั้งที่เกิดขึ้นทั้งที่ไม่เป็นข่าวและเป็นข่าวเพราะใหญ่จนปิดไม่ไหวก็มีสาเหตุมาจากความผิดพลาดโดยคนแทบทุกครั้ง ผู้ไม่เห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยพูดอยู่เสมอว่ารัฐบาลไทยแค่จะสร้างสนามบินให้รันเวย์และทางวิ่งไม่แตกบ่อยๆ ยังทำไม่ได้เลย นับประสาอะไรกับอะไรที่มีความเสี่ยงกว่าหลายร้อยเท่าอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนที่ส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านเดียวจากผู้สนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนที่มีกำลังทรัพย์ ยังมีใครจำได้ไหมว่ารัฐบาลไทยเคยจัดสรรงบกี่ร้อยล้านบาทเพื่อประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์แม้โครงการยังอยู่ในขั้นศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น

การที่ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องผ่านสงครามข้อมูลข่าวสารขนานใหญ่ ซึ่งบทบาทสื่อมีความสำคัญอย่างมาก ขอเพียงสื่อมวลชนและผู้บริหารสื่อทำหน้าที่อย่างเคร่งครัดตามจรรยาบรรณ (ซึ่งก็ยังน่าสงสัยอยู่ว่าจะทำได้ขนาดไหนในยุคนี้ที่ผู้บริหารสื่อท่องคาถาว่าสังคมไม่ต้องการเนื้อหามากจากข่าวคุณภาพเชิงลึก) สังคมไทยก็น่าจะเกิดการถกเถียงอย่างมีข้อมูลและนำไปสู่การตัดสินใจเรี่องสำคัญนี้อย่างชาญฉลาดต่ออนาคตของประเทศ

http://www.mediainsideout.net/commentary/2012/07/19
 

ศึกสายเลือดคนดีเขย่า TPBS / ใบตองแห้ง 13 ก.ค.55

 

ศึกสายเลือดคนดีเขย่า TPBS

เผลอแป๊บเดียว TPBS หรือองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ก็ก่อตั้งมาได้ 5 ปีแล้วนะครับ ซึ่งแปลว่าเราได้ใช้เงิน "ภาษีบาป" สร้างทีวีของคนชายขอบ ริมขอบ ตกขอบ ไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท

แต่แหม แค่ได้ดู ณาตยา แวววีรคุปต์ เอา NGO กับชาวบ้านมาออกเวทีสาธารณะวันละโหล ก็คุ้มแล้วครับ รายการอย่างนี้จะไปหาสปอนเซอร์ได้ที่ไหน เพราะจัดช่องไหนก็ไม่มีคนดู (อ้าว)

รายการดีๆ อย่างนี้ TPBS ทุ่มทุนสร้างอย่างคุ้มค่าภาษีบาป กระทั่งมีเสียงเล่าอ้างว่า เมื่อตอนน้ำท่วมภาคใต้ บังเอิ๊ญทีมช่างภาพขาด ไม่พอถ่ายทำ "เวทีสาธารณะ" ทางสถานีต้องเรียกทีมรายงานสดน้ำท่วมภาคใต้ขึ้นมา ยกเลิกรายงานสดไปเลย ภูมิปัญญาชาวบ้านสำคัญกว่า คริคริ

เผลอแป๊บเดียว เทพชัย หย่อง ก็จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ TPBS ครบวาระในวันที่ 9 ตุลาคม 2555 นี้ ซึ่งอันที่จริง "เฮียสิ่ว" แกรับตำแหน่งมาตั้งแต่ 15 มกราคม 2551 แต่ตอนนั้นแค่รักษาการ แล้วจึงได้รับเลือกให้เป็น ผอ.อย่างเป็นทางการเมื่อ 10 ตุลาคม.2551

ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ที่รัฐบาลขิงแก่ยึดไอทีวีมาตั้ง TPBS ต้องสรรหา ผอ.ใหม่ พี่หมอพลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ออกประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ผอ.TPBS ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2555 โดยกำหนดระยะเวลารับสมัครคั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งแปลว่าปิดรับสมัครไปเรียบร้อยแล้ว

แม้ TPBS จะยังไม่ประกาศเป็นทางการว่ามีใครสมัครบ้าง แต่ก็รู้กันแซ่ด ว่ามี 4 คน ได้แก่ เฮียสิ่วเจ้าเก่า, สมชัย สุวรรณบรรณ ณ BBC ผู้สร้างเซอร์ไพรส์ ลาออกจากกรรมการนโยบายมาสมัคร ผอ.ทั้งที่เหลือวาระดำรงตำแหน่งอีก 2 ปี, วสันต์ ภัยหลีกลี้ รอง ผอ.ด้านปฏิบัติการ อดีต ผอ.อสมท.และ ผศ.นลินี สีตะสุวรรณ ภาควิชาศิลปะการละคร อักษรศาสตร์ จุฬาฯ มือเขียนบทละครช่อง 3 เจ้าของรางวัลนับไม่ถ้วน หนึ่งในกรรมการบริหาร TPBS

คนในล้วนๆ เลยครับ จะเปรียบเป็น "ศึกสายเลือด" ก็ได้

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวระดับแม่บ้าน TPBS ยังรู้ว่า ศึกครั้งนี้ชิงชัยกันระหว่างสมชัยกับเทพชัย BBC Vs Nation เท่านั้น โดยฝ่ายแรกต่อครึ่งควบลูก ไม่มีใครรอง ขณะที่วสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้องหลีกลี้หนีภัยสถานเดียว วสันต์ได้เป็นรอง ผอ.เพราะเฮียสิ่วหิ้วมา ขณะที่สมชัยก็เป็นหัวหน้าเก่า ณ BBC เพียงแต่ตอนแรก ทั้งคู่กั๊ก ไม่บอกว่าจะสมัคร วสันต์ถามเฮียสิ่วครั้งแล้วครั้งเล่า ก็กบไต๋อยู่นั่นแหละ วสันต์จึงยื่นใบสมัครไปก่อน แต่พอสมชัยลาออกลงสมัคร เฮียสิ่วก็ประกาศ กรูอยู่เฉยไม่ได้แร้ว ขอลุย

เจอรุ่นใหญ่เขาดวลกันอย่างนี้ ก็น่าเสียดาย วสันต์ไม่ถอนตัวก็เหมือนถอน วสันต์เนี่ยถึงใครจะมองว่ารุ่งมณี เมฆโสภณ ส่งเข้าประกวด แต่เป็นมืออาชีพด้านข่าว ทัศนะส่วนตัวส่วนเมียอาจมีผลบ้าง แต่ไม่ถึงกับสุดขั้วสุดโต่ง แถมวสันต์ยังไม่เล่นการเมืองในสำนักงาน ไม่เล่นพรรคเล่นพวก ไม่สร้างอาณาจักร

ส่วน ผศ.นลินี เจอ 2 บิ๊กประกบแบบนี้ก็เป็นแค่ไม้ประดับ คนในเล่าว่า TPBS อยากให้เธอเข้ามาช่วยงานละคร ที่ไหนได้ เธอกลับอยากคุมข่าว เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับนคร ชมพูชาติ ทนายความก๊วน สุวัตร อภัยภักดิ์, นิติธร ล้ำเหลือ (เคยเป็นทนายให้กบฏไอทีวี) เป็น 2 ตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการของพี่น้องเอ๊ยฮาร์ดคอร์ในคณะกรรมการบริหาร

คนดีเขาเตะตัดขากัน

ถามว่าทำไมสมชัยต่อครึ่งควบลูก ก็ต้องย้อนไปดูว่า กรรมการนโยบายของ TPBS มี 9 คน ตามกฎหมายเมื่อครบ 2 ปีต้องจับสลากออก 2 คน โดยกรรมการชุดแรกตั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2551 ได้แก่ อ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ประธาน, อ.จอน อึ๊งภากรณ์, สมชัย สุวรรณบรรณ, เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์, หมอพลเดช ปิ่นประทีป, จินตนา พันธุฟัก, มัทนา หอมละออ , รศ.อรศรี งามวิทยาพงศ์ และกมล กมลตระกูล

เมื่อครบ 2 ปีวันที่ 2 สิงหาคม 2553 สี่คนแรกถูกหวยต้องออกไป แต่สมชัยได้รับเลือกเข้ามาใหม่ พร้อมกับ ผศ.จุมพล พูลภัทรชีวิน, รศ. มาลี บุญศิริพันธ์ และศิริชัย สาครรัตนกุล คราวนี้ หมอพลเดชเป็นประธาน ฉะนั้นเมื่อถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ห้าคนที่เหลืออยู่จากชุดแรกก็ต้องครบวาระ และต้องสรรหาใหม่

ซึ่งตอนนี้ก็มีประกาศรับสมัครกรรมการนโยบายแล้ว คณะกรรมการสรรหาจาก 15 องค์กรที่กฎหมายกำหนด เลือก สัก กอแสงเรือง เป็นประธาน อ.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. เป็นเลขานุการ เปิดรับสมัครกรรมการนโยบาย ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ถึง 8 กรกฎาคม ปิดรับสมัครไปแล้วยังไม่รู้ผลว่ามีใครสมัครมั่ง

แต่มีตลกร้ายจะเล่าให้ฟัง คือมีคนไปสมัครวันที่ 7 กรกฎาคม ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับสมัคร เพราะเป็นวันเสาร์ วันที่ 8 เป็นวันอาทิตย์ พอพลิกไปดูประกาศก็บอกว่าให้สมัครได้ "ทุกวัน (เว้นวันหยุดราชการ)" เออ แล้วจะเปิดรับสมัครถึงวันที่ 8 ทำไมให้ป่วยการ

คุณสักแกชอบนับวันผิดอย่างนี้ มิน่าเล่า ถึงโดน กกต.แจกใบแดง คริคริ

คณะกรรมการสรรหาจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาในวันที่ 24 กรกฎาคม ซึ่งผู้ผ่านการพิจารณาจะต้องไปแสดงตนและวิสัยทัศน์ด้วยวาจาต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหา ในวันที่ 27 กรกฎาคม

สังเกตอะไรไหมครับ คณะกรรมการนโยบายชุดใหม่จะเข้ามาวันที่ 2 สิงหาคม ขณะที่เฮียสิ่วจะครบวาระวันที่ 9 ตุลาคม เหลือเวลาอีกตั้ง 2 เดือน 7 วัน ทำไมคณะกรรมการนโยบายชุดเดิมจึงต้องรีบสรรหาผู้อำนวยการ ก่อนที่ตัวเองจะพ้นจากตำแหน่ง

มิหนำซ้ำ สมชัย สุวรรณบรรณ ยังลาออกจากคณะกรรมการนโยบายมาลงสมัครเอง ถามว่ากรรมการนโยบายที่เหลือ 8 คนจะเลือกใคร ระหว่างคนกันเองอย่างสมชัยกับเฮียสิ่ว ซึ่งแหล่งข่าวระดับแม่บ้านคนขับรถยังรู้ว่า กินเกาเหลากับกรรมการนโยบายอยู่เนืองๆ

นี่ถึงแม้แหล่งข่าวระดับสูงหน่อย 170 ซม.จะยืนยันว่า สมชัยนิสัยฝรั่ง BBC ไม่ได้ล็อบบี้ใครเลย ก็ยังต่อครึ่งควบลูกไม่มีคนกล้ารอง

ศึกครั้งนี้สนุกแน่ เพราะพนักงานระดับสูง ยกเว้นฝ่าย Admin ส่วนใหญ่เฮียสิ่วเอาเข้ามา ก็ถือหางเฮียสิ่ว แต่พวกพนักงานระดับล่าง ว่ากันว่าถ้าให้พนักงานโหวตเลือก ผอ.ได้ สมชัยเป็นต่อถึง 10-1 (แทง 10 จ่าย 1 ไม่รวมทุน) เพราะพนักงานระดับล่างอึดอัดเต็มแก่ อยากให้ใครก็ได้เข้ามา "ล้างบาง" พวก นขต.(หน่วยขึ้นตรง)

แต่แม้สมชัยจะเป็นต่อทุกด้าน ก็ใช่ว่าจะคล่องคอ เพราะอาการรุกลี้รุกลนไม่ยอมรอกรรมการชุดใหม่ของกรรมการนโยบายดังกล่าว ทำให้เฮียสิ่วลั่นวาจาไว้แล้วว่า แพ้เมื่อไหร่กรูฟ้องแน่

มีอย่างที่ไหน กรรมการนโยบายจะพ้นวาระ 2 สิงหาคม ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการสรรหา 24 กรกฎาคม แต่ปิดรับสมัคร ผอ.วันที่ 4 กรกฎาคม จะประกาศชื่อ ผอ.คนใหม่ภายในวันไหนก็ไม่บอก งุบงิบงุบงิบ ตำแหน่งนี้เฮียสิ่วแกหวงของแกนะเออ เพราะเป็นเก้าอี้เทวดาประทาน พรบ.ที่ร่างโดยอาจารย์สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ณ TDRI ไม่ยักกำหนดคุณสมบัติ ผอ.ว่าต้องจบปริญญาตรี ทั้งที่ปกติ ผอ.องค์กรระดับนี้ต้องจบปริญญาตรี คนในวงการสื่อที่พอจะทำหน้าที่นี้ได้ ก็มีแต่เฮียสิ่วนี่แหละที่ไม่จบปริญญาตรี

อย่างว่า ความรู้ความสามารถไม่ได้วัดกันด้วยปริญญา ใบตองแห้งก็ไม่จบปริญญา สมัคร ผอ.TPBS ได้เหมือนกัน 555

จิ้งจกข้างตึก TPBS ทักว่า หลังจากพระเทพฯ เสด็จฯ เปิดตึกในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้แล้ว หมดพิธีมงคล ก็จะเป็นวันดีเดย์ ลุยกันตึกระเบิดแน่ โดยพนักงานระดับล่างที่อึดอัด ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการแบ่งก๊กแบ่งเหล่ามา 4-5 ปี กำลังรอโอกาส รอสุญญากาศอำนาจ เพื่อเสนอปัญหาต่อสังคมเช่นกัน

ไม่มีที่ว่างให้คนนอก

ที่บอกว่าสงครามคนดี เพราะเรื่องนี้ไม่มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องเลยนะครับ แล้วก็ไม่มีสีแดงเข้าไปปะปน เพราะเป็นที่รู้กัน เฮียสิ่วมาจากค่ายเนชั่น สมชัย สุวรรณบรรณ ก็เป็นเจ้าของวาทกรรมประณามสื่อใหม่เป็น "สื่อชนเผ่า"

ใน TPBS ไม่มีสีแดง ถ้ามีก็แตงโม หลบๆ ซ่อนๆ เพราะถึงแม้เฮียสิ่วโพสต์เฟซบุคกลางๆ แต่ "คนพิเศษ" ที่บ้าน ว่ากันว่าโพสต์เฟซบุคยังกะวรกร จาติกวณิช (เฮียสิ่วเคยเขียนถึง "บุคคลพิเศษ" ในคำนำหนังสือบทสุดท้ายทีวีเสรีปี 2543 ไปหาอ่านกันเอง โคตรซึ้งเลย)

ในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 นักข่าวสาวรายหนึ่ง รายงานสถานการณ์ตามความจริงสี่แยกคอกวัว หยิบลูกกระสุนขึ้นมาชูหน้ากล้อง บอกว่าเป็นกระสุนที่ยิงมาจากทหาร โดนฝ่ายบริหารด่ายับ เบรคต่อมา ถูกบังคับให้รายงานข่าวตามที่โต๊ะข่าวเขียนให้ วันรุ่งขึ้นเธอลาออกเลย

พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ฉบับสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ล็อกสเปกกรรมการสรรหากรรมการนโยบายไว้แล้ว ว่าต้องมาจากองค์กรสื่อ และองค์กร ส.ในเครือข่ายหมอประเวศ แบบเดียวกับ สสส.นั่นเอง

กรรมการสรรหามาจาก 15 องค์กร ได้แก่

  1. ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  2. นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
  3. นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
  4. ประธานสภาสถาบันนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย 
  5. ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน 
  6. ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
  7. ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระบรมราชูปถัมภ์
  8. ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย 
  9. นายกสภาทนายความ
  10. ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  11. ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  12. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
  13. ปลัดกระทรวงการคลัง 
  14. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  15. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

มีตัวแทนราชการที่ฝ่ายการเมืองอาจสั่งได้คือ 4 ปลัดกระทรวง นอกนั้นมาจาก "ภาคประชาสังคม" ทั้งหมด

โอเค ภาพลักษณ์เหมือนดูดี แต่คำถามคือ 11 องค์กรที่ว่านี้เป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศจริงหรือเปล่า แม้แต่จะบอกว่าเป็นตัวแทนสื่อและ NGO ก็เหอะ เป็นตัวแทนจริงหรือเปล่า

ทำไมต้องเด็ก เยาวชน คนพิการ ถามว่าผู้ใหญ่ไม่พิการไม่ได้เป็นเจ้าของ TPBS หรือ พูดอย่างนี้อาจจะสุดขั้วไปหน่อย แต่ถ้าคุณเริ่มต้นจากเป็นทีวีของคนชายขอบ ก็แปลว่าคุณไม่สนใจเข้าถึงผู้ชมกระแสหลักเลยหรือไร

ทำไมต้องนายกสภาทนายความ ทำไมไม่ใช่แพทยสภา หรือวิศวกรรมสถาน หรือองค์กรวิชาชีพครู ฯลฯ วิชาชีพทนายความเป็นเจ้าของสื่อสาธารณะมากกว่าวิชาชีพอื่นหรือ

ถ้าพูดเฉพาะองค์กรวิชาชีพสื่อ เอาละ ดูเหมือนเราจะมีประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กับนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จริงๆ แล้วมาจากผู้บริหารหนังสือพิมพ์นะครับ ไม่ได้มาจากนักหนังสือพิมพ์ทั้งหมด สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พูดให้ถึงที่สุดก็ยังเป็นแค่ "สมาคม" ของนักข่าวส่วนหนึ่ง นักข่าววิทยุโทรทัศน์ไม่ได้เป็นสมาชิกทุกคน คล้ายๆ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ คือมีนักข่าวก๊วนเดียวทำกิจกรรมอยู่ ผลัดกันเป็นนายกสมาคม ผลัดกันเป็น ผอ.สถาบันอิศรา

ทั้งสององค์กรไม่ได้เป็นผู้แทนวิชาชีพสื่ออย่างเป็นทางการ ไม่ได้มีกฎหมายรองรับ แต่กลับมีอำนาจมาสรรหากรรมการนโยบาย ดูแลงบประมาณทีวีสาธารณะปีละ 2,000 กว่าล้าน

ผมเชื่อว่าต่อไป เก้าอี้ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ เก้าอี้นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ จะหอมหวานมีความหมายขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อมีอำนาจซะขนาดนี้ (แต่ต้องเป็นให้ถูกปีนะครับ เขาสรรหากันปีเว้นปี)

นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  นี่ยิ่งไปกันใหญ่ ปัจจุบันก็คือจำนรรค์ ศิริตัน จาก JSL ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนวิชาชีพละครหลังข่าวและรายการลุ้นโชคชิงแชมป์ สมาพันธ์นี้มีงานประจำคือแจกรางวัล "นาฏราช" ที่คงจำกันได้ว่าพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ขึ้นเวทีเมื่อ 2 ปีก่อน

ในอีกแง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่านี่เป็นตัวแทนผู้ผลิตรายการเชิงพาณิชย์เพื่อผู้ชมกระแสหลัก แต่มันก็ตลกพิกลที่เศรษฐีเศรษฐินีทีวีมานั่งอยู่กลางวง NGO (น่าจะส่งปัญญา นิรันดร์กุล มาเป็นตัวแทน Got Talent กรรมการนโยบาย)

ตัวแทนองค์กรเกี่ยวกับสื่อรายสุดท้าย ที่ทำให้งงที่สุด คือประธานสภาสถาบันนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ลอง search อาจารย์กูดูสิครับ ผม search ดูพบว่าสภาสถาบันฯ เคยมีเว็บไซต์ชื่อ www.cmct.or.th แต่เว็บเจ๊งไปแล้ว ปัจจุบันใครเป็นประธานก็ไม่รู้ รู้แต่ว่า อ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี เคยเป็นประธาน ค้นข่าวดูว่าทำกิจกรรมอะไรบ้าง ก็มีแต่ร่วมกับทรูวิชั่นจัด AF เอ๊ยไม่ใช่ คัดเลือกนักศึกษาไปฝึกงานกับ BBC

ผู้รู้ให้ข้อมูลว่า องค์กรนี้ตั้งขึ้นหลังพฤษภา 35 ในกระแสปฏิรูปสื่อ เป็นเสมือนที่ประชุมคณบดีด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ 80 สถาบัน ช่วงหนึ่งเคยมีบทบาทในการสรรหา กสช. ปัจจุบันกลายเป็นองค์กรตายซาก แต่ยังมีอำนาจสรรหากรรมการนโยบาย TPBS อยู่

นี่เป็นตัวอย่างของการกำหนดองค์กรที่ไม่มีกฎหมายรองรับไว้ในตัวบทกฎหมาย โอเค องค์กรนั้นๆ อาจเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่อมาก็เสื่อมสภาพไป แบบเดียวกับสมาคมนักข่าวฯ สภาการหนังสือพิมพ์ เมื่อก่อนสื่อกระแสหลักคือผู้ชี้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่รัฐประหาร 19 กันยา เจ๊หยัด-บัญญัติ ทัศนียเวช, ภัทระ คำพิทักษ์, สมชาย แสวงการ ใช้องค์กรสื่อเป็นบันได เข้าไปเป็น สนช.หน้าตาเฉย

องค์กรเหล่านี้กำลังเสื่อมถอยในกระแสสื่อใหม่ สภาการหนังสือพิมพ์ ก็พูดไม่ได้ว่าเป็นตัวแทนหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เพราะค่ายมติชนถอนตัวแล้ว เผลอๆ อีก 4-5 ปี กป.อพช.ก็อาจไม่ถือเป็นตัวแทน NGO ทั้งประเทศก็ได้

ช่องทางพิเศษคนดี

ด้วยองค์ประกอบกรรมการสรรหาข้างต้น เราจึงได้กรรมการนโยบายแบบพี่หมอพลเดช ที่เห็น TPBS 

เป็นกระบอกเสียงลัทธิประเวศ ได้กรรมการนโยบายอย่างมัทนา หอมลออ ...อย่าสงสัยทำไมนามสกุลคุ้นๆ อ้าว ก็เมียพี่สมชาย หอมลออ ของเรานี่เอง แต่เธอมีผลงานทำโครงการตาวิเศษ

กรรมการทั้ง 2 ชุดไม่มี "สื่อแท้" เลยซักคน สมชัยอาจเคยทำ BBC แต่เทียบกับสื่อไทยแล้วเหมือนมาจากนอกโลก คนอื่นๆ นอกจาก NGO ก็มีแต่นักวิชาการนิเทศศาสตร์กางตำรา เข้ามาใช้ TPBS กระจายคลื่นความดีที่ไม่มีคนดู แบบทำหนังชีวิตพี่หงวน สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ "บิดา 30 บาท" หมอหงวนแกคนดีจริงๆ นั่นแหละ แต่การทำหนังให้คนอยากดูมันต้องมีอะไรมากกว่าท่องคาถาหมอประเวศ

บางครั้งก็เห็นด้วยนะครับ เช่นตอน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ตาย TPBS สดุดีอยู่ 3 วัน (นี่ถ้าหมอประเวศตาย คงสดุดี 7 วัน) ผมเห็นด้วยว่าต้องทดแทนสื่อทั่วไปที่ไม่ให้ความสำคัญกับคนดี แต่รูปแบบการนำเสนอควรดึงดูดใจหน่อย

พอคิดกันได้แค่นี้ ก็เลยมีแต่รายการของณาตยา แวววีรคุปต์ (แซวกันว่า ณาตยาเป็น "บิ๊ก" ใน TPBS ใครๆ ก็เกรงใจ เพราะเธอทำรายการให้ผู้มีบารมีเหนือ TPBS ดู ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านดูนะเออ)

นิสัยคนดีอีกอย่างคือ ไม่ไว้วางใจใคร นอกจากคนดีที่ติดสอยห้อยตามกันมา TPBS เดิมก็คือไอทีวี-ของทักษิณ ฉะนั้นเราสามารถแบ่งก๊กใน TPBS ได้ง่ายๆ ว่าพวกไอทีวีเดิมคือ "สมุนคนชั่ว" ไม่ใคร่จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เพียงแต่ที่มีงานทำก็เพราะต้องพึ่งพาทางเทคนิค ส่วนพวกที่เข้ามาใหม่คือสมุน เอ๊ย พวกพ้องคนดี นอกจากนี้ก็ยังมีพวกไม่รู้ I โหน่ I เหน่ส่วนหนึ่ง ที่สมัครเข้ามาตามระบบ ไม่ได้มาตาม "ช่องทางพิเศษสำหรับคนดี"

ที่จริงก็ไม่แปลกหรอกครับ ยกตัวอย่างสาย Admin ฝ่ายการคลัง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นผมก็ต้องเลือกคนซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ และคนดีคนซื่อส่วนใหญ่ก็อยู่ในเครือข่ายลัทธิประเวศ คริคริ รู้จักพี่หมอพลเดชมาตั้งนาน ไม่ยักแนะนำให้รู้จักน้องสาว เพิ่งรู้ว่ามีน้องสาว เสียดายแต่งงานแล้วเลยเปลี่ยนนามสกุล คือพรพิมล เสนผดุง เป็น ผอ.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ TPBS มาแต่ต้น (ย้ำ เป็นมาก่อนพี่หมอพลเดชเป็นประธานนะครับ)

พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีร่วมยี่สิบ ส่วนใหญ่ก็มาจากพยาบาล ในเครือ 4 ส.5 ส.ของหมอประเวศนั่นแหละ คนดีทั้งนั้น แต่พนักงานฝ่ายอื่นตาร้อน ลักลอบนินทาว่าจ้างพยาบาลมาจับตั๊กแตน เพราะคุณพยาบาลต้องเงินเดือนสูงลิ่วกว่าพนักงานธุรการทั่วไปอยู่แล้ว

หันมาดูฝ่ายข่าว เราก็ว่าไม่ได้อีกนั่นแหละ เพราะเฮียสิ่วแกต้องมีมือมี teen ก็ต้องดึงเอา 

ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ จากค่ายเนชั่นที่เคยทำไอทีวีด้วยกัน มาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักข่าว 

แล้วก็ดึงโสภิต หวังวิวัฒนา มาเป็นผู้จัดการฝ่ายอำนวยการ สำนักบริหาร ทีวีไทย เป็นต้น 

(เป็นต้นแปลว่ามีอีกเพียบ คริคริ)

ก่อเขตอุตสาหะทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักข่าวอยู่เกือบ 3 ปีนะครับ เพราะหา ผอ.สำนักข่าวตัวจริงไม่ได้ซักที ตามระเบียบ TPBS ต้องมีการสอบ และต้องมีผู้เข้าสอบอย่างน้อย 3 คน ห้ามสอบวิธีพิเศษ ก่อเขตก็เลยไม่ได้เป็น ผอ.สำนักข่าวซักที เพราะไม่มีใครยอมเข้าสอบแข่งกับก่อเขต (อ้าว) จนเมื่อไม่กี่วันนี้เอง จึงมีคำสั่งตั้งก่อเขตเป็น ผอ.สำนักข่าว ท่ามกลางความฉงนฉงาย แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดยืนยันว่าก่อเขตสอบผ่านแล้ว แต่คนนอกพากันสงสัยว่าเขาจัดสอบกันเมื่อไหร่ (วะ) เพราะประกาศในเว็บไซต์ TPBS ลงวันที่ 10 พ.ค.2555 แจ้งผลการคัดเลือกตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าว ยังบอกว่าผลการสอบคัดเลือกวันที่ 6 ม.ค.2555 สอบสัมภาษณ์วันที่ 20 เม.ย.2555 นั้น ไม่มีผู้ได้รับการคัดเลือก

ถ้าจริงก็ถือเป็นผลกรรมดีที่ก่อเขตทำไว้ สอบได้เป็น ผอ.ก่อนนายหมดวาระไม่กี่วัน ขอแสดงความยินดีด้วย ฮิฮิ

โสภิตสิ ตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอำนวยการ สำนักบริหาร จะต้องพ้นตำแหน่งไปพร้อมกับเทพชัย แต่ล่าสุดก็มีข่าวว่าโสภิตจะไปเป็นผู้ชำนาญการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารสังคม ทีแรกมีข่าวว่า ผอ.ฝ่ายสื่อสารสังคมจะ (สมัครใจ) ลาออกก่อนเกษียณ ให้โสภิตเสียบ แต่ไปๆ มาๆ ผอ.กลับไม่ยอมสมัครใจออกเสียนี่

ข่าวนี้ยังไม่ค่อยชัวร์ พรรคพวกก็ยังเป็นห่วงโสภิตกันอยู่ ฝากถามเฮียสิ่วว่า หาที่ลงให้โสภิตได้หรือยัง ถ้าได้แล้วจะได้โล่งอก

อยู่องค์กรใหญ่ก็ต้องทำใจละครับ พวกนินทาว่าร้ายมีเยอะ คลื่นใต้น้ำเพียบ ผมมองโลกแง่ดีว่า TPBS เป็นองค์กรก่อตั้งใหม่ ระเบียบการต่างๆ ยังไม่แน่นอน การคัดเลือกคน การสอบ ประเมินผล หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ยังไม่ชัดเจน อัตราเงินเดือนก็ถ่างกว้างมาก เฮียสิ่ว ผอ.เงินเดือน 2.5 แสน รอง ผอ.หรือ ผอ.สำนัก น่าจะเงินเดือนแสนปลายๆ ถึงสองแสน ที่เหลือก็เป็นพนักงานตั้งแต่หมื่นกว่าไปถึงแสนกว่า เลยมีปัญหาอัตราเงินเดือนที่ลักลั่น แล้วแต่ใครเข้ามาจังหวะไหน ช่องทางไหน พนักงานส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ นขต.ก็อึดอัด ไม่พอใจกับสภาพที่ดำรงอยู่ เป่าหูกันไปเป่าหูกันมา

TPBS ไม่มีความชัดเจนในการประเมินและสอบคัดเลือก หลายคนที่ถูกเคียะออกไปจึงไม่พอใจ ไปตั้งป้อมด่าอยู่ข้างนอก เช่น เถกิง สมทรัพย์ ซึ่งเคยเป็น รอง ผอ.มีบทบาทสำคัญทั้งตอนร่าง พรบ.และตอนก่อตั้ง หวังจะเข้ามาจัดรายการเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ไหนได้ กลับถูกประเมินไม่ผ่าน ทุกวันนี้เฟซบุคเถถิงยังด่า TPBS รายสัปดาห์ สลับกับด่าเสื้อแดงรายวัน (ดีเท่าไหร่แล้วที่ไม่ด่าออกบลูสกาย) ล่าสุดก็สนทนากับอัญชลี ไพรีรัก วิพากษ์ "นักค้าความจนใต้หน้ากากเอ็นจีโอ"

"..ไม่อยากสนับสนุนอาจารย์หรือใครก็ตามที่มีความสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเองสูงไปสมัครที่นั่น..ถ้าอำนาจในการสรรหายังคงถูกกำหนดโดยผู้มีบารมีนอกไทยพีบีเอส..แต่ถ้าอำนาจนั้นไม่มีแล้วและต้องการคนเก่งเข้าไปทำงานให้เข้าเป้าทีวีสาธารณะถึงอยากสนับสนุนเข้าไปทำงาน ไม่งั้นเสียเวลาเพราะเขาจะไม่เอา"

"มีเพื่อนพ้องน้องพี่หลายคนมาขอให้แนะนำว่าถ้าจะเสนอรายการไปทีวีไทยทำอย่างไรจะได้รายการ..ตอบโจทย์นี้ไม่ได้เลย เพราะเขามีกรรมการคัดเลือก..แต่น่าจะลองส่งเข้าประกวดเพราะไม่น่าจะยาก..บางรายการได้เพราะพิธีกรๆบางคนมีรายการที่นี่ตั้งแต่ตั้งสถานี เปลี่ยนรายการไปเรื่อยเพราะคอนเนคชั่นดี..บางบริษัทอาศัยมีพิธีกรมารับจ้อบก็ได้โอกาสเสนอรายการและได้โชว์ฝีมือ..บางรายมาด้วยใจและความสร้างสรรค์ล้วนๆก็ได้โอกาส..บางรายการดีไม่ดีไม่ใช่ปัญหาแค่โดนใจก็ได้ทำ..และมีรายการจำนวนมากต่างพิธีกรต่างบริษัทแต่มาจากเครือข่ายของคนเดียวกัน.."

นี่เป็นแซมเปิ้ล ก๊อปมาจากเฟซบุคเถกิง ใครสนใจไปหาอ่านดู เหลืองกับเหลืองเขาฟัดกันมันส์หยด

TPBS ตั้งกรรมการบริหารชุดแรก ได้อาจารย์เจ๋งๆ เช่น อ.นวลน้อย ตรีรัตน์, อ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีสื่อสารฯ มช.และ อ.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ร่วมกลุ่มนิติราษฎร์ (ถ้าเข้ากลุ่มนิติราษฎร์ตั้งแต่ต้นคงไม่ได้เป็น) แต่ต่อมา อ.สดศรีเธอไปกินเกาเหลากับเจ้าแม่รายหนึ่งในกรรมการนโยบาย ก็มีการออกระเบียบใหม่ว่ากรรมการบริหารต้องทำงานเต็มเวลา อาจารย์ 3 ท่านนี้ต้องลาออก

ประหลาดไหมละครับ เพราะตามกฎหมายบอกว่า กรรมการบริหารต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือทำงานประจำ ยกเว้นอาจารย์มหาวิทยาลัย เขาอุตส่าห์เปิดช่องไว้แล้วเพื่อดึงคนมีความรู้ความสามารถมาเป็นกรรมการบริหาร ท่านกลับไปออกระเบียบจำกัด ก็เลยได้แค่นี้แหละ

"ตอบโจทย์" สาธารณะ

คำถามที่สาธารณชนจะต้องถามสื่อสาธารณะ TPBS คือ ทำไมกรรมการนโยบายจะต้องเร่งรีบคัดเลือก ผอ.ใหม่ และทำไมจึงมีคนสมัครแค่คนใน 4 คน ภาพลักษณ์ TPBS มันเป็นอย่างไรไปแล้วหรือ

กรรมการนโยบายควรยกเลิกการรับสมัคร ผอ. รอให้กรรมการนโยบายชุดใหม่เปิดรับสมัครใหม่ อย่างเปิดกว้าง โปร่งใส และให้สาธารณชนมีส่วนร่วม อ้าว ก็สื่อสาธารณะนี่ครับ ไม่ใช่ของกรรมการนโยบาย 9 คน กรรมการสรรหา 15 องค์กร

ถ้าจะให้ดี ก็ TPBS Got Talent จัดให้ผู้สมัครทุกคนมาแสดงวิสัยทัศน์ประชันกัน ทางรายการของ TPBS เอง (แต่ไม่เอาเวทีสาธารณะ คนเยอะไป จับประเด็นไม่ถูก) สมมติเช่น "ตอบโจทย์" ให้คนดูช่วยกันโหวต ให้คนดูกด like ให้คนดูช่วยกันส่งคำถาม ถึงแม้คนตัดสินยังเป็นกรรมการ แต่ถ้าค้านสายตาชาวบ้าน ก็มีหวังถูกโห่

อันที่จริง ควรจะทำตั้งแต่การสรรหากรรมการนโยบายเลยครับ ถ่ายทอดสด  แสดงวิสัยทัศน์กรรมการสรรหาไปด้วยในตัว (บลูสกายยินดีถ่ายทอดให้ฟรีๆ ฮิฮิ)

ทีวีสาธารณะ จะไปทำกระมิดกระเมี้ยนอยู่ทำไม จัดเรียลลิตี้โชว์เลยก็ได้ ให้ชาวบ้านส่ง SMS แพ้คัดออกสัปดาห์ละราย

เผลอๆ จะกลายเป็นรายการฮิตที่สุดนับแต่ก่อตั้ง TPBS มา

แล้วถ้าจะให้ดีนะครับ TPBS ก็ควรจะถือโอกาสนี้ สรุปปัญหา ทิศทาง แนวทาง นโยบาย การบริหาร ฯลฯ โดยให้พนักงานระดับล่างมีส่วนร่วม ให้โอกาสพวกเขาเสนอปัญหาระบายความอึดอัดใจอย่างเต็มที่ พูดถูกบ้าง พูดผิดบ้าง ก็ต้องฟัง เพราะที่ผ่านมามีแต่ปิดกั้น พนักงาน TPBS ไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะมีระเบียบบังคับไว้ ก่อตั้งได้แต่สมาพันธ์พนักงาน TPBS ซึ่งพูดอะไรมากก็ไม่ได้อีก เพราะมีระเบียบกำหนดว่า ห้ามพนักงานเคลื่อนไหวให้ร้ายองค์กร

ปิดปากกันซะอย่างนี้ จะเป็นทีวีสาธารณะในระบอบประชาธิปไตยได้ไงละครับ

        ใบตองแห้ง
        13 ก.ค.55

ปล.ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้สำนักข่าวอิศรานำไปเผยแพร่
..........................................................................

http://www.mediainsideout.net/pbs/2012/07/17


วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มรับน้องสร้างสรรค์ มช. เรียกร้องให้ผู้บริหารทุกคณะจัดรับน้องไม่ละเมิดสิทธิ

 

กลุ่มรับน้องสร้างสรรค์ มช. เรียกร้องให้ผู้บริหารทุกคณะจัดรับน้องไม่ละเมิดสิทธิ

พร้อมจี้ให้ตรวจสอบมีการรับน้องโดยใช้ความรุนแรงหรือไม่ และเปิดเผยว่ามีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้องเรียนเรื่องรับน้องโหด

จดหมายของกลุ่มรณรงค์รับน้องสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถึงคณบดีทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้จัดรับน้องโดยไม่ละเมิดสิทธิ

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 55 กลุ่มรณรงค์รับน้องสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ยื่นจดหมายถึงคณบดีทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้แต่ละคณะดำเนินการเรื่องการรับน้องให้เป็นไปโดยไม่มีการละเมิดสิทธิ และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบมีการรับน้องโดยใช้ความรุนแรงหรือไม่

ในจดหมายยังขอให้ทางคณะได้ดำเนินมาตรการที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา การรับน้องไม่ควรมีการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการรับน้องที่เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน 

ส่วนหนึ่งของจดหมายร้องเรียนของนักศึกษาปีที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทั้งนี้ กลุ่มรณรงค์รับน้องสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยด้วยว่า มีการร้องเรียนว่าการรับน้องในบางคณะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการบังคับข่มขู่ กดดัน โดยกลุ่มรณรงค์ระบุว่าการกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความเครียดทางจิตใจ มีความหวาดระแวงและความกลัว อีกทั้งการรับน้องที่รุนแรงทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อคณะและมหาวิทยาลัย

http://prachatai.com/journal/2012/07/41397