วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

“การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด: Universal Periodic Review และสิ่งที่ “คุณ” จะทำได้”

 เวทีเสวนาสาธารณะ


"การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด:

Universal Periodic Review และสิ่งที่ "คุณ" จะทำได้"

 

ผู้จัดงาน : ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิศักยภาพชุมชน
 
ตารางการเสวนาโดยคร่าว:
13.00 กล่าวเปิดการเสวนาและอธิบายที่มาของการเสวนา

13.10 การเสวนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
• สิทธิการแสดงออก โดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล , เครือข่ายพลเมืองเน็ต (ยืนยัน)
• สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดย อารีด้า สาเมาะ สำนักข่าวอามาน (ยืนยัน)
• การทรมาน การบังคับสูญหาย และการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม โดย ตัวแทนจากมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
• สิทธิในการชุมนุมและสมาคม โดย ตัวแทนจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (PIC)
• สิทธิแรงงาน โดย จิตรา คชเดช, Try Arm (ยืนยัน)
• สิทธิผู้ลี้ภัย กลุ่มชนพื้นเมือง และผู้ไร้รัฐ โดย อดิศร เกิดมงคล, ผู้จัดการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สสส. (ยืนยัน)
• สิทธิเด็ก โดย ตัวแทนจากมูลนิธิ Save the Children
• สิทธิความหลากหลายทางเพศ โดย อัญชนา สุวรรณานนท์, โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ (ยืนยัน)

15.10 วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายงาน UPR ระหว่างรายงานรัฐบาล, UN, และภาคประชาสังคม และวิธีติดตามความคืบหน้าของกระบวนการ UPR ด้วยตนเอง โดย เจ้าหน้าที่โครงการ มูลนิธิศักยภาพชุมชน

15.25 สิ่งที่ "คุณ" จะริเริ่มเองได้ เพื่อสนับสนุนหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดย ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

15.40 เปิดตัวโครงการสังเกตการณ์การทบทวนกรณีสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไก Universal Periodic Review ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดย นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15.50 คำถามจากผู้ประชุม

ดำเนินรายการโดย ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์, ผู้สื่อข่าว Voice TV


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณอกนิษฐ์ 083-710-3555 หรือคุณศิรดา 089-696-628
 
 
ที่มาและเหตุผล
Universal Periodic Review (UPR) เป็นกลไกตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) กระบวนการนี้กำหนดให้ประเทศสมาชิกทั้ง 192 ประเทศของสหประชาชาติต้องเข้ารับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศตนเองในทุกๆ สี่ปี ซึ่งประเทศไทยจะเข้ารับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ที่กำลังจะถึง
ในกระบวนการทบทวนฯ ประเทศที่เข้าสู่กระบวนการต้องจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิฯภายในประเทศของตน เพื่อรายงานต่อประเทศสมาชิกอื่นๆให้รับทราบ นอกจากรายงานระดับชาติ (national report) ที่มีรัฐบาลเป็นผู้จัดทำ และรายงานของสหประชาชาติที่จัดทำโดยการรวบรวมข้อมูลของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) แล้ว ทางสหประชาชาติยังเปิดรับรายงานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือจากภาคประชาสังคม (stakeholder report) ซึ่งรายงานจากทั้งสามภาคส่วนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ซึ่งจะจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป
มูลนิธิศักยภาพชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญที่บุคลากรจากภาคประชาสังคม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปจะรับทราบถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศที่เกิดขึ้นรอบตัว ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในกระบวนการ UPR และรับทราบถึงตัวตนของกลไกดังกล่าว เพื่อที่จะเป็นพลังผลักดันอันสำคัญยิ่งต่อการบรรลุถึงความสามารถที่จะได้รับการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยิ่งไปกว่านั้น ภาคประชาชนและพลเมืองเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะร่วมตรวจสอบการทำงานของกลไกสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะรัฐบาลไทยและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้บรรลุถึงการทำงานตามหน้าที่ เพื่อให้กลไกการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอื่นๆบรรลุถึงเป้าหมายการทำงานของตนได้ดังสมควร ซึ่งการจัดเสวนาจะเป็นอีกโสตหนึ่งในการเผยแพร่และสร้างความตระหนักต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและความสำคัญของกระบวน UPR ให้ออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้นอกเหนือจากเวทีเสวนาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ทางมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้เวทีเสวนาลักษณะเดียวกันอีก 7 เวทีทั่วประเทศ

หลักการ
เพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักในสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เป็นที่รับทราบ พร้อมทั้งเผยแพร่และแสดงบทบาทของกระบวนการ UPR ในการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวกระบวนการและการมีส่วนร่วมจากประชาชน ท้ายที่สุดเพื่อเผยแพร่ชุดเครื่องมือและวิธีการริเริ่มโดยง่ายแก่บุคคลทั่วไปหรือผู้สนใจที่จะส่งเสริมกระบวนการสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น