นพ.เรวัต กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่และนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศ ซึ่งมีประสบการณ์ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก สธารณรัฐเยอรมัน โดยประเทศไทยนำมาใช้เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ลงนามความร่วมมือไปตั้งแต่ปีที่แล้ว จุดประสงค์หลักของการอบรมครั้งนี้เป็นไปเพื่อพัฒนาวิชาชีพ ด้านการทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีวิทยากรจากสมาคมโวยต้า เมืองมิวนิก มาเป็นวิทยากรบรรยายตลอดเวลา ๒ สัปดาห์
นพ.เรวัตกล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ผู้พิการทางประสาทด้านการเคลื่อนไหวที่ลง ทะเบียน อาทิ แขนขาด้วน สมองพิการ อัมพฤกษ์ นั้นมีจำนวนราว ๖ แสนราย จากจำนวนผู้พิการทั้งหมด ๑.๒ ล้านคน ซึ่งการใช้ศาสตร์ โว๊ยต้า จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น ทางกรมการแพทย์จะมีการพัฒนาเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม แต่ตัวผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ความอดทนต่อการรักษาอย่างมาก รวมทั้งผู้ที่ดูแลอาการก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก
ด้าน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ อธิบายว่า การอบรมวิธีทำกายภาพบำบัดด้วย ศาสตร์โวยต้าจะคล้ายๆ กับการนวดกดจุดของประเทศไทย แต่เน้นที่การกระตุ้นส่วนประสาทระบบการเคลื่อนไหวที่มีปัญหา เมื่อผู้ป่วยได้รับการกดจุดได้ตรงระบบประสาท ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง คืออาจจะกระตุกบริเวณแขน ขา ตามตำแหน่งที่ระบบประสาทควบคุมและรับรู้ ช่วยให้กล้ามเนื้อเริ่มขยับได้เป็นส่วนๆ โดยบริเวณที่ต้องเน้นมากที่สุด คือ ลำตัว สำหรับระยะเวลาในการทำกายภาพด้วยศาสตร์ดังกล่าวนั้นในผู้ที่อาการไม่หนักมาก จะดีขึ้นอย่างเร็ว ที่สุดราว ๒ เดือน ในส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อกายภาพบำบัดนั้นสำหรับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเบิกได้ในอัตรา ๑๕๐ บาทต่อครั้ง โดยในต่างประเทศมีการใช้มากที่สหภาพยุโรป มีค่าบริการครั้งราวละ ๒,๐๐๐ บาท แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดอัตราการบริการที่แน่นอน โดยจะกำหนดได้ก็ต่อเมื่อมีเจ้าหน้าที่และสถานบริการพร้อมแล้วเท่านั้น ซึ่งคาดว่าคงใช้ระยะเวลาไม่นาน
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๕ ส.ค.๒๕๕๔)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น