วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประชุมเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในระดับภูมิภาคเอเซีย

 

การประชุมเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในระดับภูมิภาคเอเซีย

วันที่  23 สิงหาคม 2554

ณ คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้

      สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ร่วมประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ  ในภูมิภาคเอเชียในวันที่ 23 สิงหาคม2554 ซึ่งงานประชุมเรื่องนี้จัดตั้งแต่วันที่ 22สิงหาคมจนถึงวันที่ 25สิงหาคม2554 ในงานประชุม  rd International conference of AROSS / Legal Skill on OSH conpensation ได้ข้อสรุปจากเพี่อนชาวต่างชาติ  ที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานเรื่องช่วยเหลือคนงานในประเทศต่างๆ  ประเทศที่ยังด้อยที่สุด  เรื่องการวินิจฉัยโรค   จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูเหมือนจะไม่มีและยังขาดระบบส่งเสริมอาชีวอนามัย  ก็   คือประเทศฟิลิปปินส์และกัมพูชา ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอว่า น่าจะเอาแพทย์เชี่ยวชาญจากเพื่อนประเทศอื่นเข้าไปช่วยเหลือวินิจฉัย  แต่ก็มีคำถามในวงประชุมว่าแล้วทางการของ 2  ประเทศนี้จะยอมรับคำวินิจฉัยจากประเทศอื่นหรือไม่   บางประเทศก็ยังไม่มีระบบกองทุนเงินทดแทนเลย  แต่สามารถรักษาตัวในระบบประกันสังคมได้ แต่กรณีเช่นนี้ก็จะไม่มีค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะและสูญเสียสุขภาพ บางประเทศก็รับแต่เฉพาะอุบัติเหตุจากการทำงานแต่การป่วยเรื้อรังจากสารเคมีสิ่งแวดล้อม หรือโรคที่สืบเนื่องจากการทำงานไม่รับ ในหลายประเทศยังไม่รู้จักแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ในวงพูดคุยในระดับภูมิภาคเองก็ยังขาดแคลนนักกฏหมายที่จะเข้าใจเรื่องของ กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และผลกระทบที่เกิดจากการทำงาน นับว่าเรื่องที่ต่างชาติหลายประเทศคุยกันนั้น  ยังเป็นเรื่องที่ล้าหลัง   การทำงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในประเทศไทย  โดยสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวผลักดันเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายภายใต้การรวมตัวเป็นสมัชชาคนจน  จนขณะนี้การตั้งคลินิกโรคและแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมได้ขยายออกไปถึง 68 แห่งในประเทศไทยเพื่อรองรับจำนวนคนงาน 10 ล้านคนที่อยุ่ในระบบกองทุนเงินทดแทน  ผลักดันกฏหมายให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฯมาเป็นระยะเวลากว่า 16 ปีแล้ว และในปีนี้ก็ยังผลักประเด็นนโยบายกรณีการเข้าถึงการบริการด้านอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นวาระหนึ่งในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปี 2554ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ธันวาคม 2554  ซึ่งความสำเร็จที่ผ่านมาต้องอาศัยการทำงานเชื่อมร้อยประสานพลังจากหลายภาคส่วน

        คุณสมบุญ สีคำดอกแค  ได้เล่าประสบการณ์การดำเนินการเรียกค่าชดเชยในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้คนป่วยได้เข้าถึงการรักษาสิทธิและศักดิศรีความเป็นมนุษย์  ค่าชดเชยความเจ็บป่วยเนื่องจากป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากฝุ่นฝ้ายจากการทำงาน ในโรงงานทอผ้า จำนวน 37 คน ที่กว่าจะตัดสินใจร่วมกันยื่นฟ้องได้ต้องประสบปัญหาการต่อสู้ทางความคิดหลายเรื่องทั้งเรื่องภายในจิตใจตนเอง  เรื่องครอบครัว และผู้คนในสังคมที่มองว่าทำไมได้ค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว   จึงต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายกับนายจ้างอีก กลุ่มคนป่วยปอดเสื่อมด้วยโรคจากการทำงาน ต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี  ในกระบวนการยุติธรรมถึงจะได้รับค่าชดเชย ซึ่งการต่อสู้คดีที่ยาวนานขนาดนี้คนป่วยแต่ละชีวิตต้องประสบปัญหามากมายหลายอย่างทั้งทางเรื่องเศรษฐกิจอาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวภาระที่มีต่อพ่อแม่  พี่น้อง  หรือลูก รวมถึง  ค่ายารักษาตัวที่ต้องจำเป็น รวมทั้งการถูกนายจ้างปลดออกจากงานไม่มีรายได้ไม่มีเงินจะรักษาตัว บางคนกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมก็ไม่สมารถเข้าไปสู่อาชีพการเกษตรทำไร่นาไม่ไหวกับไปเป็นภาระทางบ้าน ทำให้คนป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกท้อแท้ในเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้น  เพราะหาหนทางออกไม่ได้เลย บางคนอาศัยวัดเป็นที่พึ่งทางใจ กินยาสมุนไพรไปตามมีตามเกิด

      ในเรื่องของทนายความก็มีปัญหาไม่น้อยเพราะคดีกลุ่มคนป่วยเป็นคดีที่ฟ้องอนาถาไม่มีเงินจะเสียค่าทนายในการดำเนินคดีก็ใช้เรี่ยรายกันจ่ายเป็นค่าเดินทางเป็นครั้งคราวบางครั้งทนายหลายๆคนที่เข้ามาทำคดีก็ไม่มีความเข้าใจสถานะคนป่วยนักพอทางนายจ้างท้าให้ไปตรวจกับแพทย์ของนายจ้าง  ทนายก็แบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มหนึ่งบอกว่าต้องไปตามคำท้า บางกลุ่มก็เป็นกลางให้คนป่วยตัดสินใจ บางกลุ่มก็ยืนยันว่าไม่ต้องไปตรวจแต่สุดท้ายทนายเองเป็นคนไปรับคำท้าซึ่งคนป่วยไม่รู้เรื่องอะไรก็ยอมเซ็นชื่อไป  การเปลี่ยนทนายก็เกิดขึ้นซ้ำซากจนสุดท้ายก็ลงขันกันจ้างทนายโดยตรง  ดังนั้นการขาดแคลนทนายความในปัจจุบันก็ยำเป็นอยู่

      ส่วนในการพิจารณาคดีในชั้นศาล    คนป่วยมักจะถูกมองด้วยทัศนคติที่ไม่สู้ดี  คือเวลาปฎิบัติฝ่ายนายจ้างจะได้รับการให้เกียรติยกย่อง  แต่ฝ่ายลูกจ้างจะได้รับการปฎิบัติกันคนละด้าน  ดังมีคำพูดคำถามเช่นว่า จะไปเอาอะไรกับนายจ้างเขามีบุญคุณที่เลี้ยงดูคนงาน  มีการมองว่ากลัวโรงงานจะเสียหายจะขาดทุน เสียชื่อเสียง แล้วก็คล้อยตามให้คนป่วยน่าจะตรวจพิสูจน์คดีน่าจะจบลงไวขึ้น เพราะการท้าให้คนป่วยไปตรวจกับแพทย์ใหม่นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาในการพิจารณาคดีมา 15 ปี แต่คนป่วยก็มองว่าคดีจบไวแต่คนป่วยทุกคนคงจะแพ้คดีแน่  เพราะการเจ็บป่วยมีระยะเวลาทุกข์ทรมานมาเป็น 10 ปีถึงได้มีแพทย์กล้าวินิจฉัยโรคให้  แล้วแพทย์ที่มาตรวจวินิจฉัยเอาตอนที่คนป่วยรักษาไประยะหนึ่งแล้ว โดยที่ไม่ได้เป็นแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยติดตามดูอาการจะรู้เรื่องได้อย่างไร   และที่ผ่านๆมานั้นคนป่วยผ่านการตรวจวินิจฉัยมาเยอะแยะกับแพทย์หลายท่านแล้วก็ยังไม่รู้  มีตัวอย่างคนป่วยชายคนหนึ่งไปตรวจกับแพทย์ของนายจ้างปรากฏผลว่าไม่มีการป่วยและสูญเสียอวัยวะปอด  จึงไม่ได้ค่าชดเชย  ความรู้สึกของคนป่วยในการขึ้นลงศาลแต่ละครั้ง คนป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ใจที่ถูกตอกย้ำมีความกดดันและมีความเครียดสูง  ต้องถูกสืบว่าป่วยจริงหรือแกล้งป่วย  บางทีก็มีแพทย์ที่ไหนไม่รู้แค่มาดูเอกสารแล้วก็มาบอกว่าพวกเราคนป่วยไม่ได้ป่วยจากการทำงาน  ไม่ใส่เครื่องป้องกัน  บางคนลงจากศาลก็เป็นลมล้มพับไปต้องนำส่งคลินิกต้องนอนให้น้ำเกลือ การดำเนินคดีในศาลมีการถูกจำหน่ายคดีไปนานหลายปีแล้วก็เอากลับขึ้นมาสืบใหม่  ศาลชั้นต้นตัดสินมาว่าชนะคดีให้นายจ้างชดเชยค่าเสียหาย  พอนายจ้างอุทธรณ์ไปศาลฎีกา มีคำพิพากษาสั่งให้ยกเลิกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบคดีใหม่ว่าข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ  พอศาลชั้นต้นสืบคดีใหม่เพิ่มก็ตัดสินพิพากษาให้ชนะคดีอีกนายจ้างก็อุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สองตอนหลังมานี้ศาลฎีกามาพิพากษาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553  ให้คนป่วยชนะคดีให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้ตั้งแต่คนละ 60,000 บาทจนถึง 110,000 บาท รวมดอกเบี้ย 7.5 นับจากวันที่ฟ้องคือ 10 พฤษภาคม 2538 รวมเงินที่นายจ้างต้องจ่ายทั้งหมดให้คนป่วย 37 คน  ทั้งดอกต้น 6.7 ล้านบาท

   การต่อสู้ความเจ็บป่วยจากการทำงานครั้งนี้  นับว่าเป็นคดีแรกในเมืองไทยก็ว่าได้   ที่ได้สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาในสังคมให้มองว่า  การทดแทนผู้ป่วยและสูญเสียอวัยวะของร่างกายและจิตใจที่เกิดจากการทำงานนั้นผู้รับผิดชอบจะต้องเป็นสถานประกอบการหรือนายจ้าง  ซึ่งการได้มาด้วยค่าชดเชยครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ทางออกในการดำเนินชีวิตของคนป่วยทุกคน เพราะการสูญเสียอวัยวะซึ่งเป็นปอดมีหน้าที่สำคัญในการสูบฉีกฟอกโลหิตไปหล่อเลี้ยงหัวใจร่างกาย  มันเสื่อเสียไป คนป่วยจะมีโรคแทรกซ้อนรุมเล้าหลายโรค  การรักษาเยียวยาก็ไม่ได้มาตรฐานเนื่องจากขาดกาสรรักษาที่ดีพอถูกต้องต่อเนื่อง  คนป่วยยังอยู่ในสังคมด้วยความยากลำบากในการมีชิวิตให้รอดไปวันหนึ่งๆด้วยความยากลำบาก  ดังนั้นรัฐจะต้องเข้ามาดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่ด้วย  รวมทั้งต้องมีมาตราการมาคุ้มครองป้องกันรวมทั้งตัวคนงานเองด้วยที่จะต้องเรียนรู้รักษาตัวเองให้ปลอดภัย เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องต่อสู้สิทธิของตนเอง  สมบุญได้กล่าวปิดท้ายว่า "จากการทำงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัย  มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า  18 ปี  ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นไม่ใช่การที่ชนะคดีแล้วได้รับเงินชดเชย แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง และเป็นตัวอย่างให้ลูกจ้างที่ป่วยจากการทำงาน งานรุ่นต่อๆมากล้าออกมาเรียกร้องรักษาสิทธิของตนเอง" และสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมีความเข้าใจคนป่วยมากขึ้น แต่ก็นั่นแหละก้าวต่อไป จะทำอย่างไรให้การทำงานเรื่องการส่งเสริมป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย    เครือข่ายผู้ประสบภัยในทวีปเอเชีย (ANROAV)นี้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2536  ในเมืองไทยจากนักวิชาการ NGO แรงงาน และกลุ่มคนป่วย  เพื่อให้องค์กร(ANROAV )ได้สนับสนุนกลุ่มคนป่วยในประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย   ซึ่งจะมีการประชุมใหญ่ประจำปีอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2554  ปีนี้จะจัดที่ประเทศอินเดีย

รายงานโดยสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น