วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

National Geological Museum

ดโดย เมื่อ 15 มิ.ย. 2011

โครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งรับผิดชอบดำเนินงานโดย กรมทรัพยากรธรณี เป็นโครงการหนึ่งใน 12 โครงการ ตามแผนการจัดตั้งสถาบันศิลปวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50ปี เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสถานที่อนุรักษ์แหล่งข้อมูลอ้างอิงและตัวอย่างที่สำค­ัญทางธรณีวิทยา ซึ่งประชาชนชาวไทยสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องของธรณีวิทยาอันมีบทบาทสำคัญต­่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาประเทศ กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ 4 ชั้นครึ่ง เนื้อที่ใช้สอยประมาณ 14,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ 5 ไร่ โดยอาคารพิพิธภัณฑ์ได้สร้างเสร็จเมื่อปี 2543ที่ผ่านมา ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 419.5 ล้านบาท
เพื่อให้การดำเนินงานจัดสร้างและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรต­ิ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และเหมาะสมกับการเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาแห่งแรกในประเทศไทย ได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารและจัดการพิพิธภัณฑ์ รวมถึงออกแบบรายละเอียดการจัดแสดงนิทรรศการ ดำเนินการจัดแสดง ตลอดจนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จสมบูรณ์
พร้อมที่จะเปิดให้บริการโดยจัดให้มีพิธีเปิดทดลองระบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทย­าเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 และทดลองเปิดให้บริการจากนั้นมาอย่างต่อเนื่อง
เปิดให้บริการฟรี ศุกร์-อาทิตย์ มิ.ย.-ก.ค. และ ส.ค.-ก.ย. อังคาร-อาทิตย์ เวลา 9.30-16.30 น. ตุลาคมเป็นต้นไป เก็บค่าบริการ จัดแสดง 4 ชั้น 5 โซน ได้แก่ หิน, แร่, เหมืองแร่, น้ำบาดาล ,ปิโตเลียม, ธรณีพิบัติภัย, ไดโนเสาร์, ฟอสซิล, เกม, เฉลิมพระเกียรติ, ภาพยนตร์ 3 มิติ, อื่นๆ มากมาย ตั้งอยู่ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทร 029027695 พบกันบนเฟสบุ๊ค Ngm Dmr หรือ ngm.dmr3@gmail.com

Can't you hear me knocking- rolling stones

song- cant you hear me knocking by the rolling stones!!

National Geological Museum of thailand

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี

Bringing Forth A World

ห้องใหญ่รองรับผุ้ชมได้ 50 คน และมีห้องมินิเธียร์เตอร์

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สานพลังชีวิตจิตอาสา...สายใยครอบครัว

 

สานพลังชีวิตจิตอาสา...สายใยครอบครัว

ขอบคุณคณะกรรมการสมาคมสายใยครอบครัวและจิตอาสาพัฒนาผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมที่ให้ ดร. ป๊อป เป็นวิทยากร 13-15 เม.ย. 54 ณ บางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ. นนทบุรี

ผู้สนใจติดตามรายละเอียดของสมาคมสายใยครอบครัว ได้ที่http://www.thaifamilylink.net/ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานจิตอาสาที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม และกำลังมีเส้นทางแห่งการเรียนรู้กรอบความคิดสากลที่สำคัญในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต เพื่อเป็นต้นแบบขององค์กรแห่งการเรียนรู้และช่วยเหลือสังคมไทยด้านการพัฒนาทักษะชีวิตจิตสังคม

ผมขอสกัดแนวคิดเชิงกว้างถึงเชิงลึกของผู้เข้าสัมมนาในครั้งนี้คือ รู้เรา รู้เขา และรู้จักสร้างสรรค์งานระหว่างเราและเขาเพื่อสังคมไทย 

  

ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พัฒนาทักษะความสามารถในการจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัติที่หลากหลายและสอดแทรกแนวคิด "Recovery Model (การฟื้นสภาพ)" ด้วย จึงสรุปเทคนิค/กระบวนการที่ทุกท่านน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในโปรแกรม/โครงการต่างๆ ของสมาคมสายใยฯ 

•ต้องไม่มีกฎข้อบังคับ เงื่อนไข จากผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมทำกิจกรรม
•ต้องมีความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้คิด ผู้ทำ และ ผู้สังเกตการณ์ภายในกลุ่มโดยพิจารณา Attitude, Values, Feeling, Goals, Skills, และ Roles
•ต้องมีการสื่อสารที่สร้างพลังบวกแก่สมาชิกภายในกลุ่ม โดยเน้น Meaningful Life
•ต้องสังเกต ทบทวนความคิดไปข้างหน้าว่า ทุกกระบวนการของการทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ เราได้เรียนรู้อะไรเพื่อทำให้ชีวิตมีพลัง 
•คิดย้อนกลับไปในการกระทำกิจกรรมที่ผ่านมาจากขั้นตอนสุดท้ายสู่ขั้นตอนแรก พร้อมปล่อยวาง Clear Mind อย่าใช้ความจำอย่างเดียว แต่ฝึกใช้ความคิดบวกจากภายในจิตใจ
เมื่อผ่านการจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัติในเป้าหมาย "ให้รู้จักตัวเราและรู้จักผู้อื่นด้วยความคิดที่ลุ่มลึก" ดร.ป๊อป ก็เปรียบเทียบข้อมูลคะแนนจากแบบสอบถามความรู้เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม ก่อนและหลังสัมมนา 2 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงความคิดในเชิงกว้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -1.13, df = 30, p = 0.27) แต่เมื่อพิจารณาคะแนนรายบุคคล (จากสเกลเห็นด้วยน้อยไปมาก หรือ 0-5 คะแนน) พบว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนา 58.33% มีความคิดเห็นด้วยกับความรู้เรื่อง การฟื้นฟูฯ มากขึ้น และผู้เข้าร่วมสัมมนา 22.22% มีความคิดเห็นด้วยน้อยลง ซึ่งไม่ว่า จะเห็นด้วยมากขึ้นหรือน้อยลงนั้นไม่มีถูกหรือผิด ถือเป็นเพียงความคิดที่เมื่อเข้าใจ "พลังชีวิตของตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น" ก็น่าจะมีความคิดที่ยืดหยุ่นและไม่เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นด้วยกับความรู้ดังกล่าวมากนัก เพราะความรู้ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงในประสบการณ์ของแต่ละบุคคล  ดังนั้นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 36 ท่าน (ข้อมูลไม่ครบ 5 ท่าน) ก็สามารถค้นหากลุ่มผู้ที่คิดเห็นด้วยน้อยลงไม่เกิน +/-SD (=9.59~10) จำนวน 5 ท่าน มาเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม และกลุ่มผู้ที่คิดเห็นด้วยมากขึ้นไม่เกิน +/-SD (=9.59~10) จำนวน 5 ท่าน มาเป็นคณะกรรมการสอบถามรายละเอียดของโปรแกรมและพิจารณาองค์ประกอบเนื้อหาของโปรแกรมว่า มีความสอดคล้องและความต่อเนื่องในกระบวนการเรียนรู้สานพลังชีวิตแบบ Recovery Model หรือไม่อย่างไร (สเกล 0-10 คะแนน ในแต่ละองค์ประกอบ คือ  Hope, Secure Base, Self & Coping Strategies (via self-managment/self-help programs), Supportive Relationships, Emplowerment & Inclusion (via Self-determination) ในทุกระดับของผู้รับบริการ [อ่านเพิ่มเติมที่http://en.wikipedia.org/wiki/Recovery_model]  
   
โปรแกรมหนึ่งๆ ควรสร้างความเข้าใจ ความไว้วางใจ ความเคารพให้เกียรติกัน ความสามารถตามศักยภาพ ความหวัง ความมีจิตสำนึกที่มีชีวิตชีวา ความมีโอกาสเลือก และความดีงาม โดยผ่านกระบวนการพัฒนาโปรแกรมจากภาพวงกลมข้างบนและการถอดบนเรียนจากการสัมมนา ได้แก่
 
1. ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ในลักษณะ Needs Assessment, Focus group, Knowledge sharing/Successful story telling, Modelling (สร้างกรอบความคิดบนฐานความรู้ความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติภายในกลุ่มสมาชิก ที่ต่อยอดจากโมเดลหลักใดๆ เช่น Recovey Model, Clubhouse Model, Advocacy Model, Lifeskills Model เป็นต้น ภายใต้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความต้องการและการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของโปรแกรมที่มีอยู่แล้วระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ)
 
2. วัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญภายในสมาชิกสมาคมสายใยฯ ได้ผสมผสาน ผนึกกำลังระหว่างกลุ่มคนที่คิดเห็นสอดคล้องหรือแตกต่างกัน แต่มีความสามารถและความสุขตามศักยภาพในการปรับตัวเองด้วยความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่ชี้นำใครมากเกินไป แต่ภาวะผู้นำนั้นอยู่ในใจของแต่ละบุคคล 
 
3. มีการจัดการอารมณ์และการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่มีอุปสรรค (ขั้นตอนในการทำกิจกรรมที่ไม่ชัดเจน อุปกรณ์ที่จำกัด เพื่อนร่วมทีมคิดมากกว่าทำ) ทำให้ต้องวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติและยืดหยุ่น มีการประสานงาน มีการเรียนรู้จุดแข็งของสมาชิกแต่ละท่าน มีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและประเมินผลได้จากความสำเร็จที่ค่อยๆ คลายอุปสรรคสู่ความท้าทายและความมีชีวิตชีวา
 
อย่างไรก็ตาม การทำงานจิตอาสาร่วมกับสมาชิกที่มีความคิดแตกต่างกันย่อมมีอุปสรรคจนเกิดความเหนื่อยล้า ดังนั้น "การหยุดพักชั่วครู่เพื่อทบทวนตนเองจากความรู้สึก ความเชื่อ และความคิดที่หลากหลายสู่ทักษะความเป็นผู้นำในจิตใจของตนเองและใส่ใจในผู้อื่นอย่างแท้จริง ก็น่าจะมีเส้นทางใหม่ที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ ความสุขความสำเร็จของผู้อื่นและตนเองภายหลัง ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดๆ ตามที่ปรากฎในวงกลมรอบนอกสุดข้างบน"
 
 
จากโปรแกรมที่มีอยู่ของสมาคมสายใยฯ จะเห็นความคิดที่ลุ่มลึกทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้สามารถประเมินโปรแกรมต่างๆ ว่าครบองค์ประกอบของ Recovery Model จากมากสุด (โครงการหลักสูตรทักษะชีวิตและโครงการสามประสาน) มาก (โครงการเจ้าสัวฯ) พอใช้ (โครงการศิลปะเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพจิต) และน้อย (โครงการ Clubhouse) 
 
ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณาข้อดีของโปรแกรมฯ เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และพิจารณาข้อเสียของโปรแกรมฯ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง ที่สำคัญโปรแกรมอาจมีมากมาย แต่เป้าหมายที่ทำโปรแกรมด้วยความรัก ความเข้าใจ ความสอดคล้องกัน ก็ควรเน้นความมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกท่านให้รู้สึกเป็นเจ้าของบ้านสมาคมสายใยฯ และพัฒนาความสุขตามความเป็นจริงจากค่อยๆ พัฒนาคุณภาพของจิตอาสา คุณภาพของกระบวนการฟื้นฟูฯ (ประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโปรแกรมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการรวมพลังของผู้ที่เกี่ยวข้อง) และคุณภาพของการเตรียมความพร้อมของผู้รับบริการสู่การประกอบอาชีพได้ตามความต้องการที่แท้จริง 
 
สังเกตว่าโครงการ Clubhouse ค่อนข้างต้องศึกษาความเป็นไปได้ของทรัพยากรบุคคลและกระบวนการบริหารจัดการโดยอาจค้นคว้าจากเครือข่าย International Center for Clubhouse Development (ICCD) เพิ่มเติม แม้ว่าจะนำความรู้ทาง Recovery Model มาประยุกต์สู่การจัดตั้ง Clubhouse แต่การพัฒนาโปรแกรมที่มีอยู่ข้างต้น รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลน่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดในสุขภาวะของสมาคมสายใยฯ ณ ปัจจุบัน
 
ดร.ป๊อป ขอสรุปหลักสูตรที่สอดคล้องกันอย่างต่อเนื่องในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมด้วย Recovey Model  ซึ่งถ้าผู้รับบริการมีระดับความคิดที่บกพร่องมาก ก็มีระบบส่งต่อการบำบัดฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ หรือ Cognitive Rehabilitation กับผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกิจกรรมบำบัด หรือสหวิชาชีพอื่นๆ ได้ ดังแผนภาพข้างล่างนี้
 
 
 
โดยสรุป คือ ผู้รับบริการทุกระดับใดๆ หนึ่งท่าน เมื่อเข้ามาที่สมาคมสายใยฯ ก็น่าจะมีการให้คำปรึกษาเบื้องต้นถึงลำดับโปรแกรมที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสุขภาพจิตสังคมของแต่ละบุคคลและที่มีความเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละบุคคล เช่น เลือกเรียนหลักสูตรทักษะชีวิตเบื้องต้นที่เน้นการจัดการความคิดสู่การดูแลตนเองได้ นาน 1 เดือนๆ ละ 3 วันๆ ละ 3 ชม. จากนั้นก็เลือกเรียนการทบทวนตนเองให้มีความหวัง มีการเยียวยา มีการสร้างพลังชีวิตกับผู้อื่น และมีการสื่อสารกับผู้อื่นในระดับการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) นาน 1 เดือน พร้อมๆ กับหลักสูตรทักษะชีวิต แต่จัดคนละวันอีก 5 วันๆ ละ 3 ชม. เมื่อผลการประเมินทักษะชีวิต (ความสามารถในการนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในชีวิตจริง) การประเมินกระบวนการคิดของแต่ละบุคคลที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละโปรแกรมการบำบัดด้วยกิจกรรม และความคิดเห็นจากสหวิชาชีพทางการแพทย์ ก็เข้าสู่โปรแกรมต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ นาน 1-2 เดือน ทั้งในสิ่งแวดล้อมจำลองและจริง วันละ 6 ชม. เป็นต้น
 
สิ่งที่สมาชิกสมาคมสายใยฯ ควรดำเนินการต่อไปต่อจากนี้ หลังจากที่ ดร. ป๊อป ได้สังเกตกระบวนการคิดของผู้เข้าสัมมนาในครั้งนี้ คือ 
1. ประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโปรแกรมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
2. พัฒนากระบวนการเข้าสู่โปรแกรมต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องกัน เช่น มีการสร้างความหวัง (Hope) สู่การระดมความคิดให้เกิดพลังชีวิต (Empowerment) เพื่อสร้างสรรค์ผลสัมฤทธิ์ใดๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน (Goal) คือ ความสุขความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมในการประกอบอาชีพอย่างอิสระ (Independence Employment)
3. อ้างอิงหลักการและกรอบความคิดสากลของ Recovery Model เพื่อให้สมาชิกทุกท่านทบทวนตนเองให้เข้าใจตนเอง ผู้อื่น และการทำงานร่วมกันมากขึ้น
4. ศึกษา วิจัย และพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การบำบัดด้วยกิจกรรม ศูนย์นันทนาการ ศูนย์การเรียนรู้ ในรูปแบบ Clubhouse Model โดยปรึกษาและขยายเครือข่ายวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสุขภาพจิตมากขึ้น
5. ประเมินศักยภาพของทีมงานจิตอาสาเพื่อจัดสรรระดับของการทำงานจิตอาสาแบบประจำ แบบชั่วคราว แบบสนับสนุนหารายได้ แบบสหวิชาชีพทางการแพทย์ แบบประสานงานหน่วยงานอื่นๆ เพื่อฝึกประกอบอาชีพจริงจัง
6. มีกระบวนการทำงานระหว่างโปรแกรมฯ ที่จำเป็น ไม่ซ้ำซ้อนกัน และมีความสำคัญต่ในระยะยาวแก่สมาคมสายใยฯ เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นต้น

อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง 
สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

ไขของชะมดที่เช็ดออกมานั้น ตอนนี้มีราคาขายกันอยู่ที่ กรัมละประมาณ 200 บาท




http://howjob.blogspot.com/2011/02/blog-post_9442.html

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

'ชะมดเช็ด'เลี้ยงขาย'ไข'เงินงาม

'ชะมดเช็ด'เลี้ยงขาย'ไข'เงินงามมา

ชะมด เช็ด” เป็นสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้ เพราะ “ไข”ของชะมดนั้นมีสรรพคุณเป็นยา
นำไปทำยาต่างๆ ทำเครื่องหอม น้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งชาวบ้านแถบ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี

มีการเลี้ยงชะมดกันมานานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย
ซึ่งสัตว์ป่าชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะต้องแจ้งให้ทางกรมป่าไม้ทราบ
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) ได้ดำเนินโครงการ
ส่งเสริมการเลี้ยงชะมดเช็ดเชิงพาณิชย์ ซึ่งสร้าง “ช่องทางทำกิน” ให้กับชาวบ้านได้อย่างน่าสนใจ

ฟาร์มป้าน้อย ที่ ต.ทับคาง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี สืบทอดการ “เลี้ยงชะมด” มาหลายรุ่น
เรียกว่ามีประสบการณ์ในการเลี้ยงชะมดอย่างเชี่ยวชาญ
โดย พจนีย์ น้อยปิ่น เป็นทายาทรุ่นใหม่ล่าสุด ที่ได้รับโอนให้เข้ามาดูแลฟาร์มเลี้ยงชะมดเช็ดแห่งนี้
ซึ่งเจ้าตัวเล่าว่า การเลี้ยงชะมดนั้น เลี้ยงกันมานานแล้ว เดิมเป็นการเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา
ส่วนตนเองนั้น หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรีก็ยังไม่ได้มารับช่วงเลี้ยง
เพราะหลังจากเรียนจบก็ไปทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง
แต่ทำงานได้อยู่เพียง 1 ปี ตาก็เรียกให้กลับมาช่วยดูแลเลี้ยงชะมดในฟาร์มของที่บ้าน
จึงออกจากงานประจำและมาดูแลทำฟาร์มชะมดอย่างจริงจัง

ในสมัยก่อนนั้นจะเลี้ยงกันอยู่ประมาณ 10-20 ตัว เพราะชะมดนั้นหายาก
และที่สำคัญการที่จะเลี้ยงชะมดที่เป็นสัตว์ป่าสงวนได้นั้น จะต้องมี
ใบอนุญาตจากกรมป่าไม้ 
และชะมดที่นำมาเลี้ยงนั้นจะต้องมีแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง นั่นก็คือ การรับซื้อมาจากคนที่เลี้ยงอยู่เดิม

ที่ฟาร์มแห่งนี้ ปัจจุบันมีชะมดอยู่ทั้งหมด 250 ตัว
โดยรับซื้อมาจากคนที่เลี้ยงอยู่แล้ว รับซื้อมาในราคาตัวละประมาณ 2,000-3,000 บาท
แต่ถ้าเป็นคู่ที่เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็อยู่ที่คู่ละประมาณ 10,000 บาท

สำหรับกรงที่จะใช้เลี้ยงชะมดเช็ดนั้น จะใช้ไม้ไผ่ตีเป็นกรงรูปสี่เหลี่ยม ขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร
ยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ยกลอยให้สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร
ด้านหน้าของกรงจะทำเป็นประตูเลื่อนขึ้นสำหรับเปิดให้อาหารและน้ำ
ส่วนบนจะใช้ไม้ขนาด 1x1 นิ้ว ที่มีความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ใส่ลงตรงกลางของกรง
เพื่อให้ชะมดเช็ดได้เช็ดไขน้ำมันที่ไม้ และภายในกรงจะต้องมีภาชนะใส่อาหารใช้กะลามะพร้าว
และก็มีกระบอกใส่น้ำติดอยู่ด้วย โดยจะเลี้ยงชะมดเช็ด 1 ตัวต่อ 1 กรง

ไม้ที่เสียบด้านบนให้ชะมดไว้เช็ดไขนั้น จะใช้ “ไม้โมก
เพราะเวลาที่ขูดเอาไขออกจากไม้ เนื้อไม้จะไม่หลุดออกมาด้วย

ใช้มีดขูดไขของชะมดที่ติดอยู่กับไม้ออก

ชะมดนั้น
 จะเช็ดไขในเวลากลางคืน เวลาเก็บไข ก็จะเก็บในช่วงเช้า 
โดยยกไม้ขึ้นมาแล้วใช้มีดขูดไขของชะมดที่ติดอยู่กับไม้ออกมา แล้วใส่ไม้ลงไว้ที่เดิม
การเก็บไขของชะมดนั้นสามารถเก็บได้ทุกวัน
ซึ่งในช่วงฤดูหนาวชะมดเช็ดจะเช็ดไขออกมาได้ปริมาณมากกว่าในฤดูอื่น

อาหารที่ใช้เลี้ยงนั้น จะใช้อาหารสุก จะให้ปลากับซี่โครงไก่และข้าว
โดยปลาและซี่โครงไก่นั้นจะต้องนำไปนึ่งให้สุก แล้วนำมาบดให้ละเอียดก่อนที่จะนำไปรวนอีกครั้ง
เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมและดับคาว การให้อาหารก็นำไปคลุกกับข้าว ให้ในมื้อเย็น
ที่ต้องทำให้สุก เพราะข้าวที่ทิ้งไว้ทั้งคืนจะไม่บูด
แต่ถ้าชะมดตัวไหนไม่กินข้าวก็ต้องหาจิ้งจกหรือเขียดเป็นๆ มาให้ชะมดกิน แล้วชะมดที่เลี้ยงก็จะกินข้าวได้

ส่วนมื้อเช้านั้น จะให้เป็นกล้วยน้ำว้ากับนมผงชง เพื่อเป็นการบำรุงให้ชะมดเช็ดมีไขมากขึ้น

ชะมดเช็ดเป็นสัตว์ที่ขี้ตกใจ ไม่ชอบให้คนแปลกหน้าเดินเข้าไปใกล้กรง ถ้าตื่นตกใจแล้วจะไม่เช็ดไข
เพราะฉะนั้น ตรงนี้ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับการเลี้ยงชะมดเช็ดเพื่อเอาไข


ลักษณะไขของชะมดที่เช็ดออกมา พจนีย์ น้อยปิ่น กำลังถือไขของชะมด

สำหรับไขของชะมดที่เช็ดออกมานั้น ตอนนี้มีราคาขายกันอยู่ที่ กรัมละประมาณ 200 บาท
หรือกิโลกรัมละประมาณ 180,000-200,000 บาท
แต่ชะมดเช็ด 1 ตัวจะเช็ดไขหรือของเหลวที่ออกมาจากต่อมกลิ่นตรงก้น ได้ประมาณ 3-4 กรัมต่อเดือนเท่านั้น
ซึ่งที่ฟาร์มป้าน้อยสามารถทำเงินจากการขายไขชะมดได้เดือนละประมาณ 100,000 บาท
โดยเป็นรายได้สุทธิที่หักค่าดูแลและค่าอาหารอีกเดือนละประมาณ 50,000 บาทแล้ว
ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่ดีทีเดียว

ผู้ที่ต้องการติดต่อ ฟาร์มป้าน้อย ต้องการสั่งซื้อไขของชะมด ฟาร์มแห่งนี้อยู่ที่ ต.ทับคาง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
เบอร์โทรศัพท์สอบถามคือ 08-9030-4823 (คุณพจนีย์) ทั้งนี้
นอกจากเลี้ยงเพื่อเอา 
ไขชะมด”แล้ว ปัจจุบันยังมีการเลี้ยงชะมดเพื่อผลิต ’กาแฟขี้ชะมด” ที่กำลังเป็นที่นิยมด้วย
อาชีพนี้จึงน่าศึกษาไม่น้อยเลย.


บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : เรื่อง-ภาพ
วันเสาร์ ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2554
ข้อมูลโดย : http://www.dailynews.co.th



--