วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

“พงศ์จรัส รวยร่ำ” นักกฎหมายด้านสิทธิฯ คว้า “รางวัลสันติประชาธรรม” คนแรก

จาก ประชาไท

มอบรางวัลเกียรติยศ "สันติประชาธรรม" สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม 

ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แก่ "พงศ์จรัส รวยร่ำ" ในงานครบรอบ 67 ปี วันสันติภาพไทย

 
 
วันนี้ (16 ส.ค.55) มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิธีมอบรางวัลสันติประชาธรรม ครั้งแรก แก่พงศ์จรัส รวยร่ำ นักกฎหมายประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ อดีตอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากองทัพภาค 2 และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ศาลอาญาธนบุรี สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ เพื่อให้สังคมเกิดความยุติธรรม เสมอภาค ไม่มีความเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และใช้เหตุผลแก้ปัญหาให้เกิดสังคมสันติประชาธรรมอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ คณะกรรมการหาทุนและเลือกสรรบุคคล ระบุว่า รางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมจะทำการมอบให้บุคคลที่ทำคุณแก่สังคมเป็นประจำทุกปีต่อไป โดยในปีนี้มอบรางวัลเป็นเงิน 5 แสน และคำประกาศกิติคุณ นอกจากนี้ การมอบรางวัลในวันสันติภาพไทยนั้นถือเป็นวันที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นวันที่เสรีไทยได้มอบคืนอาวุธที่ใช้ในการเคลื่อนไหวคืนให้พันธมิตร หลังทำหน้าที่ตามที่ปฏิญาณไว้ โดยไม่ได้หวังลาภยศสรรเสริญ
 
ด้านพงศ์จรัส ในฐานะผู้เคลื่อนไหวประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้กล่าวว่า การที่รัฐใช้เงินไปโถมเพื่อการแก้ปัญหายิ่งเป็นการทำลายทำลาย เพราะเงินถือเป็นตัวปัญหา หากอยากให้คนพุทธและมุสลิมกลับไปอยู่ร่วมกันได้ ต้องหยุดการแก้ปัญหาอย่างที่เคยทำมาอย่างการใช้ความรุนแรง เพราะหากจะฆ่า ก็ฆ่าเท่าไหร่ไม่หมด และคนเหล่านั้นเขาไม่กลัวการใช้กำลัง แต่กลัวบาปตามหลักการศาสนา
 
พงศ์จรัส กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินที่ได้รับจะไม่นำไปใช้ส่วนตัว แต่จะเอาไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ และผู้มอบรางวัลนี้
 
 
 
คำประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม 
สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
 
นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี เกิดวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และมหาบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งจากสถาบันพระปกเกล้า
 
เส้นทางการทำงานในวิชาชีพกฎหมายมีความหลากหลายอย่างเชื่อมโยงกัน เริ่มต้นจากการเป็นทนายความของสำนักงานกฎหมายเสนีย์ ปราโมช เข้าทำงานในวงการศึกษาในฐานะเป็นเลขานุการของ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และทำงานการเมืองสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวหล่อหลอมให้นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นนักกฎหมายที่มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง ล้ำเลิศในข้อกฎหมาย เจนจัดในข้อเท็จจริง และที่สำคัญมีสมัครพรรคพวกแทบทุกวงการ อีกทั้งอุปนิสัยรักการใฝ่หาความรู้ ชอบอ่านหนังสือแนวปรัชญาและตั้งวงสนทนาวิสาสะกับมิตรสหายอย่างออกรส จึงทำให้ทนายความผู้นี้ก้าวข้ามนักนิติอักษรศาสตร์ไปสู่แก่นสาระของกฎหมายในฐานะนักยุติธรรม
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายพงศ์จรัส รวยร่ำ เป็นทนายความที่มีอุดมการณ์ในการทำงานมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาส ด้วยความเห็นใจในความทุกข์ยากและลำบากของเพื่อนมนุษย์ หรือผู้ที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม ด้วยเด่นชัดในบุคลิกภาพที่โผงผาง กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่สยบยอมกับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม บุคลิกภาพเช่นนี้คือมิตรแท้ที่จริงใจสำหรับผู้ที่รักความเป็นธรรมหรือถูกระบบรังแก ยิ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสด้วยแล้ว นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นดั่งความหวังและที่พึ่งสุดท้ายของผู้ทุกข์ทน จึงไม่แปลกใจเลยที่พุทธศาสนิกชนศิษย์สำนักสวนโมกขพลารามผู้นี้จะผ่านการคัดสรร และได้รับการประทานโอกาสจากองค์อัลลอฮ์ให้มีศรัทธาร่วมกับพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการต่อสู้จากความอยุติธรรมทั้งปวง เช่น การต่อสู้ทางคดีให้เปิดสอนโรงเรียนอิสลามบูรพา ภายหลังจากถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นแหล่งก่อการร้ายและสั่งปิด การต่อสู้เพื่อพิทักษ์มรดกทางวิถีประชาราษฎร์ (ผลักดันให้มีการจัดการสอนภาษาอาหรับผ่านระบบการศึกษาทางไกลกับมหาวิทยาลัยนานาชาติมาดีนะฮ์และคัดค้านนโยบายปิดโรงเรียนปอเนาะ) ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย หรือ การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่พี่น้องมลายู ฯลฯ นอกจากประเภทงานร้อนแล้วเขาได้พยายามกระชับพื้นที่ประสานความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเพื่อนฝ่ายรัฐ (การเมือง กองทัพ ฝ่ายปกครอง) กับผู้นำศาสนาอย่างแยบคาย ทั้งนี้ ไม่นับน้องๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เขาให้การอุดหนุนทางการศึกษาและประกอบอาชีพซึ่งไม่น่าจะน้อยกว่าหลักพันคน
 
เมื่อครั้ง นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ได้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในหลายเรื่อง และเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝึกอาชีพและปรับทัศนคติให้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดีจากทางการ แม้โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวเขาก็ตาม แต่เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงจุดยืนที่มั่นคงและความกล้าหาญทางจริยธรรมที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าตนเอง 
 
ปัจจุบันนายพงศ์จรัส รวยร่ำได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของกองทัพภาคที่ ๒ และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา  ศาลอาญาธนบุรี และเป็นอาจารย์พิเศษในหลายสถาบันการศึกษา จึงเป็นเครื่องรับรองคุณภาพได้เป็นอย่างดี
 
จากปฏิปทาที่ผ่านมาทำให้เชื่อว่า นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ไม่ใคร่ใส่ใจต่อลาภ เกียรติยศ และการสรรเสริญ แต่ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาต่อวงการกฎหมายไทยในปัจจุบัน ยิ่งประจักษ์ว่า นักกฎหมายที่มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณเพื่อสาธารณะเช่นนายพงศ์จรัส รวยร่ำนั้น นับเป็นแบบอย่างของ "นักนิติสามัญสำนึกศาสตร์" ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยประดุจแสงไฟเพื่อส่องทางให้แก่ประชาราษฎร์ผู้ทุกข์ระทม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น ผู้ที่เหมาะสมกับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมสำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยิ่งนัก 
 
ที่มา: Sulak Sivaraksa 
 

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขึ้นเงินเดือน 32 ขรก.ในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ขึ้นเงินเดือน 32 ขรก.ในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย

Author by  6/08/12No Comments »
 

มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้สำนักพระราชวังดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับขั้นต่ำของระดับ เป็นพิเศษเฉพาะราย จำนวน ๓๒ ราย ดังนี้

๑. พันตำรวจเอก ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๒,๒๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๖,๓๘๐ บาท

๒. พลเรือตรี ทศนุ เชียงทอง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๓,๒๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๓. พลอากาศตรี สุรศักดิ์ กนิษฐานนท์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๘๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๔. พลอากาศตรี ธวัชชัย ศรีแก้ว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๕๑,๕๔๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๕. พลตรี ศักดา พลอยไป ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๖,๔๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๖. ร้อยเอก ไพบูลย์ สุขเจตนี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๒,๔๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๗. พลอากาศตรี ธีระ เชียงทอง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๖,๖๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๘. พันโท สมชาย กาญจนมณี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๔,๗๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๙. นายพิพัฒน์ ประทุมทัย ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๑๖๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๑๐. พลอากาศตรี สรชัย ชีวะกลินศักดิ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๕๒,๙๙๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๖,๓๘๐ บาท

๑๑. นางวิมล ทองพายัพ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๒๘,๙๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๒. พันตำรวจเอก เฉลิมเกียรติณรงค์ วงศ์ธนู ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๘,๙๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๓. นายเจนจบ อมาตยกุล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๓,๓๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๔. พันตรีหญิง ทรรศน์จันทร์ ศรีอรุณ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๒,๙๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๑๕. พันเอก สมนึก สีสังข์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๖๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๖. นายวิวัฒน์ เชาว์วานิชย์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๙,๘๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๗. พันเอก เสกศิลป์ แสงศร ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๔๔,๘๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๘. นาวาเอก สุเทพ บุรณศิริ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๒๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๑๙. พันเอก ราชรักษ์ ฝนมณี ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๕,๙๘๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๐. นาวาอากาศเอก ชนินทร ศรีสวัสดิ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๗,๘๘๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๒๑. นายเจริญศักดิ์ คารีขันธ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๕,๐๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๒. นายมนัส เสือเปลี่ยว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้นราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๔๐๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๓. นายเพ่ง ประทุมทัย ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๑๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๔. พันตำรวจโทหญิง เจษรินช์ โชติกลาง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๐,๕๒๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๕. พันโท ไพบูลย์ ผจญแกล้ว ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๗,๖๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๖. พันตำรวจโทหญิง ชนาธิปติ์ บุญพร้อมอาษา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๖,๕๑๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๗. พันเอก สมมารถ ทัศนวงค์วรา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๘,๖๗๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๒๘. พันโท สุรเดช เกษมมงคล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๖,๖๔๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๒๙. นายสะรัล เพิ่มสิน ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๒๐๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๓๐. นาวาเอก ธรรมรงค์ สุวรรณกูฏ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๙,๕๓๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน๕๑,๑๔๐ บาท

๓๑. เรืออากาศเอก บุญเพ็ญ มงคลประเสริฐ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๒๙,๖๖๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

๓๒. นาวาอากาศโทหญิง สุรัญชนา เกษมจิตต์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง เงินเดือน ๓๑,๐๕๐ บาท ปรับให้ได้รับเงินเดือน ๕๑,๑๔๐ บาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี