วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประชุมเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในระดับภูมิภาคเอเซีย

 

การประชุมเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในระดับภูมิภาคเอเซีย

วันที่  23 สิงหาคม 2554

ณ คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้

      สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ร่วมประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ  ในภูมิภาคเอเชียในวันที่ 23 สิงหาคม2554 ซึ่งงานประชุมเรื่องนี้จัดตั้งแต่วันที่ 22สิงหาคมจนถึงวันที่ 25สิงหาคม2554 ในงานประชุม  rd International conference of AROSS / Legal Skill on OSH conpensation ได้ข้อสรุปจากเพี่อนชาวต่างชาติ  ที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานเรื่องช่วยเหลือคนงานในประเทศต่างๆ  ประเทศที่ยังด้อยที่สุด  เรื่องการวินิจฉัยโรค   จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูเหมือนจะไม่มีและยังขาดระบบส่งเสริมอาชีวอนามัย  ก็   คือประเทศฟิลิปปินส์และกัมพูชา ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอว่า น่าจะเอาแพทย์เชี่ยวชาญจากเพื่อนประเทศอื่นเข้าไปช่วยเหลือวินิจฉัย  แต่ก็มีคำถามในวงประชุมว่าแล้วทางการของ 2  ประเทศนี้จะยอมรับคำวินิจฉัยจากประเทศอื่นหรือไม่   บางประเทศก็ยังไม่มีระบบกองทุนเงินทดแทนเลย  แต่สามารถรักษาตัวในระบบประกันสังคมได้ แต่กรณีเช่นนี้ก็จะไม่มีค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะและสูญเสียสุขภาพ บางประเทศก็รับแต่เฉพาะอุบัติเหตุจากการทำงานแต่การป่วยเรื้อรังจากสารเคมีสิ่งแวดล้อม หรือโรคที่สืบเนื่องจากการทำงานไม่รับ ในหลายประเทศยังไม่รู้จักแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ในวงพูดคุยในระดับภูมิภาคเองก็ยังขาดแคลนนักกฏหมายที่จะเข้าใจเรื่องของ กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และผลกระทบที่เกิดจากการทำงาน นับว่าเรื่องที่ต่างชาติหลายประเทศคุยกันนั้น  ยังเป็นเรื่องที่ล้าหลัง   การทำงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในประเทศไทย  โดยสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวผลักดันเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายภายใต้การรวมตัวเป็นสมัชชาคนจน  จนขณะนี้การตั้งคลินิกโรคและแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมได้ขยายออกไปถึง 68 แห่งในประเทศไทยเพื่อรองรับจำนวนคนงาน 10 ล้านคนที่อยุ่ในระบบกองทุนเงินทดแทน  ผลักดันกฏหมายให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฯมาเป็นระยะเวลากว่า 16 ปีแล้ว และในปีนี้ก็ยังผลักประเด็นนโยบายกรณีการเข้าถึงการบริการด้านอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นวาระหนึ่งในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปี 2554ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ธันวาคม 2554  ซึ่งความสำเร็จที่ผ่านมาต้องอาศัยการทำงานเชื่อมร้อยประสานพลังจากหลายภาคส่วน

        คุณสมบุญ สีคำดอกแค  ได้เล่าประสบการณ์การดำเนินการเรียกค่าชดเชยในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้คนป่วยได้เข้าถึงการรักษาสิทธิและศักดิศรีความเป็นมนุษย์  ค่าชดเชยความเจ็บป่วยเนื่องจากป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากฝุ่นฝ้ายจากการทำงาน ในโรงงานทอผ้า จำนวน 37 คน ที่กว่าจะตัดสินใจร่วมกันยื่นฟ้องได้ต้องประสบปัญหาการต่อสู้ทางความคิดหลายเรื่องทั้งเรื่องภายในจิตใจตนเอง  เรื่องครอบครัว และผู้คนในสังคมที่มองว่าทำไมได้ค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว   จึงต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายกับนายจ้างอีก กลุ่มคนป่วยปอดเสื่อมด้วยโรคจากการทำงาน ต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี  ในกระบวนการยุติธรรมถึงจะได้รับค่าชดเชย ซึ่งการต่อสู้คดีที่ยาวนานขนาดนี้คนป่วยแต่ละชีวิตต้องประสบปัญหามากมายหลายอย่างทั้งทางเรื่องเศรษฐกิจอาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวภาระที่มีต่อพ่อแม่  พี่น้อง  หรือลูก รวมถึง  ค่ายารักษาตัวที่ต้องจำเป็น รวมทั้งการถูกนายจ้างปลดออกจากงานไม่มีรายได้ไม่มีเงินจะรักษาตัว บางคนกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมก็ไม่สมารถเข้าไปสู่อาชีพการเกษตรทำไร่นาไม่ไหวกับไปเป็นภาระทางบ้าน ทำให้คนป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกท้อแท้ในเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้น  เพราะหาหนทางออกไม่ได้เลย บางคนอาศัยวัดเป็นที่พึ่งทางใจ กินยาสมุนไพรไปตามมีตามเกิด

      ในเรื่องของทนายความก็มีปัญหาไม่น้อยเพราะคดีกลุ่มคนป่วยเป็นคดีที่ฟ้องอนาถาไม่มีเงินจะเสียค่าทนายในการดำเนินคดีก็ใช้เรี่ยรายกันจ่ายเป็นค่าเดินทางเป็นครั้งคราวบางครั้งทนายหลายๆคนที่เข้ามาทำคดีก็ไม่มีความเข้าใจสถานะคนป่วยนักพอทางนายจ้างท้าให้ไปตรวจกับแพทย์ของนายจ้าง  ทนายก็แบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มหนึ่งบอกว่าต้องไปตามคำท้า บางกลุ่มก็เป็นกลางให้คนป่วยตัดสินใจ บางกลุ่มก็ยืนยันว่าไม่ต้องไปตรวจแต่สุดท้ายทนายเองเป็นคนไปรับคำท้าซึ่งคนป่วยไม่รู้เรื่องอะไรก็ยอมเซ็นชื่อไป  การเปลี่ยนทนายก็เกิดขึ้นซ้ำซากจนสุดท้ายก็ลงขันกันจ้างทนายโดยตรง  ดังนั้นการขาดแคลนทนายความในปัจจุบันก็ยำเป็นอยู่

      ส่วนในการพิจารณาคดีในชั้นศาล    คนป่วยมักจะถูกมองด้วยทัศนคติที่ไม่สู้ดี  คือเวลาปฎิบัติฝ่ายนายจ้างจะได้รับการให้เกียรติยกย่อง  แต่ฝ่ายลูกจ้างจะได้รับการปฎิบัติกันคนละด้าน  ดังมีคำพูดคำถามเช่นว่า จะไปเอาอะไรกับนายจ้างเขามีบุญคุณที่เลี้ยงดูคนงาน  มีการมองว่ากลัวโรงงานจะเสียหายจะขาดทุน เสียชื่อเสียง แล้วก็คล้อยตามให้คนป่วยน่าจะตรวจพิสูจน์คดีน่าจะจบลงไวขึ้น เพราะการท้าให้คนป่วยไปตรวจกับแพทย์ใหม่นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาในการพิจารณาคดีมา 15 ปี แต่คนป่วยก็มองว่าคดีจบไวแต่คนป่วยทุกคนคงจะแพ้คดีแน่  เพราะการเจ็บป่วยมีระยะเวลาทุกข์ทรมานมาเป็น 10 ปีถึงได้มีแพทย์กล้าวินิจฉัยโรคให้  แล้วแพทย์ที่มาตรวจวินิจฉัยเอาตอนที่คนป่วยรักษาไประยะหนึ่งแล้ว โดยที่ไม่ได้เป็นแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยติดตามดูอาการจะรู้เรื่องได้อย่างไร   และที่ผ่านๆมานั้นคนป่วยผ่านการตรวจวินิจฉัยมาเยอะแยะกับแพทย์หลายท่านแล้วก็ยังไม่รู้  มีตัวอย่างคนป่วยชายคนหนึ่งไปตรวจกับแพทย์ของนายจ้างปรากฏผลว่าไม่มีการป่วยและสูญเสียอวัยวะปอด  จึงไม่ได้ค่าชดเชย  ความรู้สึกของคนป่วยในการขึ้นลงศาลแต่ละครั้ง คนป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ใจที่ถูกตอกย้ำมีความกดดันและมีความเครียดสูง  ต้องถูกสืบว่าป่วยจริงหรือแกล้งป่วย  บางทีก็มีแพทย์ที่ไหนไม่รู้แค่มาดูเอกสารแล้วก็มาบอกว่าพวกเราคนป่วยไม่ได้ป่วยจากการทำงาน  ไม่ใส่เครื่องป้องกัน  บางคนลงจากศาลก็เป็นลมล้มพับไปต้องนำส่งคลินิกต้องนอนให้น้ำเกลือ การดำเนินคดีในศาลมีการถูกจำหน่ายคดีไปนานหลายปีแล้วก็เอากลับขึ้นมาสืบใหม่  ศาลชั้นต้นตัดสินมาว่าชนะคดีให้นายจ้างชดเชยค่าเสียหาย  พอนายจ้างอุทธรณ์ไปศาลฎีกา มีคำพิพากษาสั่งให้ยกเลิกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบคดีใหม่ว่าข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ  พอศาลชั้นต้นสืบคดีใหม่เพิ่มก็ตัดสินพิพากษาให้ชนะคดีอีกนายจ้างก็อุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สองตอนหลังมานี้ศาลฎีกามาพิพากษาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553  ให้คนป่วยชนะคดีให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้ตั้งแต่คนละ 60,000 บาทจนถึง 110,000 บาท รวมดอกเบี้ย 7.5 นับจากวันที่ฟ้องคือ 10 พฤษภาคม 2538 รวมเงินที่นายจ้างต้องจ่ายทั้งหมดให้คนป่วย 37 คน  ทั้งดอกต้น 6.7 ล้านบาท

   การต่อสู้ความเจ็บป่วยจากการทำงานครั้งนี้  นับว่าเป็นคดีแรกในเมืองไทยก็ว่าได้   ที่ได้สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาในสังคมให้มองว่า  การทดแทนผู้ป่วยและสูญเสียอวัยวะของร่างกายและจิตใจที่เกิดจากการทำงานนั้นผู้รับผิดชอบจะต้องเป็นสถานประกอบการหรือนายจ้าง  ซึ่งการได้มาด้วยค่าชดเชยครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ทางออกในการดำเนินชีวิตของคนป่วยทุกคน เพราะการสูญเสียอวัยวะซึ่งเป็นปอดมีหน้าที่สำคัญในการสูบฉีกฟอกโลหิตไปหล่อเลี้ยงหัวใจร่างกาย  มันเสื่อเสียไป คนป่วยจะมีโรคแทรกซ้อนรุมเล้าหลายโรค  การรักษาเยียวยาก็ไม่ได้มาตรฐานเนื่องจากขาดกาสรรักษาที่ดีพอถูกต้องต่อเนื่อง  คนป่วยยังอยู่ในสังคมด้วยความยากลำบากในการมีชิวิตให้รอดไปวันหนึ่งๆด้วยความยากลำบาก  ดังนั้นรัฐจะต้องเข้ามาดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่ด้วย  รวมทั้งต้องมีมาตราการมาคุ้มครองป้องกันรวมทั้งตัวคนงานเองด้วยที่จะต้องเรียนรู้รักษาตัวเองให้ปลอดภัย เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องต่อสู้สิทธิของตนเอง  สมบุญได้กล่าวปิดท้ายว่า "จากการทำงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัย  มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า  18 ปี  ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นไม่ใช่การที่ชนะคดีแล้วได้รับเงินชดเชย แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง และเป็นตัวอย่างให้ลูกจ้างที่ป่วยจากการทำงาน งานรุ่นต่อๆมากล้าออกมาเรียกร้องรักษาสิทธิของตนเอง" และสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมีความเข้าใจคนป่วยมากขึ้น แต่ก็นั่นแหละก้าวต่อไป จะทำอย่างไรให้การทำงานเรื่องการส่งเสริมป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย    เครือข่ายผู้ประสบภัยในทวีปเอเชีย (ANROAV)นี้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2536  ในเมืองไทยจากนักวิชาการ NGO แรงงาน และกลุ่มคนป่วย  เพื่อให้องค์กร(ANROAV )ได้สนับสนุนกลุ่มคนป่วยในประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย   ซึ่งจะมีการประชุมใหญ่ประจำปีอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2554  ปีนี้จะจัดที่ประเทศอินเดีย

รายงานโดยสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้

ส่งข่าวมาให้เผยแพร่ต่อค่ะ






จาก: somboon srikomdokcare <wept_somboon@hotmail.com>
วันที่: 27 สิงหาคม 2554, 8:46
หัวเรื่อง: ส่งข่าวมาให้เผยแพร่ต่อค่ะ
ถึง: 
เรียนอาจารย์ทุกท่าน
ส่งข่าวมาให้ทราบค่ะ
ขอบคุณค่ะ
สมบุญ สีคำดอกแค
081-  813-2898








วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศาสตร์ “โวยต้า” ศาสตร์นวดบำบัดจากเมืองเบียร์ ถ่ายทอดสู่นักกายภาพบำบัดไทยเป็นครั้งแรก หวังฟื้นฟูผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

 กรมแพทย์จัดอบรม ศาสตร์ "โวยต้า" ศาสตร์นวดบำบัดจากเมืองเบียร์ ถ่ายทอดสู่นักกายภาพบำบัดไทยเป็นครั้งแรก หวังฟื้นฟูผู้พิการทางการเคลื่อนไหว วันนี้ (๑๕ ส.ค.) นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ด้วย เทคนิคโวยต้า (Vojta therapy) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๒๖ ส.ค. ที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมีผู้เข้าอบรมในหลักสูตรแรกจำนวน ๒๖ คน

นพ.เรวัต กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่และนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศ ซึ่งมีประสบการณ์ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก สธารณรัฐเยอรมัน โดยประเทศไทยนำมาใช้เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ลงนามความร่วมมือไปตั้งแต่ปีที่แล้ว จุดประสงค์หลักของการอบรมครั้งนี้เป็นไปเพื่อพัฒนาวิชาชีพ ด้านการทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีวิทยากรจากสมาคมโวยต้า เมืองมิวนิก มาเป็นวิทยากรบรรยายตลอดเวลา ๒ สัปดาห์

นพ.เรวัตกล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ผู้พิการทางประสาทด้านการเคลื่อนไหวที่ลง ทะเบียน อาทิ แขนขาด้วน สมองพิการ อัมพฤกษ์ นั้นมีจำนวนราว ๖ แสนราย จากจำนวนผู้พิการทั้งหมด ๑.๒ ล้านคน ซึ่งการใช้ศาสตร์ โว๊ยต้า จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น ทางกรมการแพทย์จะมีการพัฒนาเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม แต่ตัวผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ความอดทนต่อการรักษาอย่างมาก รวมทั้งผู้ที่ดูแลอาการก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก

ด้าน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ อธิบายว่า การอบรมวิธีทำกายภาพบำบัดด้วย ศาสตร์โวยต้าจะคล้ายๆ กับการนวดกดจุดของประเทศไทย แต่เน้นที่การกระตุ้นส่วนประสาทระบบการเคลื่อนไหวที่มีปัญหา เมื่อผู้ป่วยได้รับการกดจุดได้ตรงระบบประสาท ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง คืออาจจะกระตุกบริเวณแขน ขา ตามตำแหน่งที่ระบบประสาทควบคุมและรับรู้ ช่วยให้กล้ามเนื้อเริ่มขยับได้เป็นส่วนๆ โดยบริเวณที่ต้องเน้นมากที่สุด คือ ลำตัว สำหรับระยะเวลาในการทำกายภาพด้วยศาสตร์ดังกล่าวนั้นในผู้ที่อาการไม่หนักมาก จะดีขึ้นอย่างเร็ว ที่สุดราว ๒ เดือน ในส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อกายภาพบำบัดนั้นสำหรับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเบิกได้ในอัตรา ๑๕๐ บาทต่อครั้ง โดยในต่างประเทศมีการใช้มากที่สหภาพยุโรป มีค่าบริการครั้งราวละ ๒,๐๐๐ บาท แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดอัตราการบริการที่แน่นอน โดยจะกำหนดได้ก็ต่อเมื่อมีเจ้าหน้าที่และสถานบริการพร้อมแล้วเท่านั้น ซึ่งคาดว่าคงใช้ระยะเวลาไม่นาน

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๕ ส.ค.๒๕๕๔)

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขาย พีทรัชดาคอนโดมีเนียม ซอย อาภาภิรม ขนาด 27-28 ตารางเมตร ราคา 650,000 บาท โทร 0 2282 5631





ขาย พีทรัชดาคอนโดมีเนียม ซอย อาภาภิรม ขนาด 27-28 ตารางเมตร ราคา 650,000 บาท
 โทร 0 2282 5631

ฝากทุกคนประชาสัมพันธ์ด้วยจ้า

 




วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจาะข้อเท็จ-จริง ทฤษฎีวันโลกแตก!


วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7551 ข่าวสดรายวัน


เจาะข้อเท็จ-จริง ทฤษฎีวันโลกแตก!


ณอร อ่องกมล



กระแสข่าวลือ-ข่าวลวง-ข่าวเขย่าขวัญ ทำนองว่า

'โลกมนุษย์' จะถึงคราวดับสูญไปในปีนั้น ปีนี้ หรืออนาคตอันใกล้อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็ยังคงมีให้ได้เห็นได้ยินอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะใน 'โลกไซเบอร์' รวมถึงอีเมล์ลูกโซ่ ที่มีมือมืดพยายามปั่น 'ทฤษฎีโลกแตก' สารพัดชนิด ทั้งในแง่มุมวิทยาศาสตร์ เช่น สนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว มุมภูตผีปีศาจเหนือธรรม ชาติ หรือพยากรณ์กันตามปฏิทินมายา ออกมาเขย่าให้ผู้คนหวาดผวาอยู่เป็นระยะๆ

อย่างล่าสุด ก็ลือกันทั่วอินเตอร์เน็ตว่า โลกอาจจะแตกในปี ค.ศ.2012 หรือพ.ศ. 2555!?

ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่เมื่อปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา แวดวงวิชาการไทยได้ต้อนรับศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง 'โจเซลิน เบล เบอร์เนล' นักดาราศาสตร์หญิงชั้นแนวหน้า ชาวอังกฤษ สาขาดาราศาสตร์วิทยุ จากมหา วิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (APRIM 2011) จัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี 

และระหว่างร่วมงานดังกล่าว ศ.เบอร์เนลได้สละเวลาขึ้นเวทีอธิบายไขปริศนาโลกแตก ภายใต้หัวข้อ 'ฤๅโลกดับแน่แล้ว...ไม่แคล้วปีหน้า' 

ยกข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แบบชัดๆ ขึ้นมาอธิบายว่า ทฤษฎีโลกแตกต่างๆ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ขอบอกว่าชื่อชั้นของ ศ.เบอร์เนล นั้นไม่ธรรมดา เพราะมีสถานะเป็นถึงผู้ค้นพบ 'พัลซาร์' หรือดาวนิวตรอนที่แผ่คลื่นวิทยุ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของแวดวงดวงดาวระดับสากลกันเลยทีเดียว! 

เริ่มต้นกับการตั้งคำถามว่า ปัจจัยอะไรที่อยู่ดีๆ มนุษย์เราถึงพากันเชื่อว่าโลกจะแตก 

เป็นเพราะกระแสปฏิทินมายาโบราณ ซึ่งบังเอิญเวียนมาบรรจบครบรอบ ในปี 2555 หรือเพราะภาพยนตร์ที่โกยเงินจากการเกาะกระแสความกลัวของผู้คน กระทั่งตอกย้ำสร้างภาพความเชื่อผิดๆ ปลูกฝังจนเป็นค่านิยมความตื่นกลัว ผสมผสานกับทฤษฎีอีกสารพัดอย่างที่ฟังมาจากปากต่อปาก จากเว็บสู่เว็บ 

ศ.เบอร์เนล ให้คำตอบว่า 

"หนึ่งในประเด็นหลักเรื่องโลกแตกคงหนีไม่พ้นปรากฏการณ์ 'การกลับขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์' หรือกระบวนการที่ขั้วแม่เหล็กเหนือใต้สลับตำแหน่งกัน ผกผันไปตามจุดซันสปอต หรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่กระจายอย่างไม่เป็นระเบียบนั้น จริงๆ แล้วมันเกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี และเพิ่งจะเกิดขึ้นสดๆ ร้อนในปี 2552 ที่การวิจัยในครั้งนั้นได้ยืนยันแล้วว่า ไม่พบข้อมูลผลกระทบที่มนุษย์ได้รับจากปรากฏการณ์ดังกล่าว แถมต้องรออีกนานถึงปี 2564 กว่ากระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง" 

1.โจเซลิน เบล เบอร์เนล

2.หลุมดำใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก

3.สนามแม่เหล็กโลก

4.หลุมอุกกาบาตซิดซูลูป ประเทศเม็กซิโก

5.ซันสปอตบนผิวดวงอาทิตย์

6.ภาพดาวนิบิรุในจินตนาการ

7.พายุสุริยะ และซันสปอต



ขณะที่ "พายุสุริยะ" เปลวก๊าซร้อนๆ ที่พวยพุ่งออกมาจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้น ศ.เบอร์เนล กล่าวว่า 

"พายุนี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่ากลัวก็จริง แต่น่ากลัวสำหรับนักบินอวกาศที่ออกไปทำงานนอกชั้นบรรยากาศเท่านั้น เพราะพวกเขาต้องสัมผัสกับรังสีและอนุภาคไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่เราพบเห็นพายุสุริยะมากขึ้น ก็ไม่ได้อ้างอิงความเกี่ยวข้องกับการสิ้นโลกแต่อย่างใด เพราะเปลวก๊าซเหล่านี้จะค่อยๆ พัฒนาเพิ่มขึ้นไปเรื่อย จนเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2013 หรือ 2556 ซึ่งก็ไม่ใช่ปี 2012 อย่างที่เข้าใจ และในครั้งนี้ก็จะมีปริมาณน้อยกว่าครั้งอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกว่าครึ่งหนึ่งอีกด้วย"

นอกจากนั้น ศ.เบอร์เนล ยังขยายความถึงปรากฏการณ์ 'สนามแม่เหล็กโลก' ที่เชื่อว่าในอนาคตจะกลับทิศทางจนโลกหมุนสลับขั้ว สร้างความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เมืองร้อนมีหิมะตก เมืองหนาวกลายเป็นทะเลทราย ไม่ก็น้ำท่วมโลกหรือธรณีสูบ ด้วยว่า

จริงๆ แล้วสนามแม่เหล็กของโลกมีการกลับตัวทุกๆ ประมาณ 3 แสนปี มนุษยชาติเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อราวๆ 2.5 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้น จึงมีการกลับทิศลักษณะนี้เกิดขึ้นอยู่หลายครั้งในประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังไม่พบว่ามีผลกระทบต่อผู้คน หรือโลกกลมๆ ใบนี้ 

การกลับทิศของสนามแม่เหล็ก เป็นกระ บวนการที่ต้องใช้เวลานานถึง 5,000 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ในแต่ละครั้ง โดยเริ่มจากการลดลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปของสนามแม่เหล็กโลก และที่มันกำลังอ่อนตัวลงในปัจจุบัน นั่นอาจหมายถึงการเข้าสู่ช่วงกลับทิศครั้งใหม่ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนทิศการหมุนของโลกด้วยซ้ำไป

อีกหนึ่งทฤษฎีวันสิ้นโลกที่ร่ำลือติดอันดับฮิตไม่แพ้กัน ก็คือ ความหวาดวิตกปรากฏการณ์ 'การเรียงตัวของดาวเคราะห์ทั้งหมดในเอกภพ' ซึ่งศ.เบอร์เนล ได้ให้ข้อคิด ไว้ว่า 

1.การเรียงตัวของดาวเคราะห์ในเอกภพ

2.ปฏิทินมายาโบราณ



"ในปี ค.ศ.2012 (พ.ศ.2555) ที่จะถึงนี้ อย่างไรแล้วก็ไม่ใช่ปีที่จะมีการเรียงตัวของดาวทั้งหมดเกิดขึ้น เพราะจากข้อมูลกว่า 5 พันล้านปีที่ผ่านมา การเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่มีมากที่สุด 5 ดวงตรงแนวโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือเมื่อ ก.พ.2505 และล่าสุดใน พ.ค.2534 ที่ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์อีก 5 ดวงก็วนมาเจอกันอีกรอบ แต่ยังไม่มีทีท่าว่าดาวเคราะห์ทั้งหมดจะมาเรียงเป็นระนาบเดียวกันเลย ส่วนการเรียงตัวลักษณะนี้ในอนาคตจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.2583 และ พ.ศ. 3218 ไม่ใช่ปีหน้า แถมการเรียงตัวที่เกิดขึ้นมาตลอดเหล่านี้ยังไม่เคยส่งผลกระทบทั้งในด้านแรงโน้มถ่วง หรือแรงน้ำขึ้นน้ำลงของโลกอีกด้วย" 

ส่วนประเด็นความเชื่อตามเรื่องเล่าของ 'ดาวเคราะห์นิบิรุ' ที่เคยตกเป็นข่าวฮือฮาว่า มีความเป็นไปได้สูงจะพุ่งชนโลกเข้าสักวัน ศ.เบอร์เนล ชี้ว่า

"ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกสังเกตโดยชาวสุเมเรียน เมื่อ 2,500 ก่อนคริสตกาล และอ้างว่าดาวดวงนี้แหละที่จะมีคาบการโคจรเป็นวงรีในระยะเวลา 3,600 ปี พร้อมจะพุ่งชนโลกในวันที่ 21 ธ.ค. 2555 ตามเวลาที่ค้นพบนั้น ถ้าวิเคราะห์ตามหลักดาราศาสตร์แล้ว นิบิรุอยู่ห่างออกไปกว่า 400 หน่วยดาราศาสตร์เอยู หรือหน่วยวัดระยะห่างเฉลี่ยของโลกและดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 10 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดาวพลูโต ซึ่งเราไม่สามารถเห็นมันได้ด้วยตาเปล่าตามที่ชาวสุเมเรียนระบุไว้ จึงสรุปได้ว่าดาวเคราะห์นิบิรุไม่มีอยู่จริงนั่นเอง" 

"ตามมาติดๆ ด้วยความกลัวของซีรีส์การถูกชนจากวัตถุนอกโลก อย่างดาวเคราะห์น้อยที่เคยสร้างความเสียหายให้แก่โลก จากการพุ่งชนของดวงดาวขนาดย่อมประมาณ 100 กิโลเมตร เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว จนเป็นหลุมอุกกาบาตชิก ซูลูปที่ประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าการชนในครั้งนั้นอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ยุคไดโนเสาร์ แต่จริงๆ แล้วการชนแบบนี้ จะเกิดขึ้นทุกๆ 50-100 ล้านปี และมีผลกระทบทำให้เกิดฝุ่นละอองครอบคลุมชั้นบรรยากาศ พืชจึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ชีวิตความเป็นอยู่บนโลกจึงค่อยๆ ล้มตาย แต่เรามีโครงการเฝ้าระวังอวกาศที่คอยสังเกตท้องฟ้าอยู่แล้ว หากมีวัตถุขนาดใหญ่เคลื่อนที่มายังโลกจริง เราต้องรับรู้ถึงความคืบหน้าเป็นเวลาหลายปีก่อนที่มันจะพุ่งชนโลก และสามารถหาแนวทางกำจัดดวงดาวเหล่านั้นได้ทันท่วงที ซึ่งตอนนี้เราเหลือเวลาอีกแค่ปีครึ่งก็จะถึง ธ.ค. 2012 ยังไม่เห็นมีใครระบุว่าพบวัตถุต้องสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น" ศ.เบอร์เนล ย้ำ

ศ.เบอร์เนล กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีของ 'หลุมดำใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก' ที่คาดว่าโลก ดวงอาทิตย์ และหลุมดำ จะเรียงเป็นเส้นตรง ส่งผลให้โลกกับดวงอาทิตย์ตกลงสู่หลุมดำนั้น 

ปรากฏการณ์โคจรในระนาบเดียวกันนี้ เกิดขึ้นวันที่ 21 ธ.ค. ของทุกปี แต่หลุมดำซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง 260,000 ปีแสง ทำให้สมมติฐานดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่ เพราะการเคลื่อนที่เข้าสู่หลุมดำนี้โลกจะต้องใช้เวลานานกว่า 260,000 ปี

แล้ววันหนึ่ง 'จักรวาล' ของเราจะดับสิ้นจริงหรือไม่นั้น ศ.เบอร์เนลให้แง่คิดว่า 

"แน่นอนว่าเอกภพและดวงอาทิตย์ย่อมต้องมีวันหมดอายุขัย แต่ไม่ใช่ดับวูบแล้วแตกออกเป็นเสี่ยงๆ วิวัฒนาการทางธรรมชาติมีความพอดีแบบค่อยเป็นค่อยไป อีกราวๆ 1 พันล้านปีข้างหน้าที่ดวงอาทิตย์จะเริ่มร้อนขึ้นจนเผาผลาญน้ำบนโลกและดาวดวงอื่นๆ ถ้าตอนนั้นเรายังอยู่กันได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหามาเสียเวลากังวลกับอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น เทคโนโลยีในอีก 1 พันล้านปีคงจะมีคำตอบหาทางออกที่ดีที่สุดได้ แต่ถ้าวันนั้นเกิดขึ้นจริงๆ ดิฉันว่าทางรอดทางเดียวคือหาดาวดวงใหม่เป็นที่อยู่อาศัยแทนโลก"

ถามว่า ถ้าอย่างนั้นการที่เราพยายามรักษาสภาพแวดล้อมบนโลกใบนี้เอาไว้ จะกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ในอนาคตรึเปล่า?

"ต้องบอกก่อนว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในวันนี้มันเกี่ยวข้องกับจักรวาลน้อยมาก ที่เรากำลังเผชิญหน้ากับภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว หรือสึนามิก็เป็นผลกระทบจากภายในที่เราเอาแต่ใช้ประโยชน์จากโลกโดยไม่คิดถึงปัญหาที่ตามมา สิ่งที่เราพยายามรณรงค์ทั้งประหยัดพลังงาน หาวัสดุทดแทน ปลูกป่ารักษาต้นน้ำ ล้วนเป็นการแก้ไขปลายเหตุ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ฉุกคิดทำอะไรเพื่อโลก เราทำวันนี้ก็เพื่อให้ลูกหลานอยู่ต่อบนโลกได้อย่างปกติที่สุด แต่แน่นอนว่าเรายังทำไม่เพียงพอ" ศ.เบอร์เนล กล่าว


หน้า 21
http://goo.gl/jtcSn

จาก"นกเตน"ส่งต่อ"หมุ่ยฟ้า" ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง

 

จาก"นกเตน"ส่งต่อ"หมุ่ยฟ้า" ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง

วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:00:58 น.

Share




เล่นเอาช่วงนี้หลายจังหวัดทางตอนเหนือ  และอีสาน  ภาคกลาง  รวมถึงกรุงเทพมหานครอ่วมไปตามๆ กัน เมื่อ อิทธิพลของพายุ นกเตน ที่ซัดเข้าถล่มหลายๆประเทศ เริ่มจากฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว รวมถึงไทย ให้ต้องช้ำระกำหนัก กับฝนที่ตกไม่หยุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสร้างความเดือดร้อนอย่างมากถึงมากที่สุดให้กับบ้านเรือนประชาชน รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตร  สาธารณูปโภค และถนนหนทางได้รับความเสียหาย  ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จวบเข้าต้นสิงหาคม 


หลายคนคงสงสัย กับความแปลกของเจ้าพายุโซนร้อนที่ชื่อ นกเตน นี้ ว่ามันมีที่มาอย่างไร เกี่ยวอะไรกับนกหรือไม่ แล้วเกณฑ์ในการตั้งชื่อเอามาจากไหน ??  และทำไมพายุบางลูกถึงมีระดับรุนแรง ขณะที่บางลูกถึงแผ่วเบา  ฯลฯ

 

 

ทุกอย่างล้วนมาที่มาเกี่ยวกัน อย่างไร ?

 

 

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ

 

 การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ตามหลักการ เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน


เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย


จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่  โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ กำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ   ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม    


สำหรับ ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ  เรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

 


ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยที่ที่ประชุมของ "ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม" (Joint Typhoon Warning Center (JTWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบและขนุน

 

ชุดที่  1

 

ชุดที่ 1

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

ดอมเรย

Damrey

ช้าง

กัมพูชา

ไห่คุ้ย

Haikui

ดอกไม้ทะเล

จีน

ไคโรจิ

Kirogi

ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วงและอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น)

เกาหลีเหนือ

ไคตั๊ก

Kai-tak

ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง

ฮ่องกง (จีน)

เทมบิง

Tembin

คันชั่ง; กลุ่มดาวคันชั่ง

ญี่ปุ่น

โบลาเวน

Bolaven

ชื่อที่ราบสูงทางภาคใต้ของลาว

ลาว

ซานปา

Sanba

ชื่อสถานที่ในมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

เจอลาวัต

Jelawat

ชื่อปลาน้ำจืด

มาเลเซีย

เอวิเนียร์

Ewiniar

ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ (ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก)

ไมโครนีเซีย

มาลิกซี

Maliksi

คำคุณศัพท์ในภาษาฟิลิปิโน แปลว่า "เร็ว"

ฟิลิปปินส์

เกมี

Gaemi

มด

เกาหลีใต้

พระพิรุณ

Prapiroon

ชื่อเทพเจ้าแห่งฝน

ไทย

มาเรีย

Maria

ชื่อผู้หญิงในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เซินติญ

Son Tinh

เทพเจ้าแห่งขุนเขาในเทวตำนานของเวียดนาม

เวียดนาม

โบพา

Bopha

ชื่อดอกไม้; ชื่อเด็กหญิง

กัมพูชา

หวู่คง (หงอคง)

Wukong

ชื่อลิงในตำนานที่เดินทางไปกับพระถังซัมจั๋งและคณะ เพื่อไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดีย

จีน

โซนามุ

Sonamu

ต้นสน

เกาหลีเหนือ

ซานซาน

Shanshan

ชื่อหญิงสาว

ฮ่องกง (จีน)

ยางิ

Yagi

แพะ; กลุ่มดาวแพะทะเล

ญี่ปุ่น

หลี่ผี

Leepi

ชื่อน้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของลาว

ลาว

เบบินคา

Bebinca

ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

รุมเบีย

Rumbia

ปาล์มสาคู

มาเลเซีย

ซูลิก

Soulik

ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป

ไมโครนีเซีย

ซิมารอน

Cimaron

วัวป่าในฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์

เชบี

Jebi

นกนางแอ่น

เกาหลีใต้

มังคุด

Mangkhut

ชื่อผลไม้

ไทย

อูตอร์

Utor

แนวพายุฝนฟ้าคะนอง (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์)

สหรัฐอเมริกา

จ่ามี

 

ชุดที่ 2

ชุดที่ 2

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

กองเรย

Kong-rey

ชื่อสาวงามในตำนาน; ชื่อภูเขา

กัมพูชา

ยู่ทู่

Yutu

กระต่ายในตำนาน

จีน

โทราจิ

Toraji

ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา

เกาหลีเหนือ

มานหยี่

Man-yi

ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ

ฮ่องกง (จีน)

อุซางิ

Usagi

กระต่าย; กลุ่มดาวกระต่ายป่า

ญี่ปุ่น

ปาบึก (ปลาบึก)

Pabuk

ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่

ลาว

หวู่ติ๊บ

Wutip

ผีเสื้อ

มาเก๊า (จีน)

เซอปัต

Sepat

ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน

มาเลเซีย

ฟิโทว์

Fitow

ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป)

ไมโครนีเซีย

ดานัส

Danas

ประสบ; รู้สึก

ฟิลิปปินส์

นารี

Nari

ดอกไม้

เกาหลีใต้

วิภา

Wipha

ชื่อผู้หญิง

ไทย

ฟรานซิสโก

Francisco

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เลกีมา

Lekima

ชื่อผลไม้

เวียดนาม

กรอซา

Krosa

ปั้นจั่น

กัมพูชา

ไห่เยี่ยน

Haiyan

ชื่อนกทะเล

จีน

โพดอล

Podul

ต้นหลิว (ต้นไม้ที่มักพบในเกาหลี)

เกาหลีเหนือ

เหล่งเหลง

Lingling

ชื่อหญิงสาว

ฮ่องกง (จีน)

คะจิกิ

Kajiki

ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ; กลุ่มดาวปลากระโทงแทง

ญี่ปุ่น

ฟ้าใส

Faxai

ชื่อผู้หญิง

ลาว

เพผ่า

Peipah

ชื่อปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงในมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

ตาปาห์

Tapah

ชื่อปลาน้ำจืด

มาเลเซีย

มิแทก

Mitag

ชื่อผู้หญิง (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป); "ดวงตาของฉัน"

ไมโครนีเซีย

ฮากิบิส

Hagibis

รวดเร็ว; ว่องไว

ฟิลิปปินส์

โนกูรี

Noguri

สุนัขพันธุ์ราคูน

เกาหลีใต้

รามสูร

Rammasun

ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย

ไทย

มัตโม

Matmo

ฝนตกหนัก

สหรัฐอเมริกา

หะลอง

Halong

ชื่ออ่าวที่สวยงามแห่งหนึ่งในเวียดนาม

เวียดนาม

ชุดที่ 3

ชุดที่ 3

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

นากรี

Nakri

ชื่อดอกไม้

กัมพูชา

ฟงเฉิน

Fengshen

ชื่อเทพเจ้าแห่งลม

จีน

คัลเมจิ

Kalmaegi

นกนางนวล (สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล)

เกาหลีเหนือ

ฟองวอง

Fung-wong

ชื่อยอดเขา แปลว่า "นกฟีนิกซ์"

ฮ่องกง (จีน)

คัมมุริ

Kammuri

มงกุฎ; กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ

ญี่ปุ่น

พันฝน

Phanfone

สัตว์

ลาว

หว่องฟง

Vongfong

ตัวต่อ (แมลง)

มาเก๊า (จีน)

นูรี

Nuri

นกแก้วชนิดหนึ่ง

มาเลเซีย

ซินลากอ

Sinlaku

ชื่อเทพธิดาในนิยายของชาวเกาะคอสไร

ไมโครนีเซีย

ฮากุปิต

Hagupit

เฆี่ยนตี

ฟิลิปปินส์

ชังมี

Jangmi

กุหลาบ

เกาหลีใต้

เมขลา

Mekkhala

ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย

ไทย

ฮีโกส

Higos

มะเดื่อ (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

บาหวี่

Bavi

ชื่อทิวเขาในภาคเหนือของเวียดนาม

เวียดนาม

ไม้สัก

Maysak

ชื่อต้นไม้

กัมพูชา

ไห่เฉิน

Haishen

ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล

จีน

โนอุล

Noul

แสงวาบ; ท้องฟ้าสีแดง

เกาหลีเหนือ

ดอลฟิน

Dolphin

โลมาขาวที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำฮ่องกงและเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของฮ่องกง

ฮ่องกง (จีน)

คุจิระ

Kujira

วาฬ; กลุ่มดาววาฬ

ญี่ปุ่น

จันหอม (จันทน์หอม)

Chan-hom

ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง

ลาว

หลิ่นฟ้า

Linfa

ดอกบัว

มาเก๊า (จีน)

นังกา

Nangka

ขนุน

มาเลเซีย

เซาเดโลร์

Soudelor

ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป

ไมโครนีเซีย

โมลาเว

Molave

ไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง นิยมใช้ทำเครื่องเรือน

ฟิลิปปินส์

โคนี

Goni

หงส์

เกาหลีใต้

มรกต

Morakot

มรกต

ไทย

เอตาว

Etau

เมฆพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา)

สหรัฐอเมริกา

หว่ามก๋อ

Vamco

ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม

เวียดนาม

 

ชุดที่ 4

ชุดที่ 4

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

กรอวาญ (กระวาน)

Krovanh

ชื่อต้นไม้

กัมพูชา

ตู้เจี้ยน

Dujuan

ชื่อไม้ดอก

จีน

มูจิแก

Mujigae

รุ้ง

เกาหลีเหนือ

ฉอยหวั่น

Choi-wan

เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม

ฮ่องกง (จีน)

คอบปุ

Koppu

ถ้วย; กลุ่มดาวถ้วย

ญี่ปุ่น

กิสนา (กฤษณา)

Ketsana

ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง

ลาว

ป้าหม่า

Parma

อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยแฮม ตับไก่ และเห็ด

มาเก๊า (จีน)

เมอโลร์

Melor

ดอกมะลิ

มาเลเซีย

เนพาร์ตัก

Nepartak

นักรบผู้มีชื่อเสียงชาวเกาะคอสไร

ไมโครนีเซีย

ลูปีต

Lupit

ความโหดร้ายทารุณ

ฟิลิปปินส์

มีรีแน

Mirinae

ทางช้างเผือก

เกาหลีใต้

นิดา

Nida

ชื่อผู้หญิง

ไทย

โอไมส์

Omais

การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา)

สหรัฐอเมริกา

โกนเซิน

Conson

ชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

เวียดนาม

จันทู

Chanthu

ชื่อดอกไม้

กัมพูชา

เตี้ยนหมู่

Dianmu

เจ้าแม่สายฟ้า

จีน

มินดอลเล

Mindulle

แดนดิไลออน ดอกไม้เล็ก ๆ สีเหลือง บานในฤดูใบไม้ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี

เกาหลีเหนือ

ไลออนร็อก

Lionrock

ชื่อหินบนเขาแห่งหนึ่งในฮ่องกง รูปร่างคล้ายสิงโตหมอบ

ฮ่องกง (จีน)

คอมปาซุ

Kompasu

วงเวียน; กลุ่มดาววงเวียน

ญี่ปุ่น

น้ำเทิน

Namtheun

ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง

ลาว

หม่าโหล

Malou

หินโมรา

มาเก๊า (จีน)

เมอรันตี

Meranti

ชื่อต้นไม้

มาเลเซีย

ฟานาปี

Fanapi

หมู่เกาะปะการัง (อะทอลล์) เล็ก ๆ

ไมโครนีเซีย

มาลากัส

Malakas

แข็งแกร่ง; เต็มไปด้วยพลัง

ฟิลิปปินส์

เมกี

Megi

ปลาดุก

เกาหลีใต้

ชบา

Chaba

ชื่อดอกไม้; ชื่อผู้หญิง

ไทย

แอรี

Aere

ลมพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์)

สหรัฐอเมริกา

ซงด่า

Songda

ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำแดง

เวียดนาม

 

ชุดที่ 5

ชุดที่ 5

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

สาลิกา

Sarika

ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง

กัมพูชา

ไหหม่า

Haima

ม้าน้ำ

จีน

มิอะริ

Meari

เสียงสะท้อน (หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่นก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก)

เกาหลีเหนือ

หมาง้อน

Ma-on

ชื่อยอดเขา แปลว่า "อานม้า"

ฮ่องกง (จีน)

โทะคาเงะ

Tokage

สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก; กลุ่มดาวกิ้งก่า

ญี่ปุ่น

นกเตน (นกกระเต็น)

Nock-ten

ชื่อนก

ลาว

หมุ่ยฟ้า

Muifa

ดอกบ๊วย

มาเก๊า (จีน)

เมอร์บุก

Merbok

ชื่อนกชนิดหนึ่ง

มาเลเซีย

นันมาดอล

Nanmadol

โบราณสถานที่มีชื่อเสียงบนเกาะโปนเป ได้ชื่อว่าเป็น "เวนิสแห่งแปซิฟิก"

ไมโครนีเซีย

ตาลัส

Talas

ความแหลม; ความคม

ฟิลิปปินส์

โนรู

Noru

กวาง

เกาหลีใต้

กุหลาบ

Kulap

ชื่อดอกไม้

ไทย

โรคี

Roke

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เซินกา

Sonca

ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง

เวียดนาม

เนสาด

Nesat

การทำประมง

กัมพูชา

ไห่ถาง

Haitang

ชื่อผลไม้ของจีน

จีน

นาลแก

Nalgae

ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ)

เกาหลีเหนือ

บันยัน

Banyan

ชื่อต้นไม้

ฮ่องกง (จีน)

วาชิ

Washi

นกอินทรี; กลุ่มดาวนกอินทรี

ญี่ปุ่น

ปาข่า

(ปลาข่า)

Pakhar

โลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตอนล่าง

ลาว

ซันหวู่

Sanvu

หินปะการัง

มาเก๊า (จีน)

มาวาร์

Mawar

กุหลาบ

มาเลเซีย

กูโชล

Guchol

ขมิ้น (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป)

ไมโครนีเซีย

ตาลิม

Talim

แหลมคมหรือด้านคมของใบมีด

ฟิลิปปินส์

ทกซุริ

Doksuri

นกอินทรี

เกาหลีใต้

ขนุน

Khanun

ชื่อผลไม้

ไทย

วีเซนเต

Vicente

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

ซาวลา

 

 

 

กฎน่ารู้

 

 สำหรับชื่อพายุลูกใดที่มีความรุนแรงมากจนสร้างความเสียหายในบริเวณกว้างจะถูกยกเลิกไป และตั้งชื่อใหม่

 

 

 

ข้อตกลง  พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน  ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า, เมอร์บุก, ... ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก

 

 

 

 

เมื่อ "นกเตน" ชื่อพายุจากประเทศลาว   อ่อนกำลังลง เราคงต้องจับตา "หมุ่ยฟ้า" ซึ่งตั้งจาก "มาเก๊า"  ที่เขาว่า อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยให้เผชิญฝนตกอีก(แล้ว)ก็คงได้แต่ภาวนา ให้อิทธิพล ลมฟ้า ลมฝน เพลาๆ ความรุนแรง เพื่อให้พี่น้องชาวไทยในหลายๆจังหวัดไม่ต้องเดือดร้อน เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นๆ อย่างที่เป็นสักทีเถิด...

 

 

 

***ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และกรมอุตุนิยมวิทยา 


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312262671&grpid=01&catid=&subcatid=