วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย จำนวน ๑๑๔ ข้อเสนอ จาก ๑๕๒ องค์กร/เครือข่าย / ร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรูประดับชาติ

 

ร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรูประดับชาติ

ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) โดยคณะอนุกรรมการวิชาการได้เปิดโอกาสให้องค์กร/เครือข่ายต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะ เพื่อกำหนดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งมีองค์กร/เครือข่ายต่างๆ ได้ให้ความสนใจและเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย จำนวน ๑๑๔ ข้อเสนอ จาก ๑๕๒ องค์กร/เครือข่าย

คณะกรรมการดำเนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) ได้ดำเนินการพิจารณาข้อเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อกำหนดเป็นร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕โดยพิจารณาความสำคัญและการมีผลกระทบในวงกว้าง หรือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นประเด็นเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือนำไปสู่การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง มีความพร้อมทั้งด้านวิชาการ มีข้อมูลการวิเคราะห์/สังเคราะห์ด้านวิชาการ มีเจ้าภาพพร้อมขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และพิจารณาร่วมกับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการกำหนดระเบียบวาระ จึงได้มีมติในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ให้กำหนดร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ จำนวน ๗ ระเบียบวาระ ดังนี้

1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ: การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน,การปรับโครงสร้างค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน

2) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : ความมั่นคงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเกษตรกร

3) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางกับชุมชนท้องถิ่น

4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย

5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน

6) การปฏิรูปการศึกษา: ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ

7) การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม : การปฏิรูประบบกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่มุ่งสู่สังคม "นิติธรรม"

ทั้งนี้ คจสป. ได้มอบหมายให้อนุกรรมการวิชาการ ดำเนินการจัดกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างองค์กร/เครือข่ายที่ร่วมเสนอประเด็น และองค์กร/เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในประเด็นนั้นๆ เพื่อจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานวิชาการและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ในการจัดทำร่างข้อเสนอ/มติ ในแต่ละระเบียบวาระ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในสมัชชาปฏิรูประดับชาติต่อไป

**********************************

Attachment Size
เอกสาร | ร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรูประดับชาติ 1.96 MB
http://www.reform.or.th/news/732

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บุกสำรวจ"ฟาร์มตัวเงินตัวทอง" แห่งแรกของประเทศไทย เปิดโฉม"สัตว์เศรษฐกิจ"โกอินเตอร์ส่งนอก

บุกสำรวจ"ฟาร์มตัวเงินตัวทอง" แห่งแรกของประเทศไทย เปิดโฉม"สัตว์เศรษฐกิจ"โกอินเตอร์ส่งนอก

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น.

Share144





อธิการบดี ม.เกษตร "รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์"
 


สมโภชน์ ทับเจริญ นักวิชาการเกษตร8 (ชำนาญการ) ผู้ดูแลโครงการ 



ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนังตัววารานัส
 











โครงการก่อสร้างฟาร์มตัวเหี้ยแห่งแรกของไทย
 


บ้านใหม่ของเหี้ยทั้งหลาย 


ตัวเงินตัวทองหรือ "เหี้ย"!!  เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งคนไทยต่างคุ้นเคยดี แต่ยังไม่รู้จักดีพอ

 

 

ก่อนหน้านี้มีความพยายามเปลี่ยนชื่อ "ตัวเหี้ย" ให้สุภาพขึ้นว่า "วรนุช" มีชื่อสามัญทางวิทยาศาสตร์ว่า "Varanus salvator" อาจเรียกได้ว่า "ตัววารานัส"อย่างที่เราทราบดีว่าตัว "วารานัส" เป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ของคนไทยอย่างมากเนื่องจากเดิมสมัยที่คนไทยยังทำการเกษตรเลี้ยงสัตว์กันเสียส่วนมาก ตัว "วารานัส" นี่จะเข้าไปลอบกินเป็ด ไก่ หรือลูกหมู ของชาวบ้าน สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับเกษตรกรอย่างมาก จึงเป็นที่มาของคำด่าคนที่ทำไม่ดี ทำตัวเลวว่าเป็น "เหี้ย" นั่นเอง และถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งอัปมงคลเรื่อยมา

 

 

แต่วันนี้จากสัตว์ที่ทุกคนรังเกียจ จะกลายเป็นสัตว์มีค่าดุจทอง ดังชื่อ "ตัวเงินตัวทอง" เพราะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เตรียมผลักดันให้กลายเป็น "สัตว์เศรษฐกิจ"ด้วยการสร้าง "ฟาร์มตัวเหี้ย" แห่งแรกของไทย

 

 

เดินทางนั่งรถไปเพียงแค่ 80 กิโลเมตรกว่าๆ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตบางเขน ไปยังวิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เรียกได้ว่าหลับอิ่มหนึ่งตื่นพอดีก็ถึงที่หมาย เห็นพื้นที่สีเขียวครึ้มพร้อมต้นไม้ใหญ่ลานตา แดดที่ว่าเปรี้ยงก็รู้สึกร่มไม่ร้อนอย่างที่คิด มีอธิการบดี ม.เกษตร "รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์" มาคอยท่า พร้อมกับเจ้าบ้านอย่างรองอธิการบดี "รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์" และคณะมารอต้อนรับ

 

 

อธิการ ม.เกษตร เปิดเผยถึงแนวคิดที่จะสร้างฟาร์มตัวเหี้ยแห่งแรกในประเทศไทย ว่า อย่างที่ทราบกันว่าความที่มันมีจำนวนมาก และหลายครั้งก็สร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย อาจจะไปเพ่นพ่านตามบ้านเรือนคนทำให้ชาวบ้านหวาดผวา เพราะเป็นเหมือนกับสัตว์อัปมงคลก็ดี ในส่วนของเกษตรกรก็ไปกัดกินสัตว์ที่เลี้ยงเอาไว้ทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งหากเราทำให้สัตว์พวกนี้อยู่ในที่ๆ ของมันโดยไม่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายได้ก็เป็นเรื่องดี และจะยิ่งดีไปกว่านี้อีกหากมันสามารถสร้างรายได้ หรือทำเงินให้กับประเทศไทย

 

 

"ทาง ม.เกตร จึงคิดที่จะผลักดันให้ตัวเงินตัวทอง หรือตัววารานัส เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยการจัดทำฟาร์มเพื่อศึกษาวิจัยในการนี้โดยเฉพาะ เพราะครั้งหนึ่งนั้นกบสัตว์ครึ่งบครึ่งน้ำธรรมดา ก็ทำให้กลายเป็นสัตว์มีค่าเป็นสัตว์เศรฐกิจได้มาแล้ว ซึ่งก็เชื่อว่าตัววารานัสจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญต่อไปในการช่วยส่งเสริมการค้าให้กับประเทศไทย ดีกว่าให้ไปเผ่นผ่านในสภา" อธิการ มก.ตบท้าย ได้อย่างคันๆ

 

 

ด้าน สมโภชน์ ทับเจริญ นักวิชาการเกษตร8 (ชำนาญการ) ผู้ดูแลโครงการ กล่าวถึงโครงการฟาร์มเหี้ยว่า เราต้องทำความเข้าใจกับตัววารานัสเสียใหม่ ตัววารานัสนั้น ต่างจากตัว "ตะกวด" แม้จะเป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวกันแต่เป็นคนละชนิดกัน "ตะกวด" นั้น นิสัยดุร้ายกว่า ชอบกัดทำร้ายคน ส่วนลักษณะภายนอกนั้นจะมีหางสีแดง ซึ่งต่างจาก "วารานัส" ที่ไม่ชอบกัด แต่เวลาที่ต่อสู้นั้นจะใช้วิธีการปล้ำกัน เมื่อตัวไหนสามารถคร่อมร่างอยู่เหนืออีกตัวได้ก็ถือว่าชนะ ตัวแพ้ก็จะคลานหนีไป ไม่มีการทำร้ายถึงเลือดตกยางออก ที่น่าสนใจคือการจับคู่ของมันส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนคู่ แต่จะอยู่กันไปจนกว่าอีกตัวจะตายจากกันไป ซึ่งน่ารักมาก เพราะฉะนั้นที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ามันเป็นตัวเลว ตัวอัปมงคล จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก

 

 

"ที่สำคัญคือในต่างประเทศพบว่ามีการนำมาเลี้ยงเช่นสัตว์เลี้ยงทั่วไป ใส่สายจูงผูกลากเดิน หรือปล่อยให้เด็กๆ มาลูบมาคลำได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก นอกจากนี้ หนังของมันยังมีมูลค่ามาก เพราะเป็นหนังคุณภาพดี ลายสวย ราคาสูง ซึ่งมีการนำมาทำเป็นกระเป๋า รองเท้า ใบละราคาหลายหมื่นบาท ส่วนพวกเครื่องใน ไม่ว่าจะเป็นดีและตับก็สามารถนำมาเป็นสมุนไพรและเนื้อยังนำมารับประทานได้ เรียกได้ว่าเราสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ได้ครบวงจรเลยทีเดียว"

 

 

นักวิชาการรายเดิม กล่าวต่อว่า  ดังนั้น ทางสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มก. วิทยาเขตกำแพงแสน จึงทำโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากตัววารานัส เพื่อผลเชิงเศรษฐกิจ ระยะเวลาโครงการ 5 ปี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยง รวมทั้งศึกษาและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงตัววารานัสแปรรูป และใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสูงสุด โดยในเบื้องต้นได้ทำการออกแบบและก่อสร้างบ่อเพาะเลี้ยง ในบริเวณสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ ขนาด 1 ไร่เศษ ซึ่งสามารถเลี้ยงได้ 150-200 ตัว โดยทุกตัวจะถูกฝังไมโครชิพเพื่อการแสดงตนเองและติดตามตัวได้ง่าย

 

 

"ทั้งนี้ มก.ได้รับความร่วมมือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นนักวิจัยร่วมในโครงการด้วย ที่สำคัญคือทุกครั้งที่จะมีการจับตัวเหี้ยซึ่งทุกคนแสนรังเกียจนั้นจะต้องขออนุญาตกรมฯ ก่อนทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ตัวเหี้ยนั้นเป็นสัตว์คุ้มครองอยู่ในบัญชีไซเตส ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ เห็นแต่ว่ามันเพ่นพ่านไปทั่ว แต่ในต่างประเทศนั้นถือเป็นสัตว์หายาก ราคาแพงฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้หากเราทำให้มันมีมูลค่าส่งออกไปขายก็จะเป็นผลดีกับประเทศ" อ.สมโภชน์ กล่าว และบอกทิ้งท้ายว่าธันวาคมปีนี้ได้เห็นแน่ "ฟาร์มตัวเหี้ย" แห่งแรกของไทย

 

 

ต้องติดตามกันต่อไปว่า "ตัวเหี้ย" หรือ "วารานัส" จะกลายเป็น "ตัวเงินตัวทอง"อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การแก้เคล็ดอีกต่อไปหรือไม่


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314013157&grpid=01&catid=05&subcatid=0503

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้

 

ชื่อผลิตภัณฑ์ กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้dd_care.jpg

ชื่อนักวิจัย คุณกฤติกา หนูเกลี้ยง

ชื่อผู้ประกอบการ คุณวริฏฐา หนูจันทร์

ชื่อสถานประกอบการ โครงการจัดตั้งธุรกิจ ผลิตภัณฑ์กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย และออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาในโรงพยาบาล เช่นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไมได้และเด็กแรกเกิด ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้สามารถใช้ได้กับคนที่ไม่ใช่ผู้ป่วย แต่มีลักษณะที่ออกแบบให้สามารถเปลี่ยน และซักได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้ สามารถรองรับของเหลวของเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ป่วย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการขับถ่ายได้DSC03028.jpg

ข้อดีของผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดกางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้ตัดเย็บอย่างสวยงาม และใช้เนื้อผ้าที่มีการระบายความอับชื้นได้ดี พร้อมๆกับแผ่นสำลี รองซับเก็บกักของเหลวได้มากถึง 200-300 cc. และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้มาก เมื่อเทียบกับการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั่วไป สามารถสวมใส่แทนกางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้เลย สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งจนหมดอายุการใช้งาน ทำความสะอาดได้ง่าย เหมือนการซักผ้าทั่วไป มีทั้งขนาดของเด็ก และขนาดของผู้ใหญ่

ตารางเปรียบเทียบความประหยัดระหว่างผ้าอ้อมสำเร็จรูป กับกางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป  ผ้าอ้อมแบบซักได้ 
ราคาชิ้นละ 20-25 บาทราคาชิ้นละ 250-260 บาท  
ผู้ป่วย 1 คน ใช้จำนวน 4-10 ชิ้น/วัน ผู้ป่วย 1 คน ควรใช้สลับกัน 2-3 ตัว/วัน
เฉลี่ยค่าใช้จ่าย 4,800 -7,500 บาท /เดือน  รวมค่าใช้จ่าย 500 -780 บาท / การใช้งานตลอดจนกว่าจะชำรุด

การผลิตและจำหน่าย ปัจจุบันมีการผลิต จำหน่ายทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีสำหรับเด็ก 2 ขนาด และผู้ใหญ่ 1 ขนาด ดังนี้ p1.jpg

สำหรับเด็ก       Size S ราคา 265 บาท 
                      Size M ราคา 265 บาท 




p3.jpg

สำหรับผู้ใหญ่   FreeSize ราคา 325 บาท 
     


 

สถานที่ติดต่อ โครงการจัดตั้งธุรกิจ ผลิตภัณฑ์กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้ ห้อง PSU-BIC 007
อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) ชั้น 13 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 
โทรศัพท์ 088-399-6679 อีเมลล์ warittha.n@hotmail.com

สถานที่จำหน่าย
โครงการ PSU-Innomart  

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) ชั้น 13 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โทร.0-7428-9357  โทรสาร.
0-7428-9360
E-mail : 
psu.innomart@gmail.com 

http://www.psu-bic.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=566&Itemid=0

ยางรองส้นเท้า Heel Soother

 
แผ่นยางรองส้นเท้า[608]

ชื่อผลิตภัณฑ์ ยางรองส้นเท้า Heel Sootherheel.jpg

ชื่อผู้ประกอบการ คุณนวิฐ แต่สุวรรณ

ชื่อสถานประกอบการ โครงการจัดตั้งธุรกิจอุปกรณ์รองส้นเท้า Heel Soother

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ 
    ผลิตภัณฑ์ออกแบบมาเพื่อให้สามารถยืดหยุ่นได้ใกล้เคียงกับความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อส้นเท้าที่มีความหนาเหนียวและแน่น แตกต่างจากเนื้อเยื่อบริเวณอื่นของร่างกาย ช่วยให้รู้สึกนุ่มสวมใส่สบาย เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเท้า เกิดความอิสระในการเดินและใช้งาน จะสามารถช่วยลดอาการปวดส้นเท้าในขณะเดิน ยืนและวิ่งเป็นเวลานานๆ สามารถถอดออกและนำไปใช้กับรองเท้าคู่อื่นๆ ได้

ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ 
   ใช้รองส้นเท้าเพื่อลดอาการปวดส้นเท้าในขณะเดิน ยืนและวิ่งเป็นเวลานานๆ สะดวกในการใช้งาน ลดการนำเข้าอุปกรณ์ซึ่งมีราคาแพง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในประชากรกลุ่มต่างๆ อาทิเช่น 
1. ใช้ในกรณีบุคคลทั่วไปที่จำเป็นต้องยืน เดินเป็นเวลานาน ๆ 
2. ใช้เสริมในรองเท้านักกีฬาทั่วๆ ไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรองเท้ากีฬา ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับรองเท้ากีฬาต่างประเทศที่มีราคาแพง 
3. ใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการรักษาผู้ป่วยโรคเอ็นส้นเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis)

ข้อดีของผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด 
   เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากยางธรรมชาติ จึงมีความทนกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในท้องตลาดที่ส่วนมากทำมาจากซิลิโคน มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์เสริมส้นเท้าจากซินิโคนที่มีราคาสูงถึงคู่ละ 600-1,200 บาท และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้จดสิทธิบัตรในรูปของ Double layer "waffle Pattern" ที่รองรับแรงกระแทกของส้นเท้าด้านในอันเป็นสาเหตุของโรคเอ็นส้นเท้าอักเสบ สามารถช่วยกระจายแรงกด ลดแรงกระแทก และสามารถลดความดันในส้นเท้าได้ถึง 60% 
การผลิตและจำหน่าย การผลิตและจำหน่ายได้ 
  ปัจจุบันจำหน่าย 3 ขนาด คือ S,M,L ในราคาคู่ละ 319 บาท

DSC06804.jpg

สถานที่จำหน่าย 
โครงการ PSU-Innomart ชั้น 13 ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ม.สงขลานครินทร์ 
อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
โทร.0-7428-9357 , 08-7399-0556
เมล์ : info@psu-innomart
เว็บ www.psu-innomart.com

“การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด: Universal Periodic Review และสิ่งที่ “คุณ” จะทำได้”

 เวทีเสวนาสาธารณะ


"การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด:

Universal Periodic Review และสิ่งที่ "คุณ" จะทำได้"

 

ผู้จัดงาน : ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิศักยภาพชุมชน
 
ตารางการเสวนาโดยคร่าว:
13.00 กล่าวเปิดการเสวนาและอธิบายที่มาของการเสวนา

13.10 การเสวนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
• สิทธิการแสดงออก โดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล , เครือข่ายพลเมืองเน็ต (ยืนยัน)
• สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดย อารีด้า สาเมาะ สำนักข่าวอามาน (ยืนยัน)
• การทรมาน การบังคับสูญหาย และการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม โดย ตัวแทนจากมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
• สิทธิในการชุมนุมและสมาคม โดย ตัวแทนจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (PIC)
• สิทธิแรงงาน โดย จิตรา คชเดช, Try Arm (ยืนยัน)
• สิทธิผู้ลี้ภัย กลุ่มชนพื้นเมือง และผู้ไร้รัฐ โดย อดิศร เกิดมงคล, ผู้จัดการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สสส. (ยืนยัน)
• สิทธิเด็ก โดย ตัวแทนจากมูลนิธิ Save the Children
• สิทธิความหลากหลายทางเพศ โดย อัญชนา สุวรรณานนท์, โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ (ยืนยัน)

15.10 วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายงาน UPR ระหว่างรายงานรัฐบาล, UN, และภาคประชาสังคม และวิธีติดตามความคืบหน้าของกระบวนการ UPR ด้วยตนเอง โดย เจ้าหน้าที่โครงการ มูลนิธิศักยภาพชุมชน

15.25 สิ่งที่ "คุณ" จะริเริ่มเองได้ เพื่อสนับสนุนหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดย ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

15.40 เปิดตัวโครงการสังเกตการณ์การทบทวนกรณีสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไก Universal Periodic Review ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดย นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15.50 คำถามจากผู้ประชุม

ดำเนินรายการโดย ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์, ผู้สื่อข่าว Voice TV


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณอกนิษฐ์ 083-710-3555 หรือคุณศิรดา 089-696-628
 
 
ที่มาและเหตุผล
Universal Periodic Review (UPR) เป็นกลไกตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) กระบวนการนี้กำหนดให้ประเทศสมาชิกทั้ง 192 ประเทศของสหประชาชาติต้องเข้ารับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศตนเองในทุกๆ สี่ปี ซึ่งประเทศไทยจะเข้ารับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ที่กำลังจะถึง
ในกระบวนการทบทวนฯ ประเทศที่เข้าสู่กระบวนการต้องจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิฯภายในประเทศของตน เพื่อรายงานต่อประเทศสมาชิกอื่นๆให้รับทราบ นอกจากรายงานระดับชาติ (national report) ที่มีรัฐบาลเป็นผู้จัดทำ และรายงานของสหประชาชาติที่จัดทำโดยการรวบรวมข้อมูลของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) แล้ว ทางสหประชาชาติยังเปิดรับรายงานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือจากภาคประชาสังคม (stakeholder report) ซึ่งรายงานจากทั้งสามภาคส่วนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ซึ่งจะจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป
มูลนิธิศักยภาพชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญที่บุคลากรจากภาคประชาสังคม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปจะรับทราบถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศที่เกิดขึ้นรอบตัว ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในกระบวนการ UPR และรับทราบถึงตัวตนของกลไกดังกล่าว เพื่อที่จะเป็นพลังผลักดันอันสำคัญยิ่งต่อการบรรลุถึงความสามารถที่จะได้รับการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยิ่งไปกว่านั้น ภาคประชาชนและพลเมืองเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะร่วมตรวจสอบการทำงานของกลไกสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะรัฐบาลไทยและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้บรรลุถึงการทำงานตามหน้าที่ เพื่อให้กลไกการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอื่นๆบรรลุถึงเป้าหมายการทำงานของตนได้ดังสมควร ซึ่งการจัดเสวนาจะเป็นอีกโสตหนึ่งในการเผยแพร่และสร้างความตระหนักต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและความสำคัญของกระบวน UPR ให้ออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้นอกเหนือจากเวทีเสวนาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ทางมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้เวทีเสวนาลักษณะเดียวกันอีก 7 เวทีทั่วประเทศ

หลักการ
เพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักในสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เป็นที่รับทราบ พร้อมทั้งเผยแพร่และแสดงบทบาทของกระบวนการ UPR ในการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวกระบวนการและการมีส่วนร่วมจากประชาชน ท้ายที่สุดเพื่อเผยแพร่ชุดเครื่องมือและวิธีการริเริ่มโดยง่ายแก่บุคคลทั่วไปหรือผู้สนใจที่จะส่งเสริมกระบวนการสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง